การสร้างรูปแบบการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยมีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพการดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียนตาดีกา ในรัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย ระยะที่ 2 ศึกษาสภาพการดำเนินการและความต้องการ และแนวทางการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และระยะที่ 3 สร้างรูปแบบการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มที่ศึกษา ประกอบด้วย ระยะที่ 1 ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาของรัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย จำนวน 19 คน ระยะที่ 2 ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้สอน ผู้ปกครอง ศิษย์เก่า ตาดีกา กรรมการอิสลามประจำจังหวัด และชมรมตาดีกา จำนวน 37 คน และระยะที่ 3 ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้สอน และผู้ปกครองของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 964 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้การศึกษาเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติบรรยายและค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพการดำเนินการจัดการศึกษาของโรงเรียนตาดีกา รัฐซาบาห์ ประเทศมาเลเซีย ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ ด้านนโยบาย ด้านหลักสูตร ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานทั่วไป และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน
2. สภาพการดำเนินการและความต้องการของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย 5 ด้าน คือ ด้านหลักสูตร ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านบริหารงานทั่วไป และ ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน
3. รูปแบบการจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีความเหมาะสมกับบริบทของ 3 จังหวัดชายแดนใต้ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ ด้านการบริหารงานทั่วไป และด้านการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยมีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง 2 ระดับ คือ ระดับนโยบาย และระดับปฏิบัติการ ซึ่งมีการสั่งการและความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน ร่วมกับการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดและข้อเสนอแนะต่าง ๆ ซึ่งจะส่งผลให้การจัดการศึกษาของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ประสบความสำเร็จได้
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และพระราชบัญญัติการศึกษา ภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไชยทวี อติแพทย์. (มปป). อิสลามศึกษา อดีต: ปัจจุบัน: อนาคต เอกสารประกอบการวิจัยเพื่อการพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนใต้. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.
ตูแวคอลีเย๊าะ กาแบ และคณะ. (2547). รายงานการวิจัย เรื่อง แนวทางการฟื้นฟูโรงเรียนตาดีกา โดยกระบวนการมีส่วนร่วมของท้องถิ่นบ้านนีปิสกูเละ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี. กรุงเทพมหานคร:สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (อัดสำเนา).
นิเลาะ แวอุเซ็ง และคณะ. (2554). รายงานการวิจัยเรื่อง สภาพปัญหา และการพัฒนาศูนย์การศึกษา อิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยาลัยอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
รอหมาน หลีเส็น. (2555). สภาพการดำเนินการของศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ประจำมัสยิดจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
รุ่ง แก้วแดง. (2548). เปิดแผน ยกระดับ” ปอเนาะ-ตาดีกา. วารสารการศึกษาไทย. 2(14): 48-55.
วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง. (2546). ตาดีกา การศึกษาแห่งความหวังของมุสลิมชายแดนใต้. สารคดี. 19(223): 26.
ศรีสุดา ไชยวิจารณ์. (2553). วิถีชีวิตมุสลิมกับการจัดการศึกษาของชุมชน: กรณีศึกษาศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) นัจมุดดีน ตำบลทรายขาว อำเภอโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ศูนย์อินโดจีนศึกษา วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. (2555). ข้อมูลพื้นฐานสหพันธรัฐ มาเลเซีย. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์อินโดจีนศึกษา วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุไลมาน ยังปากน้ำ. (2555). บทบาทผู้ปกครองในการส่งเสริมการเรียนอิสลามศึกษาของนักเรียนประถมศึกษาในจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2550). รายงานการวิจัย เรื่อง สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนใต้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (อัดสำเนา).
อภิสิทธิ์ ดำยูโซ๊ะ. (2555). สภาพการดำเนินงานของศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ที่ได้รับเหรียญทองในจังหวัดสตูล. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อมรรัตน์ น้องอุ๊ บุตรน้ำเพชร. (2551). การศึกษาในประเทศมาเลเซีย. สืบค้นเมื่อ 14 มีนาคม 2558, จาก https://www.gotoknow.org/posts/200549
อับดุลอาซิซ เจ๊ะมานะ. (2555). ภาวะผู้นำและบทบาทของอิหม่ามในการจัดศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด (ตาดีกา) ในจังหวัดนราธิวาส. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อิบรอฮีม ณรงค์รักษาเขต, สุกรี หลังปูเต๊ะ และการเดร์ สะอะ. (2555). พัฒนาหลักสูตรตาดีกาที่คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ของตาดีกาดั้งเดิม. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา. 7(12): 15-28.