การจัดการบริบทชุมชนภายใต้การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิต ผ่านเครื่องมือการศึกษาชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนภายใต้การเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจ สังคม วิถีชีวิต พื้นที่วิจัยได้แก่ บ้านป่าเก็ตถี่ หมู่ที่ 7 ต.หนองผึ้ง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ให้ข้อมูลมี 2 กลุ่มๆ ที่ 1 คือ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้อาวุโส ผู้นำกลุ่ม จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่าง มีส่วนร่วม สนทนากลุ่มและจัดทำเวทีชุมชน กลุ่มที่ 2 ปราชญ์ชุมชน กลุ่มเกษตรกรและชุมชน จำนวน 17 คน ผู้วิจัยจัดเก็บข้อมูลแบบผสมผสานโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและจัดทำเวทีชุมชนเพื่อสอบถามบริบทของชุมชนโดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการวิจัยแบบมีส่วนร่วมโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. เส้นทางประวัติศาสตร์ชุมชน เป็นการแสดงประวัติความเป็นมาของชุมชนมีความเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจเนื่องจากระบบสาธารณูปโภคที่เข้าถึงสิ่งที่ขาดคือตลาดของหมู่บ้านและห้างร้านค้าใหญ่
2. ปฏิทินการผลิตสินค้าเกษตร แสดงแผนการผลิตด้านการเกษตรของชุมชนพบว่ามีการประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นหลักมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากการที่นายทุนเข้ามาในชุมชนเกิดหมู่บ้านจัดสรรและการขายที่ดินทำกิน
3. แผนที่เดินดิน แสดงทรัพยากรที่มีอยู่ของชุมชนโดยแบ่งออกเป็น 2 ด้านที่ค้นพบคือปราชญ์ชุมชน จำนวน 17 คนและสถานที่สำคัญ 7 แห่งมีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในวิถีชีวิตของชุมชนด้วย
4.โอ่งชีวิต เป็นการศึกษารายรับและรายจ่ายของชุมชนพบว่ามีรายจ่ายมากกว่ารายรับวัยรุ่นและวัยทำงานออกนอกบ้านขาดการมีส่วนร่วมในชุมชนขาดผู้สืบทอดด้านวัฒนธรรมเป็นต้น
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ.(2557). โลกแห่งสังคมเมือง Urban World.สืบค้นเมื่อ 17 สิงหาคม 2559,จาก http://www.kriengsak.com
สุกัญญา ดวงอุปมาและคณะ.(2558). การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพอย่างยั่งยืนของครัวเรือนเกษตรกรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาบ้านโนนสง่า ตำบลหนองกุง จังหวัดกาฬสินธุ์. มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
ดลฤดี จันทร์แก้วและวิรินดา สุทธิพรม.(2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านเกษตรกรรมเพื่อสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างของประเทศไทย.อุบลราชธานี.มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สมบูรณ์ ธรรมลังกา.(2556). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นฐานในจังหวัดเชียงราย.วารสารศึกษาศาสตร์.มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สุกัญญา ดวงอุปมา และภัทรพร ภาระนาค.(2556).การถ่ายทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอเสื่อกก.วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต.กันยายน-ธันวาคม 2556.
กุลชลี พวงเพ็ชร์ และคณะ.(2555).การจัดการและการมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ไทยพวน อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี.มหาวิทยาลัยเกริก.