ปจจัยที่สัมพันธกับการยังคงปฏิบัติงานอยูของบุคลากรสายวิชาการของ มหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

Main Article Content

พิมพ์วลัญช์ ศรีบุญ

Abstract

บทคัดย่อ

            การศึกษาเรื่อง “ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการยังคงปฏิบัติงานอยู่ ของบุคลากรสายวิชาการในมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์การยังคงปฏิบัติงานอยู่ และ 2) ศึกษาความตั้งใจที่ยังคงปฏิบัติงานอยู่ของบุคคลากรสายวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชน ในเขตภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย

            ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่สัมพันธ์การยังคงปฏิบัติงานอยู่ในมหาวิทยาลัยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านปัจจัยจิตวิทยาทั้งหมด 8 ปัจจัย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความผูกพันในองค์การ ความพึงพอใจในสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความสัมพันธ์ภายในมหาวิทยาลัย ความพึงพอใจในงานที่รับผิดชอบ การเห็นคุณค่าในงาน และความพึงพอใจในสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ส่วนอีก 2 ปัจจัยมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ ความพึงพอใจในรายได้ และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงของบุคลากร และการศึกษาความตั้งใจที่ยังคงปฏิบัติงานอยู่ของบุคคลากรสายวิชาการ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก ข้อเสนอแนะมหาวิทยาลัยเอกชนในเขตภาคเหนือของประเทศไทย ที่มีขนาดกลางถึงขนาดเล็ก ควรให้ความสำคัญกับเรื่องการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะบุคลากรสายวิชาการ ที่ถือว่าเป็นฟันเฟืองหลักในการขับเคลื่อนความมีคุณภาพของมหาวิทยาลัย

 

Abstract

The purposes of this study “Factors Related to the Performance in the Private University of Academic Personnel in the Upper Northern Thailand” were to; 1) study the factors related to performance in the private university of academic personnel  2) study the performance intention in the private university of academic personnel in the Upper Northern Thailand

            The study result reveal that the factors related to performance in the private university was generally at a high level. Psychological factors which found at a high level were provided with organization commitment, work environment satisfaction, university relationship, job responsibility satisfaction, job appreciation, and welfare benefits. And were 2 factors which found at medium level were provided with satisfaction of compensation, and conformation of reference group. The study result of the performance intention in the private university of academic personnel was generally at a high level. Guideline for the private university in the Upper Northern Thailand should be a priority in Human Resource Management, Especially with academic personnel that the main persons of the quality in university.

 

 

 

 

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

พิมพ์วลัญช์ ศรีบุญ, North Chiangmai University

พิมพ์วลัญช์ ศรีบุญ นักศึกษาปริญญาเอกสาขาวิชาบริหารศาสตร์ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

References

ดรุณศักดิ์ ตติยะลาภะ. (2554). มหาวิทยาลัยไทยในยุคทุนนิยมโลกาภิวัฒน์: จุดปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์มหาวิทยาลัย บนความท้าทาย. [ระบบออนไลน์]

http://acad.vru.ac.th/Journal/02_1-2.pdf สืบค้นเมื่อ 7 มกราคม 2557

เบญจา มังคละพฤกษ์. (2552). บทบาทมหาวิทยาลัยเอกชนที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา. จาก http://qa.krirk.ac.th/sites/default/files

สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2557

ประเวศน์ มหารัตน์สกุล. (2543). การบริหารทรัพยากรมนุษย์แนวใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.

พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทรัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น

สมคิด บางโม. (2551). องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 5 กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์วิทยพัฒน์

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2555). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. จาก http://www.nesdb.go.th/Portals/0/news/plan/p11/SummaryPlan11_thai.pdf สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2557

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา: ระบบฐานข้อมูลประกันคุณภาพ ปี พ.ศ. 2554-2557:จาก http://www.cheqa.mua.go.th/ สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2558

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา: สถิติจำนวนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเอกชนปี พ.ศ. 2556: จาก http://www.info.mua.go.th/information/ สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2557

อนิวัช แก้วจำนง. (2552). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นำศิลป์โฆษณา.