การพัฒนาแบบฝกการออกเสียงภาษาไทยมาตรฐาน ของนักเรียนไทยเชื้อสายคะฉิ่นระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนตน โรงเรียนบานแมนะ ตําบลเมืองนะ อําเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงภาษาไทยมาตรฐานในการสอนซ่อมเสริมสำหรับนักเรียนไทยเชื้อสายคะฉิ่นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านแม่นะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ และเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียง ก่อนและหลังการใช้แบบฝึกแก้ปัญหาการอ่านออกเสียงภาษาไทยมาตรฐานในการสอนซ่อมเสริมสำหรับนักเรียนไทยเชื้อสายคะฉิ่นระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยกลุ่มประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนไทยเชื้อสายคะฉิ่นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านแม่นะ ตำบลเมืองนะ อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือแบบฝึกเพื่อแก้ปัญหาการออกเสียงภาษาไทยมาตรฐานสำหรับนักเรียนไทยเชื้อสายคะฉิ่นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 16 บท และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการออกเสียงภาษาไทยมาตรฐานของนักเรียนไทยเชื้อสายคะฉิ่นในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อใช้วัดผลก่อนและหลังการใช้แบบฝึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่าแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียง มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.1/80 โดยมีประสิทธิภาพเท่ากับเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านออกเสียงพยัญชนะ สระและวรรณยุกต์หลังเรียนโดยการใช้แบบฝึกสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีค่าเฉลี่ย 80.0 และ 39.6 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
จรัลวิไล จรูญโรจน์, ม.ล. (2552). ภาษาศาสตร์เบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เด็กโรงเรียนชายแดนใช้ภาษาถิ่นเกินครึ่ง ทำผลประเมินต่ำ สพฐ.นำทวิภาษาแก้. (27 กรกฏาคม 2552). ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/asp-bin/PrintNews.aspx?NewsID=9520 000084375
ธีรพันธ์ ล.ทองคำและคณะ. (2550). ศัพทานุกรม 15 ภาษาที่พูดในจังหวัดน่าน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
นฤมล มหาไพบูลย์. (2547). การพัฒนาความสามารถการออกเสียงและการเขียนคำที่สะกดด้วยแม่
กน ของนักเรียนชาวเขาเผ่ากระเหรี่ยง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
บุญเหลือ เทพสุวรรณ. (2518). แนะแนวทางการศึกษาวิชาวรรณคดี. กรุงเทพฯ: บัณฑิตการพิมพ์.
ประสงค์ รายณสุข และคณะ. (2519). การสำรวจและแก้ไขข้อบกพร่องทางการพูดของนักเรียน
ประถมสาธิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรี-
นครินทรวิโรฒประสานมิตร.
พจนารถ วงษ์พานิช. (2548). การพัฒนาแบบฝึกการอ่านภาษาไทยแบบแจกลูกอิงแนวภาษาศาสตร์
เพื่อการซ่อมเสริม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
พรพิไล เลิศวิชา. (2550). ออกแบบกระบวนการเรียนรู้โดยเข้าใจสมอง. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการ
พิมพ์.
พิณทิพย์ ทวยเจริญ. (2533). สัทศาสตร์และสัทศาสตร์ปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รุ้งลาวัลย์ กุมภวา. (2550). การใช้กิจกรรมการเรียนรู้ทางภาษาศาสตร์เพื่อฝึกออกเสียงคำที่มี
ตัวสะกดสำหรับนักเรียนปกาเกอะญอ โรงเรียนบ้านขุนแม่นาย อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัฒนะ บุญจับ. (2538). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและการอ่านทำนองเสนาะ. กรุงเทพฯ:
กองวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.
สุชานาถ ยอดอินทร์พรหม. (2549). การใช้แบบฝึกเพื่อส่งเสริมการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางกายหรือสุขภาพ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุนทร ธัญกิจจานุกิจ. (2553). ผลการสอนการอ่านคำภาษาไทยโดยใช้แบบฝึกการอ่านคำภาษาไทยแบบแจกลูกอิงแนวภาษาศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการอ่านคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. นครสวรรค์: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สุมลมาลย์ เอติรัตนะ. (2553). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
สุวิไล เปรมศรีรัตน์ และคณะ. (2547). แผนที่ภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในประเทศไทย.
กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.
อนงค์ ดอนโคกสูง. (2546). การใช้แบบฝึกเสริมทักษะการเขียนเรื่องเชิงสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Lander, H. (1966). Language and Culture. New York: Oxford University Press.
Pike, Kenneth. (1947). Phonemics: A technique for reducing languages to writing. Ann
Arbor, MI: University of Michigan.