การใชกิจกรรมแนะแนวเพื่อเพิ่มแรงจูงใจใฝสัมฤทธิ์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปที่ 2 ในจังหวัดเชียงใหม

Main Article Content

บุญเลิศ คำปัน

Abstract

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการใช้กิจกรรมแนะแนวในการเพิ่มแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ และผลสัมฤทธิ์ทาง   การเรียนของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ และมีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับต่ำถึงปานกลาง จำนวน 7 โรงเรียนในจังหวัดเชียงใหม่ (1. โรงเรียนจอมทอง     2. โรงเรียนนวมินทราชูทิศ พายัพ 3. โรงเรียนหางดงรัฐราษฎร์อุปถัมภ์ 4. โรงเรียนแม่แตง 5. โรงเรียนบ้านหนองไคร้   6. โรงเรียนแม่ออนวิทยาลัย 7. โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)  กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละเท่า ๆ กันในแต่ละโรงเรียน  (โรงเรียนที่ 1 – 5 กลุ่มละ 20 คน และโรงเรียนที่ 6, 7 กลุ่มละ 18 คน) เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย กิจกรรมแนะแนว 16 โปรแกรม แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 4 รายวิชา (คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร ผลการวิเคราะห์ข้อมูลรายโรงเรียน พบว่า กลุ่มทดลองจำนวน 5 โรงเรียน (โรงเรียนที่ 1, 2, 4, 5, 6)  มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กลุ่มทดลองจำนวน 3 โรงเรียน (โรงเรียนที่ 1, 2, 6) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และภาษาไทยสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 กลุ่มทดลองจำนวน 2 โรงเรียน(โรงเรียนที่ 1, 4) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การวิจัยครั้งนี้สรุปว่า กิจกรรมแนะแนวสามารถเพิ่มแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนให้แก่นักเรียนที่มีผลการเรียนต่ำค่อนข้างชัดเจน ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนยังมีผลแตกต่างกันในแต่ละโรงเรียน 

 

The purpose of this study was to investigate the use of guidance activities to enhance students’ achievement motivation and academic achievement. The participants were low   academic achievement and low to medium achievement motivation in 7 schools in Chiang Mai province (1. Chom Thong, 2. Navamindarajudis Phayap, 3. Hangdong Rathrath Upatham, 4. Maetang, 5. Bannongkrai 6. Maeonwittayalai, and 7. ChiangMai University Demonstration). The participants were divided into experimental and control group equally in every school (20 students per group in school 1 to 5 and 18 students per group in school 6 and 7). The research instruments included 16 guidance activity programs, an achievement motivation questionnaire, and four academic achievement tests (Math, Science, Thai, English). Multivariate analyses of variance were employed. Results reviewed that the experimental groups in 5 schools (school 1, 2, 4, 5, 6) had higher achievement motivation at the .01 levels of confidence compared to their respective control groups. The experimental groups in 3 schools (school 1, 2, 6) had higher academic achievement in Science and Thai, 2 schools (school 1, 4) in English, at the .01 levels of confidence.  This research concluded that the guidance activities enable to enhance the students’ achievement motivation, but students’ academic achievement still varied among schools. 

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

บุญเลิศ คำปัน, Department of Psychology Faculty of Education Chiang Mai Rajabhat University

อาจารย์ ดร.บุญเลิศ คำปัน อายุ 58 ปี 
ที่อยู่เลขที่ 75/2 หมู่ 8 ต.หนองแก๋ว อ.หางดง จ.เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50230


ประวัติการศึกษา สำเร็จ
ศศ.บ. การสอนคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
กศ.ม. จิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก
ค.ด. จิตวิทยาการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
Certificate ด้านการศึกษาพิเศษ จาก Illinois State University, U.S.A 

ประวัติการทำงาน
อาจารย์ผู้สอนโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว
อาจารย์ผู้สอน หัวหน้างานแนะแนว โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่
อาจารย์ผู้สอน หัวหน้าการศึกษาเรียนร่วม ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8
ปัจจุบัน เป็นอาจารย์ผู้สอน และหัวหน้าภาควิชาจิตวิทยา คณะครุศาสตร์ 
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
 

 

References

กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ราชภัฏสวนสุนันทา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

กาญจนา ไทยลำภู, วัลภา สบายยิ่ง, และ นิรนาท แสนสา. (2556). ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนวิสุทธิวงศ์ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. การประชุมเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา มสธ. ครั้งที่ 3 วันที่ 3 – 4 กันยายน 2556. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เขียน วันทนียตระกูล. (2553). แรงจูงใจมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอย่างไร. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม2557 จาก http://www.lanna.mbu.ac.th/artilces/

Intrinsic_Kh.asp

แฉนโยบาย ศธ. ต้นเหตุการศึกษาไทยตกต่ำ. (2556). ผู้จัดการออนไลน์. ค้นเมื่อ 22 มิถุนายน 2557 จาก http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000058399

ชชานนท์ ลิ่มทอง. (2557). กูรูเว็บ “เด็กดี” ฟันธงเด็กไทยไม่ได้ Suck Seed โอเน็ตตกทั่วประเทศ!!!.”, มติชนออนไลน์. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2557 จาก http://www.matichon.co.th/ newsdetail.php?newsid=1302235807

ชิดาพันธุ์ มูลผล. (2552). การใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวตามทฤษฎีของแมคเคลแลนด์เพื่อเสริมสร้างแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียน. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการการเรียนรู้, มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

นัยนา ไชยคิรินทร์. (2552, 15 กันยายน). “การพัฒนาแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้กิจกรรมกลุ่มของนักเรียนโรงเรียนเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. GotoKnow. 2552. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2557 จาก http://www.gotoknow.org/posts/297462

พิมพิดา โยธาสมุทร. (2556). ปัญหาการศึกษาของเด็กไทย. สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2557 จาก http://www.phulungka.ac.th/index.php?op=news-detail&id=4

รมว.ศธ.ยอมรับคุณภาพการศึกษาไทยยังไม่เป็นที่น่าพอใจ. (2556). ครูบ้านนอก.Com [ออนไลน์]. สืบค้น เมื่อ 17 พฤษภาคม 2557 จาก http://www.kroobannok.com/59430

สภาพัฒน์ฯ. (2555). ชี้สังคมไทยน่าห่วง ค่าใช้จ่าย “บุหรี่ – แอลกอฮอล์ – กินยาเกินขนาด และหนี้สินครัวเรือนมีสัญญาณสูงขึ้น. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 พฤษภาคม 2557 จาก http://thaipublica.org/ 2012/05/nesdb-problem-thai-social

สุขฤกษ์ ดีโนนโพธิ์. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

อลิสสา กูรมะสุวรรณ. (2553). ผลของชุดกิจกรรมแนะแนวที่มีต่อแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพแผนกพณิชยการ วิทยาลัยเทคนิค-จันทรบุรี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Kauchak, D. & Eggen, P. (2012). Educational Psychology: Windows on Classrooms. (9th ed.). New Jersey: Pearson.

McClelland, D.C., Atkinson, J.W., Clark, R.A. & Lowell, E.L. (1953). The Achievement Motive. New York: Appleton-Century Croffs.

McClelland, D.C. (1961). The Achievement Motive. New York: Prentice-Hall.

Singh, K. (2011). Study of Achievement Motivation in Relation to Academic Achievement of Students. [Online]. Retrieved June, 2015, from http://www.ripublication.com/ijepa/ijepav1n2_8.pdf

Smith, R. L. (2011). Achievement Motivation Training: An Evidence-Based Approach to Enhancing Performance.[Online]. Retrieved July 20, 2014, from http://www.counselling.org/resources/library/VISTAS /2011-V-Online/Article_56.pdf

Steinmayr, R. & Spinath, B. (2009). The Importance of Motivation as a Predictor of School Achievement. Learning and Individual Differences, 19, 80 – 90.