แนวทางการจัดการเรียนรูของนักศึกษาปฏิบัติงานวิชาชีพครู สาขาวิชาบริหารธุรกิจที่สงเสริมกระบวนการคิด โดยผานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดของนักศึกษาปฏิบัติงานวิชาชีพครู สาขาวิชาบริหารธุรกิจ โดยผ่านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน และ 2) สังเคราะห์หาแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดของนักศึกษาปฏิบัติงานวิชาชีพครู สาขาวิชาบริหารธุรกิจ โดยผ่านการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักศึกษาปฏิบัติงานวิชาชีพครู 2 ปีการศึกษา 2558 สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมกระบวนการคิด จำนวน 9 คน วิธีการที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย การสังเกต การสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม รวมทั้งการวิเคราะห์เอกสารแผนการเรียนรู้ และผลงานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดมี 2 ลักษณะ ดังนี้ คือ จัดการเรียนรู้โดยมุ่งพัฒนากระบวนการคิดโดยตรง คือการจัดการเรียนรู้ที่ไม่คำนึงถึงสาระการเรียนรู้ตามรายวิชา ทุกคนจัดในขั้นนำเข้าสู่บทเรียน และอีกลักษณะหนึ่ง คือ การบูรณาการกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนเรียนรู้ในสาระรายวิชา ส่วนแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดนั้น เป็นแนวทางที่เป็นวงจรต่อเนื่องกันใน 3 องค์ประกอบ คือ การวางแผน (Plan) การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ (Action) และการสะท้อนคิด (Reflection)
Abstract
The purposes of this research were to study learning management pattern that promotes thinking process of student teachers in business administration using classroom action research and to synthesize guidelines for learning management that promotes student’s thinking process. The population of this research included 9 student teachers in business administration from the Faculty of Education, Chiang Mai University, in the academic year 2015. They were assigned to conduct classroom action research to promote student’s thinking process. Data collection methods were observation, interviews, focus group, lesson plan analysis, and classroom action research results.
Research findings revealed that there were 2 patterns of learning activity management that promote thinking process. The first was the learning management used during the lesson introduction which directly develops student’s thinking process, regardless of the subject contents. The second was the integration of learning management with subject contents. In sum, guidelines for learning management that promotes student’s thinking process were continuing cycles consisting of plan, action, and reflection.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
เอกสารอ้างอิง
คณะอนุกรรมการปฏิรูปการเรียนรู้. (2543). แนวทางบริหารโรงเรียนปฏิรูปการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
ทิศนา แขมมณี. (2546). การพัฒนากระบวนการคิด : แนวทางที่หลากหลายสำหรับครู. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 28(1), 38-54.
ทิศนา แขมมณี. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ : การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้ วารสารราชบัณฑิตยสถาน 36(2): 188–204.
ทิศนา แขมมณี. (2556). รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2557). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปรณัฐ กิจรุ่งเรือง. (2554). การพัฒนารูปแบบการสอนโดยใช้กรณีศึกษาทางศาสตร์การเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาวิชาชีพครู. วิทยานิพนธ์สาขาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2544). การยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางและการประเมินตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ: The Knowledge Center.
สำนักมาตรฐานวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2548). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. เอกสารวิชาการ ลำดับที่ 1/2548. เอกสารอัดสำเนา
สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนคิดวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: บริษัท ดวงกมลสมัย จำกัด.
หน่วยพัฒนาการปฏิบัติงานวิชาชีพครู. (2557). คู่มือการปฏิบัติงานวิชาชีพครู. หน่วยฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพครูคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2546). หลักการสอน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.