การใชการควบคุมภายในเพื่อความสําเร็จอยางยั่งยืนของ วิสาหกิจการผลิตขนาดยอมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาลักษณะการใช้การควบคุมภายใน (ในระดับหลักการและข้อปฏิบัติ) และ 2) เพื่อศึกษาผลกระทบของการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน ของวิสาหกิจการผลิตขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประเทศไทย โดยศึกษาการควบคุมภายในตามแนวคิด COSO 2013 ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ด้าน หลักการการควบคุมภายใน 17 หลักการ และใช้ COSO 2013 เป็นแนวทางในการกำหนดข้อปฏิบัติการควบคุมภายในของแต่ละหลักการ ได้ข้อปฏิบัติการควบคุมภายในรวม 69 ข้อ สำหรับการประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนวัดตามแนวคิดการวัดผลเชิงดุลยภาพ
กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ วิสาหกิจการผลิตขนาดย่อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน จำนวน 258 แห่ง เก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์และแบบสอบถาม เก็บข้อมูลทุติยภูมิจากงบการเงิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ความถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า หลักการการควบคุมภายในที่ถูกนำไปปฏิบัติมากที่สุดคือ การจัดโครงสร้างองค์กร กำหนดอำนาจสั่งการและความรับผิดชอบที่ชัดเจน อันดับสอง คือ ระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยงอย่างครอบคลุม และอันดับสาม คือ กิจกรรมการควบคุมผ่านทางนโยบาย และพบว่า การควบคุมภายในของ COSO มีอิทธิพลต่อการประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน โดยผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า มี 2 หลักการที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืน คือ 1) ความมุ่งมั่นในการจูงใจ พัฒนาและรักษาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ 2) กิจกรรมการควบคุมผ่านทางนโยบาย ดังนั้นหากวิสาหกิจต้องการประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนอาจเลือกนำข้อปฏิบัติการควบคุมภายในภายใต้ 2 หลักการดังกล่าวไปใช้มากกว่าหลักการอื่นๆ
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
จันทนา สาขากร นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และ ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2557). การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็นเพรส.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วินัย เหลืองวิโรจน์. (2555). กลไกการควบคุมภายในที่มีประสิทธิผลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลาง: หลักฐานเชิงประจักษ์จากวิสาหกิจประเภทการผลิตในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต สาขาการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศิลปพร ศรีจั่นเพชร และ พิมพ์ใจ วีรศุทธากร. (2555). การวัดค่าในงานวิจัยด้านบัญชีบริหาร. วารสารวิชาชีพบัญชี. 8(23): 76-90
สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เครือข่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่น. (2548). ความรู้เกี่ยวกับ SMEs เบื้องต้น. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2558, จาก http://home.kku.ac.th/uac/sme/smebasic
สมภาร ดอนจันดา และ คณิศร ภูนิคม. (2556). ตัวชี้วัดความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจกึ่งแสวงหากำไร โดยประยุกต์ใช้หลักบาลานซ์สกอร์การ์ด : กรณีศึกษาโครงการตามพระราชดำริ. วารสารเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. 3(6): 52-60
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2557). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2557. สืบค้นเมื่อ 29 มิถุนายน 2558, จาก http://www.sme.go.th/th/index.php/data-alert/alert/report-smes-year/report-year/report-year-2557
สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2558). รายงานสถานการณ์วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ปี 2558. สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2558, จาก http://www.sme.go.th/th/index.php/data-alert/alert/report-smes-year/report-year/report-year-2558
Aaker, D. A., V. Kumar. and G. S. Day. (2001). Marketing Research. New York. John Wiley & Sons
Brown N. C., Pott C. and Wompener A. (2014). The effect of internal control and risk management regulation on earnings quality: Evidence from Germany. J. Account. Public Policy. 33: 1-31.
COSO, The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission. (1994). Internal control Integrated framework. New Jersey: The American Institute of Certified Public Accountants.
COSO, The Committee of Sponsoring Organizations of the Treadway Commission. (2013). Internal control – Integrated framework. New Jersey: The American Institute of Certified Public Accountants.
Hacker, M. E. and Lang, J. D. (2000). Designing a performance measurement system for a high technology virtual engineering team – a case study. International Journal of Agile Management. 2: 225-232.
Kaplan, R. S. and Norton, D. P. (1992). The balanced scorecard-measures that drive performance. Harvard Business Review: 71-79.
Noorvee, L. (2006). Evaluation of the effectiveness of internal control over Financial Reporting. Master Thesis in Economics, University of Tartu.
Nunnally, J.C. (1978). Psychometric theory. New York: McGraw-Hill
Oseifuah, E. K. and Gyekye A. B. (2013). Internal control in small and microenterprises in the Vhembe District, Limpopo Province, South Africa. European Scientific Journal. 9(4): 241-251.
Teketel, T. and Berhanu Z. (2009). Internal control in Swedish small and medium size enterprises. Master Thesis in Business Administration, Umea University.
Tsang, Chin Yang. (2007). Internal control, enterprise risk management and firm performance. Doctoral dissertation, University of Maryland.
Wai, Lau Yeng (2008). Importance of Internal Auditing: Small and Medium Enterprises (SMEs) Perception. Seminar FEP 2008. Universiti Putra Malaysia. Retrieved August 6, 2015 , from http://www.km.upm.edu.my
Zhang, J. and Pany, K. (2008). Current research questions on internal control over financial reporting under Sarbanes-Oxley. CPA Journal. 78(2): 42-45.