รูปแบบกลยุทธการบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสรางความคิดสรางสรรค ของผูเรียนในระดับประถมศึกษา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเรื่อง รูปแบบกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับประถมศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นเอกสาร ตำรา และงานวิจัยทางวิชาการ ตั้งแต่ พศ. 2521-2555 จำนวน 8 ฉบับ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ ทฤษฎีและแนวความคิดใน 4 เรื่องต่อไปนี้ 1) การบริหารองค์การเพื่อให้เป็นองค์กรแบบเคออร์ดิค (Chaordic) 2) ทฤษฎีการเรียนรู้แบบสรรคนิยม (Constructivism) 3) ทฤษฎีความคิดสร้างสรรค์ และ 4) แนวคิดการบริหารวิชาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ การบันทึกการพรรณนาวิเคราะห์เอกสาร (Documentary Description Analysis) และการสนทนากลุ่ม (Focus Group Interview)โดยได้ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของทั้ง 4 ทฤษฎี เพื่อนำไปสู่การหารูปแบบกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับประถมศึกษา และจัดการสนทนากลุ่มเพื่อหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของรูปแบบที่ได้
ผลการวิจัยได้ค้นพบประเด็นสำคัญของทฤษฎีทั้ง 4 ที่นำไปสู่การสร้างรูปแบบกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการ ที่เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับประถมศึกษา จำนวนทั้งหมด 6 ประเด็นดังนี้ (1) การบริหารงานวิชาการที่ผสานระเบียบและความไร้ระเบียบ (2) การจัดรูปแบบองค์กรแบบแนวราบ (3) มีความมุ่งมั่นขององค์กรที่ชัดเจน (4) การเสริมสร้างพลังอำนาจแก่ผู้เรียน (5) การคำนึงถึง ภูมิหลังทางภาษา และวัฒนธรรมของผู้เรียน และ (6) การเสริมต่อการเรียนรู้ในพื้นที่รอยต่อพัฒนาการ โดยประเด็นสำคัญที่ค้นพบนี้มีความเชื่อมโยงกันและสามารถสร้างให้เกิดรูปแบบกลยุทธ์การบริหารงานวิชาการที่เสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ของผู้เรียนในระดับประถมศึกษา โดยเป็นรูปแบบกลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนผ่าน การถ่ายเทอำนาจการทำงานของประเด็นสำคัญทั้ง 6 ประเด็น ที่ครอบคลุมกรอบการบริหารงานวิชาการอย่างสมดุลกัน อันก่อให้เกิดงานทางด้านวิชาการที่หนุนเสริมให้ผู้เรียนเกิดทักษะความคิดสร้างสรรค์อย่างอิสระ
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2545) . การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.
จินตนา สุจจานันท์. (2556). การศึกษาและการพัฒนาชุมชนในศตวรรษที่ 21 (Education and Community development in the 21th century). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
นงเยาว์ เนาวรัตน์. (2556). เอกสารตำราเรียน เรื่อง การศึกษาพหุวัฒนธรรมเบื้องต้น. สายวิชาสังคมศาสตร์และพื้นฐานการศึกษา สำนักวิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (เอกสารอัดสำเนา).
ประชุม ผงผ่าน. (2545). การบริหารงานวิชาการ. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
ปาริชาติ ชมชื่น. (2555). รูปแบบการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนที่มีประสิทธิผล ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี.
ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2547). จิตวิทยาการบริหารงานบุคคล.กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
พรศรี ฉิมแก้ว. (2552). ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเป็นมืออาชีพสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2550). องค์การแห่งการเรียนรู้และการจัดการความรู้. สำนักงานกองทุน สนับสนุนการวิจัย (สกว.) (เอกสารอัดสำเนา).
วิจารณ์ พานิช. ประพนธ์ ผาสุกยืด. (2550). การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาองค์กรอัจฉริยะ. สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
สมกิต บุญยะโพธิ์. (2547). การบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. สารนิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2536). เทคนิคการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ:
ไทยวัฒนาพานิช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2548). สานฝัน...ด้วยการคิด. กรุงเทพฯ :เสมาธรรม.
สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2549). ผู้นำสถานศึกษากับการสร้างโรงเรียนแห่งการเรียนรู้. วารสารดำรงราชานุภาพ. ปีที่ 6 ฉบับที่ 21 (ต.ค.- ธ.ค. 2549) หน้า 107-144.
สุรางค์ โค้วตระกูล. (2544). จิตวิทยาการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์กับการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: ใยไหม.
อุษณีย์ โพธิสุข รุ่งเรือง สุขาภิรมย์ สมชาย บัวเล็ก กนกพร ถนอมกลิ่น และ เนตรนิล หนูชูแก้ว .(2544). สร้างสรรค์นักคิด คู่มือการจัดการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความสามารถพิเศษด้านทักษะความคิดระดับสูง.
Eisner, E.W. (2002). The arts and the creation of mind. New Haven & London: Yale University Press.
Davis, G. & Thomas, M. A. (1989). Effective schools and effective teachers. Boston: Allyn and Bacon.
Vygotsky, L. (1978). Mind in society:The developmental of higher psychological process. Cambridge. MA:Harvard University Press.
Wood, D.; Bruner, J.; & Ross, G. (1976). The role of tutoring in problem-solving. Journal of Child Psychology and Psychiatry. 17(2):89-100.