แผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ในจังหวัดชลบุรี

Main Article Content

รุ่งรดิศ เมืองลือ
พยอม ธรรมบุตร

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทพื้นที่และศักยภาพทรัพยากรการท่องเที่ยว
ของจังหวัดชลบุรี 2) พัฒนาแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนใน
จังหวัดชลบุรี และ 3) ประเมินแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน
ในจังหวัดชลบุรี โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ
โดยใชแ้ บบสอบถามความคิดเห็นจากกลุม่ ประชากร 4 กลุม่ คือ ภาครัฐ ภาคเอกชน นักทอ่ งเที่ยว และประชาชน
ในจังหวัดชลบุรี การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ คือ การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสนทนากลุ่ม และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส
และอุปสรรค (SWOT Analysis) โดยกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม (AIC for Participatory Planning)
การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า แผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนใน
จังหวัดชลบุรี มีวิสัยทัศน์ คือ “จังหวัดชลบุรีจะพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวเพื่อสร้างแบรนด์ท่องเที่ยว
แดนทะเลตะวันออก เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางทะเลที่มีมาตรฐานระดับโลก เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
อย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและกระจายรายได้สู่ชุมชน เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมและพัฒนาจิตใจ
ตลอดจนปลุกจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาสังคมแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน” โดยมียุทธศาสตร์
เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดชลบุรี 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1) ยุทธศาสตร์
การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนา
เศรษฐกิจ 3) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาสังคม 4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยว
เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมและพัฒนาจิตใจ ผลการประเมินแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยว
แบบบูรณาการอย่างยั่งยืนในจังหวัดชลบุรี พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก ดังนั้นแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว
จึงมีความเหมาะสมกับบริบทสภาพแวดล้อมของจังหวัดชลบุรี สามารถนำไปปฏิบัติได้เพื่อให้เกิดความยั่งยืน
ในการพัฒนาการท่องเที่ยว

The aims of this research were 1) Studying the contextual of area based and tourism
potential approaches for the tourism resources of Chonburi Province 2) developing the strategic
plan for Sustainable Integrated Tourism Development in Chonburi Province and 3) Evaluating the
strategic plan for Sustainable Integrated Tourism Development in Chonburi Province. The combination
of qualitative and quantitative research was used as a method of the study. The quantitative data
were analyzed by collecting the questionnaire from the stakeholders including government, private
sector, tourist and local communities. Statistics used to analyze data were percentage, mean and
standard deviation. The qualitative data were collected from focus group discussion, the in-depth
interviews, internal and external environment group discussion and Analysis of strength, weakness,
opportunities and threat (SWOT Analysis) by AIC for Participatory Planning . The data were analyzed
on the content and checked by triangulation.
According to the results, it was found that the strategic plan for Sustainable Integrated
Tourism Development in Chonburi Province was that Chonburi will be developed to be the marine
tourism brand of Easterncoast as a marine tourism hub with global standards for environmental
sustainability, for the local economy development and income distribution to the community,
cultural conservation and spiritual development, environmental awareness as well as integrated
sustainable society development. The integrated sustainability development consists of 4
strategies; 1) the strategic development for environmental sustainability 2) the strategic
development for economic development, tourism development, 3) the strategic development for
social development, 4) the strategic development for the conservation of cultural and spiritual
development. An assessment result of the integrated and sustainable strategic plan of Chonburi
was at the appropriate level and consistent with environment of Chonburi that can implement to
achieve sustainable tourism development.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biographies

รุ่งรดิศ เมืองลือ, Dusit Thani College Pattaya

Bachelor of Arts (Home and Community)

-Chiangmai University

Master of Arts (Man and Environment Management)

– Chiangmai University

พยอม ธรรมบุตร, College of Management University of Phayao, Bangkok Campus

Bachelor of Arts (History and Philosophy)

- University of Grenoble, France

Master of Arts (Linguistics) – University of Paris, France

Doctor of Philosophy (Linguistics) University of Paris, France

References

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2558). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2558-2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2559). สรุปสถานการณ์นักท่องเที่ยว พฤษภาคม 2559. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

พจนา สวนศรี. (2556). คู่มือมาตรฐานการท่องเที่ยวโดยชุมชน สถาบันการท่องเที่ยวโดยชุมชน มหาวิทยาลัยพายัพ. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

พยอม ธรรมบุตร. (2541). หลักการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์.(เอกสารประกอบคำสอน). กรุงเทพฯ:สถาบันพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พรทิพา ปิยะกมลรัตน์. (2556). สภาพแวดล้อมกับการพัฒนา: กรณีศึกษาย่านชายหาดพัทยาใต้. วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มนัส สุวรรณ และคณะ. (2549). การจัดการสิ่งแวดล้อม: หลักการและแนวคิด. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

รุ่งระวี วีระเวสส์. (2559). ศักยภาพการแข่งขันการท่องเที่ยวของเมืองพัทยาในตลาดโลก: วิเคราะห์ด้วยดัชนีความได้เปรียบโดยได้เปรียบ. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 10 (1), 265- 266.

สำนักงานสถิติจังหวัดชลบุรี. (2558). รายงานสถิติ 2558 ชลบุรี. ชลบุรี: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.

สำนักงานจังหวัดชลบุรี กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด. (2557). แผนพัฒนาจังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2558 – 2561. ชลบุรี. [อัดสำเนา].

สำนักนายกรัฐมนตรี. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติฉบับที่สิบเอ็ด พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานจังหวัดชลบุรี กลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด. (2558). แผนปฏิบัติการท่องเที่ยวภายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวฝั่งทะเลตะวันออก พ.ศ. 2559 –2563. ชลบุรี. [อัดสำเนา].

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2555). แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2555 – 2559. กรุงเทพฯ. [อัดสำเนา].

สุวภาพ ประภาสวัสดิ์. (2554). ทัศนคติและความพึ่งพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวแบบวันเดียว ณ หาดบางแสน จังหวัดชลบุรี ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.