การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เป็นทีมของข้าราชการครูสังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทักษะการเรียนรู้เป็นทีมของข้าราชการครูสังกัด
กรุงเทพมหานคร (2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เป็นทีมของข้าราชการครู
สังกัดกรุงเทพมหานครและ (3)ประเมินหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เป็นทีมของ
ข้าราชการครูสังกัดกรุงเทพมหานคร มีขั้นตอนการวิจัย3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาทักษะการเรียนรู้
เป็นทีมที่จำเป็นของข้าราชการครูสังกัดกรุงเทพมหานคร ดำเนินการ 2 ส่วน คือ 1.1) การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูล
สำคัญได้แก่ผู้บริหารและข้าราชการครูในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 คน 1.2) การสอบถาม
ความคิดเห็นเกี่ยวกับองค์ประกอบของทักษะการเรียนรู้เป็นทีมข้าราชการครูสังกัดกรุงเทพมหานคร
กลุ่มตัวอย่าง 413 คนขั้นตอนที่ 2 พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม โดยนำผลที่ได้ในขั้นตอนที่ 1มาใช้ในการพัฒนา
หลักสูตรฝึกอบรม และให้ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพัฒนาหลักสูตร จำนวน 6 คนตรวจสอบคุณภาพด้านความ
เหมาะสมและความสอดคล้องขององค์ประกอบโครงร่างหลักสูตรขั้นตอนที่ 3 ประเมินหลักสูตรโดยนำ
หลักสูตรฝึกอบรมไปทดลองใช้กับข้าราชการครูสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 20 คน
ผลการวิจัยพบว่า (1) ทักษะการเรียนรู้เป็นทีมของข้าราชการครู มี 4 ด้าน ได้แก่ทักษะการกำหนด
เป้าหมายและการวางแผนการเรียนรู้เป็นทีม ทักษะภาวะผู้นำของสมาชิกทีม ทักษะการปฏิสัมพันธ์และ
การเรียนรู้ร่วมกัน และทักษะการประเมินผลการเรียนรู้เป็นทีม(2) ผลการประเมินโครงร่างหลักสูตรพบว่า
มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และโครงร่างหลักสูตรมีความสอดคล้องกันทุกองค์ประกอบ
ของโครงร่างหลักสูตร(3) ผลการทดลองใช้หลักสูตรแบบกลุ่มตัวอย่างเดียวทดสอบก่อนและหลังการ
ทดลอง พบว่าคะแนนเฉลี่ยของทักษะการเรียนรู้เป็นทีมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรม
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้เข้าอบรมมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับ
มากที่สุด
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2557). รายงานการวิจัยแนวทางการพัฒนา การศึกษาไทยกับการเตรียมความพร้อมสู่ศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาแห่งชาติ. (2556). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูและผู้บริหารสถานศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐานในโรงเรียนขนาดเล็ก ระยะที่สอง(ฉบับสรุป). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
ชูชัย สมิทธิไกร. (2556).การฝึกอบรมบุคลากรในองค์การ. กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พศิน แตงจวง. (2554). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะบุคลากรทางการศึกษา.กรุงเทพฯ:ดวงกมลพับลิชชิ่ง.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์และพเยาว์ ยินดีสุข.(2557).การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ธำรง บัวศรี.(2542).ทฤษฎีหลักสูตร..การออกแบบและพัฒนา.กรุงเทพฯ:ธนธัชการพิมพ์.
มารุต พัฒผล. (2558). การประเมินหลักสูตรเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา.กรุงเทพฯ:จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
วิชัย วงษ์ใหญ่.(2554). การพัฒนาหลักสูตรระดับอุดมศึกษา.กรุงเทพฯ:อาร์แอนด์ปริ๊นท์.
วราภรณ์ ผ่องสุวรรณ.(2553). การพัฒนารูปแบบการสร้างความรู้ร่วมกันด้วยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เป็นทีมของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการสถาบันอุดมศึกษา.ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สายพิณ สีหรักษ์. (2551). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามหลักการเรียนรู้เป็นทีม เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้เป็นทีม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4.ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุดารัตน์ ครุฑกะ.(2550).การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะที่พึงประสงค์ของหัวหน้าพยาบาลในระบบบริการสุขภาพในอนาคต.ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Decuyper, S., Dochy, F., &Bossche, V. D. (2010). Grasping the dynamic complexity of team learning:An integrative model for effective team learning in organization. Educational Research Review. 5(2), 111-133.
Knapp, R. (2010). Collective (team) learning process: A conceptual review.Human Resource Development Review.9, 285-299.
Knowles, M. S., Holton, E. F., & Swanson, R. A. (2011). The Adult Learner:The Definitive Classic in Adult Education and Human Resource Development. New York: Elsevier.
Kyndt&Dochy. (2013).Team learning beliefs and behaviors in response teams. European Journal of Training and Development.37(4), 357-379.
Marquardt, M. J. (2011). Building the Learning Organization: Achieving Strategic Advantage through a Commitment to Learning. London: Nicholas Brealey.
Marquardt, M. J. (2011). Optimizing the Power of Action Learning. London: Nicholas Brealey.
Senge, P. M. (1994). The Fifth Discipline: The Art and Practice of the Learning Organization. New York: Doubleday.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. New York:Harcourt, Brace & World.
Tyler, R. W. (1949). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago:University Of Chicago Press.
Yamane, T. (1960). Statistics : An Introductory and Analysis. Singapore: Harper International Edition.