การศึกษาการเปิดรับสื่อและความต้องการสารคดีทางวัฒนธรรม ทางโทรทัศน์ชุมชนของประชาชนจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

กรกฎ จำเนียร
เมธาวี จำเนียร

Abstract

งานวิจัยชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมการเปิดรับสื่อและเพื่อศึกษาความต้องการ
รายการสารคดีทางวัฒนธรรมเพื่อการอนุรักษ์และถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของประชาชน จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ สุ่มตัวอย่างแบบโควตา ประชากรจังหวัดนครศรีธรรมราชในอำเภอต่าง ๆ
รอบอำเภอเมือง จำนวน 5 อำเภอ อำเภอละ 200 คน รวม 1,000 คน โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือ
ในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของประชาชน จังหวัดนครศรีธรรมราช ตัวอย่างเลือก
รับสื่อโทรทัศน์มากเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ สื่อออนไลน์และสื่อวิทยุกระจายเสียงตามลำดับ สำหรับ
สื่อโทรทัศน์ เลือกรับชมรายการข่าวมากเป็นอันดับ 1 ช่วงเวลาที่เลือกรับชมมากที่สุดคือ เวลา 20.01-24.00 น.
โดยส่วนใหญ่จะรับชมเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง และรับชมผ่านเครื่องรับโทรทัศน์ โดยมีเหตุผลในการเลือกรับชม
รายการโทรทัศน์คือ เพื่อรับรู้ข้อมูลข่าวสารประจำวัน เพื่อความบันเทิงและผ่อนคลายความเครียด และ
การนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ตามลำดับ สำหรับความต้องการรูปแบบรายการสารคดี
ทางวัฒนธรรมทางโทรทัศน์ชุมชนที่ต้องการ คือ 1) สารคดีเชิงท่องเที่ยว 2) สารคดีเชิงข่าว และ 3) สารคดี
แบบเสมือนจริงติดตามชีวิตของคนในชุมชน สำหรับเนื้อหารายการสารคดีทางวัฒนธรรมที่ตัวอย่างต้องการ
มากที่สุด คือ 1) เน้นประเด็นที่ทันสมัยกำลังเป็นที่สนใจ 2) เน้นความบันเทิงสอดแทรก และ 3) เน้นนำเสนอ
เรื่องราววัฒนธรรมที่ใกลตั้ว ตามลำดับ โดยทั้งนี้ รายการสารคดีทางวัฒนธรรมดังกลา่ วควรใหเ้ ยาวชนรุน่ ใหม่
ลงมาเรียนรู้และสืบสานภูมิปัญญาชุมชนร่วมกับชาวบ้าน รวมถึงส่งเสริมความร่วมมือของชาวบ้านช่วยกัน
บอกเล่าเรื่องราวในชุมชนเพื่อให้คนอื่น ๆ ได้รับรู้ด้วย

This research aims at surveying media exposure of people in Nakhon Si Thammarat and
to study cultural documentary need for conserving and transferring local wisdom of community.
This research is quantitative research with quota sampling in five districts surrounding Muang Nakhon
Si Thammarat District. The researcher collected 200 samplings for each district, totally five districts
with 1,000 people. The researcher uses questionnaire as tool. The research result is that the
samplings select television, online and radio respectively for exposure. For television, the samplings
perceive news program as the first program and 8.01 p.m. – 12.00 p.m. is the period time for watching.
They take time for 1-2 hours though television equipment. The reason for watching television
program is for perceiving daily news, for entertainment and relaxing and for applying in daily life
respectively. The samplings need the cultural documentary pattern through community television
which should be 1) tourism documentary, 2) news documentary and 3) reality documentary following
community people’s life. For content, it should be about 1) cultural documentary which presents
update and interesting issue, 2) inserted entertainment and 3) closed culture relating respectively.
In addition, the teenagers should learn and continue local wisdom with villagers, including the
villagers should narrate altogether about community art and culture disseminating to others to
perceive.

Article Details

Section
Research Articles

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2552). สื่อเล็กๆ ที่น่าใช้ในงานพัฒนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ. (2558). เพาะกล้า ภูมิปัญญาเชิงสร้างสรรค์ โครงการส่งเสริมการผลิตรายการต่อผู้ผลิตรายการระดับท้องถิ่นด้านการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ระยะที่ 2. ในโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเพาะกล้า ภูมิปัญญาเชิงสร้างสรรค์ 15-17 กรกฎาคม 2558. จ.ภูเก็ต.

คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2552). การสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม. กรุงเทพฯ: วี.พรินท์ (1991).

ธีรศักด์ อริยะอรชุน. (2556). พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจต่อรายการข่าวทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียม MEDIA NEWS CHANNEL ของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 19 ตุลาคม 2559, จาก www.spu.ac.th/commarts/files/2013/09/บทความ-วิชาการ.doc

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ (บรรณาธิการ). (2547). สื่อสารมวลชนเบื้องต้น สื่อมวลชน วัฒนธรรม และสังคม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.