แนวทางการพัฒนาทักษะการเรียนภาษาจีนหลักสูตรระยะสั้นสําหรับผูใหญ่

Main Article Content

สุวพิชญ์ ตั๋นต๊ะพันธ์

Abstract

      ปัจจุบันการเรียนภาษาต่างประเทศในหลักสูตรระยะสั้นเป็นที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย  โดยเฉพาะการเรียนภาษาจีนหลักสูตรระยะสั้น  เนื่องจากในปัจจุบันมีการติดต่อค้าขายกับชาวจีนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการท่องเที่ยว  การโรงแรม   ธุรกิจสปา  เป็นต้น   การที่ผู้เรียนเลือกเรียนภาษาจีนกันเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่ก็เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองในด้านการทำงาน ในการเรียนแบบหลักสูตรระยะสั้นนั้นเหมาะสำหรับผู้เรียนในวัยทำงานได้เป็นอย่างดี   เนื่องจากใช้ระยะเวลาในการเรียนไม่มาก  มีการเรียนที่เน้นเฉพาะด้าน  ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียน  ได้ผลเร็ว  และสามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง แต่การเรียนภาษาจีนในหลักสูตรระยะสั้นนั้นยังมีปัจจัยที่ทำให้เกิดอุปสรรคในการเรียน อันได้แก่  ผู้เรียนส่วนใหญ่เป็นวัยทำงาน  มีเวลาในการเรียนไม่สม่ำเสมอ  เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนภาษาจีนในหลักสูตรระยะสั้น  บทความฉบับนี้ได้กล่าวถึงสภาพการเรียนการสอนหลักสูตรภาษาจีนระยะสั้น  และได้มีการวิเคราะห์แนวทางในการเรียนภาษาจีนหลักสูตรระยะสั้นของผู้ใหญ่เพื่อให้ได้ผลที่ดีในการเรียน โดยในการพัฒนานั้นต้องมีการร่วมมือกันทั้งผู้เรียนและผู้สอน ผู้เรียนนั้นต้องไขว่คว้าหาความรู้ใหม่ๆ  มีการฝึกฝนในการพูดภาษาจีนอยู่เสมอ  ส่วนผู้สอนนั้นควรใช้หลักจิตวิทยาในการสอนผู้ใหญ่เข้ามาปรับใช้ในการเรียนภาษาจีน  ควรมีการนำวัฒนธรรมของประเทศจีนเข้ามาทอดแทรกในเนื้อหาการเรียน เพื่อที่ผู้เรียนจะได้ไม่เกิดอุปสรรคในการสนทนากับเจ้าของภาษา  หวังว่าบทความฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงและพัฒนาการสอนภาษาจีนแบบหลักสูตรระยะสั้นให้ได้ผลดีมากยิ่งขึ้น 

   

        Nowadays language short-time-courses are gaining popularity. Through the present trade with the Chinese and an increasing growth in areas like business tourism, hotels, spas and more, the demand for Chinese language skills rises rapidly. The number of people learning Chinese also increases. Short-time-courses are suitable for learners with limited time, such as workers and student. Short-time-courses focus on group objectives and will therefore have good results in short time. Though, there are a variety of factors that are causing difficulties foe learners. Including full-time jobs, families, and studies. It’s time to guide and analyze the state of Chinese lessons in order to get better results and to push the development of short-time-courses in Chinese. The development will require the cooperation of both learners and teachers. Leaners are encouraged to find material by themselves and practice independently. Instructors are required to use psychology to motivate their adult learners. The courses will also focus on Chinese culture to evolve the understanding of cultural differences and to avoid obstacles in conversations with native speakers. Hopefully this article will help and develop Chinese language short-time-courses even more.

Article Details

Section
Academic Articles
Author Biography

สุวพิชญ์ ตั๋นต๊ะพันธ์, สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น

2011 ปริญญาตรี   ศิลปศาสตร์ ภาษาจีน มหาวิทยาลัยราชภัฎ เชียงใหม่

2015 ปริญญาโท  การสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ

                    มหาวิทยาลัยคุรุศาสตร์ยูนนานา ประเทศจีน

References

กรมการท่องเที่ยว (Department of Tourism). (2559). สถิตินักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย.สืบค้นเมื่อ25ธันวาคม2559, จากttp://newdot2.samartmultimedia.com.

จินดารัตน์ โพธิ์นอก. (2557). ทักษะไทย.สืบค้นเมื่อ 10ธันวาคม2559,

จากhttp://www.royin.go.th/?knowledges.

นุชลี อุปภัย. (2556). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รังสรรค์ จันต๊ะ. (2541). เอกสารประกอบการสอนวิชา ศท130ภาษาไทย. เชียงใหม่: คณะธุรกิจการเกษตรมหาวิทยาแม่โจ้.

เรวดี อาษานาม. (2537). พฤติกรรมการสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. มหาสารคาม: สถาบันราชภัฏมหาสารคาม.

วรรณี ลิมอักษร. (2554). จิตวิทยาการศึกษา. สงขลา: บริษัทนำศิลป์โฆษณา.

วรรณี โสมประยูร. (2544). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา.กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

วัชรี บูรณสิงห์. (2544). การบริหารหลักสูตร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วัฒน์ วัฒนวงศ์. (2547). จิตวิทยาเพื่อการอบรมผู้ใหญ่. กรุงเทพฯ: บริษัทด่านสุธาการพิมพ์.

วัฒนะ บุญจับ. (2541). ศาสตร์แห่งการใช้ภาษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์

มิตรสยาม.

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2558).รายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ โครงการเตรียมการรองรับการเคลื่อนย้ายของแรงงานสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (Preparation for Flow of Labor in the ASEAN Community) สืบค้นเมื่อ 21

ธันวาคม2559, จากttp://www.mol.go.th/anonymouse/content/Asean2012.

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2557). รายงานผลการตรวจสอบการดำเนินงานศูนย์อาเซียนศึกษาสืบค้นเมื่อ 21ธันวาคม2559, จากhttp://libazz.com

อรทัย ศักดิ์สูง. (2543). การวิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างทฤษฎีแอนดราโกจี (Andragogy) ของมัลคัลโนลส์ กับวิธีการสอนในหลักสูตรผู้บริหารสถานศึกษาระดับสูง. สืบค้นเมื่อ 20ธันวาคม 2559,จาก ttps://www.gotoknow.org/posts/198872.

Lu Bisong. (1995). Language teaching of problem (关于语言教学的若干

问题).语言教学与 研究, 1995(4), 8-19.

Norman, Jerry. (1988). Chinese. New York: Cambridge University Press

Wangbo, (2013). On the Cultivation of Minority Students' Sense

of Chinese (少数民族学生汉语技能意识的培养). Xueyuan. 2013(33), 75.

Zhao jinming, Mei liping. (2011). Chinese as a Second Language Classroom(汉语作为第 二语言课堂教学). Beijing: Peking University.