การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนคนสารภี อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่: ต้นยางนาและถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน
Main Article Content
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตของชาวบ้านกับต้นยางและถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เพื่อนำไปสู่แนวทางการถ่ายทอดความรู้และความสำคัญของต้นยางและถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนให้แก่ผู้คนในปัจจุบันตลอดจนแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอย่างเหมาะสม ใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลจากเอกสาร/หลักฐาน การสำรวจพื้นที่ภาคสนามร่วมกับการวิจัยแบบมีส่วนร่วมของชุมชนด้วยกระบวนการสังเกตและการสัมภาษณ์ผู้คนในชุมชนทั้งแบบเจาะจงและไม่เจาะจง ได้แก่ พระภิกษุจำนวน 2 รูป ผู้ใหญ่บ้าน 10 คน ผู้สูงอายุ จำนวน 64 คน และตัวแทนจากภาครัฐและเอกชน จำนวน 5 คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบรายการประเด็นการสนทนากลุ่ม และนำข้อมูลองค์ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ชุมชนมาจัดเวทีเสวนา ณ ลานกิจกรรมใต้ร่มยางนาและโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลสารภี
สรุปผลจากการวิจัยพบว่าเกิดความเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างวิถีชีวิตของชาวบ้านกับต้นยางและถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนจากอดีตจนถึงปัจจุบันประวัติศาสตร์ชุมชนสารภี สามารถแบ่งความเปลี่ยนแปลงได้ 5 ยุคสมัย ได้แก่ ยุคขุนกองกิจประมวลและขุนสารภีภิรมย์ ยุคร่องปิงห่าง-ถนนซุปเปอร์ ยุครื้อฝาย-การท่องเที่ยว ยุคการฟื้นฟูชุมชน และยุคของการเป็นพื้นที่กึงเมืองกึ่งชนบท โดยรอยต่อแต่ละยุคสมัยได้ชี้ให้เห็นเรื่องความสัมพันธ์ในการจัดการและแบ่งปันทรัพยากรอย่างสำคัญ มีพิธีกรรมทางความเชื่อที่สำคัญ คือ ประเพณีทางพุทธศาสนาและพิธีกรรมพุทธ-ผี
แนวทางการถ่ายทอดความรู้และความสำคัญของต้นยางและถนนสายเชียงใหม่-ลำพูนให้แก่ผู้คนในปัจจุบันที่สำคัญ คือ การจัดกิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้มาเข้าร่วมอย่างอิสระ พบปะกัน มีบทบาทในการแสดงความคิดเห็นเสนอแนวทางในการดูแลและอนุรักษ์ต้นยางอย่างหลากหลาย และควรเป็นกิจกรรมที่ทำให้คนในชุมชนมีรู้สึกว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งและมีความสำคัญที่จะมีบทบาทต่อการพัฒนาชุมชน ดูแลสาธารณสมบัติของชุมชน และมีความภาคภูมิใจในชุมชนของตนเองมากขึ้น
ส่วนแนวทางการใช้ประโยชน์จากข้อมูลประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนคือ การนำข้อมูลทางประวัติศาสตร์มาเป็นข้อมูลส่งเสริมการท่องเที่ยวในเครือข่ายสังคมออนไลน์ ส่งเสริมรายได้ของคนในชุมชน คนในชุมชนเกิดอนุรักษ์เพื่อให้เกิดความสวยงามในพื้นที่และส่งเสริมให้เกิดการภาพลักษณ์ที่ดีเชิญชวนให้เกิดการมาท่องเที่ยว รองลงมาเป็นการนำข้อมูลประวัติศาสตร์เชื่อมโยงสู่การจัดการเรียนการสอนเพื่อถ่ายทอดสู่เยาวชน
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
ชุติมา คําบุญชู สุภาพ ต๊ะใจ อุบลพรรณ วรรณสัย ทัตพิชา ชลวิสูตร และตุลาภรณ แสนปรน. (2553).โครงการยุววิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ธวัชชัย หล่อวิจิตร. (2550). การจัดการความรู้ : ชุมชนนักปฏิบัติ (Communities of Practice : CoP). เอกสารประกอบการอบรมสัมมนา, สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ, กรุงเทพฯ.
พิมพ์อุมา ธัญธนกุล. (2558). ประวัติศาสตร์ชุมชน : บ้านสันคู อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลการวิจัย ระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 6 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 2(6), 353-363.
มานูนณย์ สุตีคา ฐิติมา ญาณะวงษา และนวพร ชลารักษ์. (2559). การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยการมส่วนร่วมของชุมชนตำบลสารภีอำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่: ต้นยางนาและถนนสายเชียงใหม่-ลำพูน. เชียงใหม่ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
เมธี ใจศรี นิศาชล ทองขาว พะเยาว์ พิกุลสวัสดิ์ พวงผกา หลักเมือง และจันทร์ รัตนจีระวงค์. (2552). โครงการการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำบลหางดง อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศิลปวัฒนธรรม. (2538). ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ ฉบับ เชียงใหม่ 700 ปี. เชียงใหม่ : โรงพิมพ์มิ่งเมือง.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2552). ประวัติศาสตร์ล้านนา. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์.
สำนักวัฒนธรรมเชียงใหม่. (2545). ราชอาณาจักรล้านนา. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.chiangmai-thailand.net/lanna_history_adeet-putjubun/lanna_history.html. (5 เมษายน 2557)
สีลาภรณ์ บัวสาย. (2552: ออนไลน์) ความสำคัญและบทบาทของประวัติศาสตร์ท้องถิ่นในปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2559. จากhttp://www.trf.or.th/index.php?option=com_content&view
=article&id=1031:---35&catid=37:research-exploitation&Itemid=148
สุมนมาลย์ สิงหะ สมบูรณ์ บุญชู นันทศิลป์ บุญชู และปพิชญา ปันเจริญ. (2548). โครงการวิจัยประวัติศาสตร์ตำบลสารภี. เชียงใหม่ : องค์การบริหารส่วนตำบลสารภี.
อรรถจักร สัตยานุรักษ์. (2545). โครงการประสานงานการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคเหนือ : ประวัติศาสตร์เพื่อชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อรรถจักร สัตยานุรักษ์. (2548). ประวัติศาสตร์เพื่อชุมชน : ทิศทางใหม่ของการศึกษาประวัติศาสตร์ ใน รายงานผลการวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำ นักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย มีนาคม 2547. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
อรรถจักร สัตยานุรักษ์. (2554). โครงการประสานงานการวิจัยประวัติศาสตร์ท้องถิ่นภาคเหนือ :ประวัติศาสตร์เพื่อชุมชน. กรุงเทพฯ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.