พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อ วัดเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้าราชานุสรณ์ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาชมวัดเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้าราชานุสรณ์อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง 2)เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาชมวัดเฉลิมพระเกียรติพระจอมเกล้าราชานุสรณ์อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2559 จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยววัดเฉลิมพระเกียรติ พระจอมเกล้าราชานุสรณ์ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับ ด้านแหล่งท่องเที่ยวและสภาพแวดล้อม ด้านราคาสินค้าและบริการ ด้านการคมนาคม ด้านการบริการ และด้านความปลอดภัย โดยใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าความถี่(Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) และการหาค่าเฉลี่ย (Mean) มาใช้ในการวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อวัดเฉลิมพระเกียรติ พระจอมเกล้าราชานุสรณ์ อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง พบว่า ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง อยู่ในช่วงอายุ 20 – 29 ปี ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป มีสถานภาพสมรส มีรายได้ 10,001-20,000 บาท ศึกษาอยู่ระดับระดับปริญญาตรี ส่วนข้อมูลพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทย พบว่าส่วนใหญ่มีรูปแบบการเดินทาง มากับครอบครัว ลักษณะการมาเที่ยว จะมาทำบุญ พาหนะที่ใช้ รถยนต์ พักบ้านพักส่วนตัว มีค่าใช้จ่ายมากกว่า 500 บาท ต่อครั้ง มาไม่เกิน 1ครั้ง ต่อ ปี และในส่วนความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อวัดเฉลิมพระเกียรติ
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
เจตน์สฤษฎิ์ สังขพันธ์. (2557). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการตลาดน้ำคลองแห อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารวิทยาการจัดการ.(2559). 25-50.
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2542). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทวีลาภ รัตนราช. (2553). พฤติกรรมและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่อการท่องเที่ยว เชิงสัมผัสวัฒนธรรมในรูปแบบโฮมสเตย์ชุมชนบ้านคลองเรือ อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร . กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ปวีณา ทวีวงศ์โอฬาร.(2552). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา .กรุงเทพ : มหาวิทยาลยกรุงเทพ.
ผู้จัดการออนไลน์ (2557). "วัดพระพุทธบาทปู่ผาแดง" ลำปาง...อันซีนบนยอดเขา มหัศจรรย์แห่งศรัทธา. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2559, จาก http://www.manager.co.th/travel/viewnews.aspx
?NewsID=9570000129519
พชรดา มงคงนวคุณ. (2555). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อตลาดน้ำตลิ่งชัน . กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยสยาม.
วรรณสิริ โมรากุลม. (2559).ท่องเที่ยวไทยปี 58 ทำสถิติใหม่ โกยรายได้ทะลุเป้า2.23ล้านล้าน. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2559, จาก http://www.thansettakij.com/2016/01/08/25115
วิธาน จีนาภักดิ์. (2555). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยต่ออุทยานแห่งชาติน้ำตกเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Cochran, William.G.(1997) Sampling Technigues. New York : John Wiley and Sons.