การสังเคราะห์องค์ประกอบและโครงสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในสถาบันอุดมศึกษา
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ประกอบและโครงสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในสถาบันอุดมศึกษา ข้อมูลที่นำมาสังเคราะห์องค์ประกอบ ได้แก่(1) ภูมิปัญญาท้องถิ่น (2) ศิลปะและวัฒนธรรม (3) แนวคิดการบริหารงานตามภารกิจด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ (1) เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในระหว่างปี พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2554 จำนวน 11 รายการ (2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ทางด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านศิลปะและวัฒนธรรม ด้านศิลปกรรมสาขาที่เกี่ยวข้องจำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) แบบบันทึกผลการศึกษา (2) แบบประเมินความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญ ขั้นตอนการสังเคราะห์องค์ประกอบและโครงสร้างภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในสถาบันอุดมศึกษา ได้แก่ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องของภูมิปัญญาท้องถิ่น รวมถึงการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในสถาบันอุดมศึกษา (2) การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย(3) นำเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความสอดคล้อง ผลการวิจัย พบว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในสถาบันอุดมศึกษา แบ่งได้เป็น 2 องค์ประกอบหลัก คือ (1) ศิลปะ (2) วัฒนธรรม องค์ประกอบด้านศิลปะ ได้แก่ (1)อุตสาหกรรมและหัตถกรรม (2)ศิลปกรรมองค์ประกอบด้านวัฒนธรรม ได้แก่ (1)ภาษาและวรรณกรรมพื้นถิ่น (2)ประเพณี (3)การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (4)การแพทย์แผนไทย (5)เกษตรกรรม จากการศึกษาสรุปได้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในสถาบันอุดมศึกษา สามารถแบ่งออกได้ 2 องค์ประกอบหลัก และ 7 องค์ประกอบย่อย ทั้งนี้องค์ประกอบและโครงสร้างหลักมีความสำคัญและมีความสัมพันธ์กับภูมิปัญญาท้องถิ่นและการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรมในสถาบันอุดมศึกษา
The objective of this research is to Synthesize of Elements and Structure of Local Wisdom for Arts and Cultural Preservation in Higher Education Institutions. The data is used to synthesize: (1) local wisdom (2) arts and culture (3) the concept of management to promote arts and culture preservation in Higher Education Institutions. The samples in research study are (1) documents and research related to local wisdom between the year 1996 - 2011, 11 items (2) five experts fields in local wisdom, arts and culture, arts-related. Tools that are used in research: (1) forms for recording the results of the study. (2) A conformity of assessment by experts. The methodology of the synthesis of elements and structure of local wisdom for arts and cultural preservation in Higher Education Institutions include (1) a study of theories of local wisdom, arts and culture in Higher Education Institutions. (2) data collection to create a framework for the research. (3) offering experts to assess conformity. The research found that: local wisdom to promote arts and culture preservation in Higher Education Institutions can be divided into two main elements: (1) Arts (2) Cultures. The elements of arts are (1) industry and crafts (2) fine arts. The elements of cultures are (1) language and local literature (2) tradition (3) The management of natural resources and the environment (4) Thai traditional medicine (5) agriculture. The study of local wisdom to promote arts and culture preservation in Higher Education Institutions can be divided into two main elements and seven subcomponent elements. The elements and main structure are important in terms of the relationship between local wisdom and the preservation of arts and culture in Higher Education Institutions.
Article Details
1. Any views and comments in the FEU Academic Review Journal are the authors’ views. The editorial staff have not to agree with those views and it is not considered as the editorial’s responsibility.
2. The responsibility of content and draft check of each article belongs to each author. In case, there is any lawsuit about copyright infringement. It is considered as the authors’ sole responsibility.
3. The article copyright belonging to the authors and the Far Eastern University are copyrighted legally. Republication must be received direct permission from the authors and the Far Eastern University in written form.
References
กรมศิลปากร. (2552). “สำนักช่างสิบหมู่”. ศิลปากรบริการงานศิลปวัฒนธรรม: 100 (ร้อย) เรื่องกรมศิลปากร. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
กฤดาภัทร สีหารี. (2553). เอกสารคำสอน รายวิชา 463212 Semantic Web and Ontology. ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ, คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
กฤษฎา ศรีธรรมา. (2554). ภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม โครงการจัดทำตำราและงานวิจัยเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
กัลยานี ปฏิมาพรเทพ. (2541). แนวทางส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี / สถาบันแห่งชาติว่าด้วยภูมิปัญญาและการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
จุลดิษฐ อุปฮาต. (2554). ศิลปกรรมพื้นบ้าน. มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย โครงการจัดทำตำราและงานวิจัยเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
ชวน เพชรแก้ว. (2547). การยกระดับและการปรับใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในสถานการณ์ปัจจุบัน. วารสารสารภาษาไทย. 3(3), 14 – 22.
ประกอบ ใจมั่น. (2547). การพัฒนาระบบบริหารจัดการความรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาอุดมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประจวบ เอี่ยมผู้ช่วย. (2542). ศิลปกรรมและวัฒนธรรมท้องถิ่น. คณะศิลปกรรมศาสตร์ สถาบันราชภัฎสวนดุสิต โครงการตำราวิชาการราชภัฎเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ.
ประภากร แก้ววรรณา. (2554). การจัดการความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี โครงการจัดทำตำราและงานวิจัยเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวิทยาลัยกลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
พวงผกา คุโรวาท. (2539). ศิลปะและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : รวมสาส์น (1977).
วาสนา บุญสม. (2548). ศิลปวัฒนธรรมไทย สายใยจากอดีต. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ปิรามิด.
วิมล จิโรจพันธุ์, ประชิด สกุณะพัฒน์ และอุดม เชยกีวงศ์. (2548). ศิลปะและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แสงดาว.
สมชาย ลักขณานุรักษ์. (2545). ภูมิปัญญาไทย. นครปฐม. สถาบันราชภัฏนครปฐม.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). แนวทางส่งเสริมภูมิปัญญาไทยในการจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.
สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา. (2547). ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักเลขาธิการสภาการศึกษา.
สุดารัตน์ ชาญเลขา. (2545). รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชภัฏกับชุมชนเพื่อพัฒนาด้านวัฒนธรรม. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสรี พงศ์พิศ. (2536). ภูมิปัญญาชาวบ้านกับการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้ง กรุ๊ป แอนด์ พับลิชชิ่ง.
เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2540). ภูมิปัญญาชาวบ้าน สี่ภาค : วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านไทย. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Antonio, G., & Van Harlemen, F. (2004). A Semantic Web Primer. Cambridge, MA: MIT.