ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความเชื่อถือในข่าวบันเทิงที่นำเสนอผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของประชาชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปริณดา เริงศักดิ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเชื่อถือในข่าวบันเทิงที่นำเสนอผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบความเชื่อถือในข่าวบันเทิงที่นำเสนอผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันและ 3) เปรียบเทียบความเชื่อถือในข่าวบันเทิงที่นำเสนอผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานครที่มีพฤติกรรมการเปิดรับข่าวบันเทิงต่างกัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 434 คน สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.891 สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและผลวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ที่ระดับนัยสำคัญ .05


ผลวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีความเชื่อถือในข่าวบันเทิงด้านแหล่งข้อมูลและด้านเนื้อหาข่าว ระดับปานกลาง 2) อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพต่างกัน มีความเชื่อถือในข่าวบันเทิงที่นำเสนอผ่านสื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกัน 3) ชนิดของสื่อ ระยะเวลา และเนื้อหาที่เปิดรับต่างกันมีความเชื่อถือในข่าวบันเทิงที่นำเสนอผ่านสื่อสังคมออนไลน์แตกต่างกันทั้งนี้คนอายุน้อยมักมองโลกในแง่ดีกว่าคนอายุมาก คนมีการศึกษาต่ำมีความเชื่อถือข่าวบันเทิงสูงกว่าคนมีการศึกษาสูง และอาชีพพ่อบ้าน แม่บ้าน เชื่อถือข่าวบันเทิงมากกว่าเนื่องจากไม่ต้องอาศัยทักษะ การคิดวิเคราะห์ หากมีการทำวิจัยครั้งต่อไปควรมีการสัมภาษณ์เชิงลึกและการรู้เท่าทันข่าวบันเทิง


This research aims to 1) study Bangkok users’ trust in entertainment news presented on social media 2) compare trust in entertainment news on social media among users with different demographic background and 3) compare trust in entertainment news presented on social media among users with different news exposure behaviors. 434 participants drawn by the multi-stage random sampling method were samples of the study. Questionnaires with the reliability value of 0.891 were used to collect data.Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, and one-way ANOVA at the level of significance of 0.05.


The results show that 1) users in Bangkok trust entertainment news presented on social media moderately 2) those who are different in age, education and occupation trust entertainment news presented on social media differently and 3) those who consume different type of media, duration, and type of content trust entertainment news presented on social media differently. Users in younger age tend to be more optimistic than those who are older. Low-educated users trust in entertainment news more than those who are higher educated. Househusband and housewife trust in entertainment news because it does not require critical skill. Future research should apply in-depth interview methodology and investigate entertainment news literacy.

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

ปริณดา เริงศักดิ์, ภาควิชาบรอดแคสต์ติ้งและวารสารศาสตร์ดิจิทัล คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วันเกิด 21 กันยายน 2519

การศึกษา นิเทศศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับสอง) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

           นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต (เกียรตินิยมเหรียญทองเรียนดี) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

References

กตัญญู บุญเดช. (2555). ภาพสะท้อนทางจริยธรรมและจรรยาบรรณของนักข่าวบันเทิงไทย. วิทยานิพนธ์นิเทศศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรังสิต.

กิติมา สุรสนธิ. (2544). ความรู้ทางการสื่อสาร. กรุงเทพมหานครฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

กรกช เตชะเกรียงไกร. (2540). ทัศนคติของนิสิตนักศึกษาที่มีต่อความน่าเชื่อถือในข่าวสารทางการเมืองภายในประเทศของหนังสือพิมพ์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต (รัฐศาสตร์) รัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ (รัฐศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เขตรวีณ์ ศรีวิภานนท์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความนิยมของผู้ชมรายการปกิณกะบันเทิง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารมวลชน) มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปริณดา เริงศักดิ์. (2557). การเปิดเผยตนเองกับการสื่อสารผ่านเฟ๊ซบุ๊ก. วารสารนักบริหาร. 34 (1), 69-79.

ปุณณรัตน์ พิงคานนท์. (2548). การสื่อข่าวและการเขียนข่าวหนังสือพิมพ์. กรุงเทพฯ : บริษัท ธรรมดาเพรส จำกัด.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มีสท์.

พิศณุ นิลกลัด. (2556). ทำไมคนทั้งโลก จึงชอบติดตามข่าวดารา-คนดัง?. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2559, จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1377070072

พีระ จิรโสภณ. (2541). ทฤษฎีการสื่อสาร เอกสารประกอบการสอนชุดหลักและทฤษฎีการสื่อสาร. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไพบูรณ์ คะเชนทรพรรค์. (2556). การประเมินผลโครงการประชาสัมพันธ์ เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2559, จาก http://hq.prd.go.th/plan/download/article/article_

pdf

ภาสกร จิตใคร่ครวญ. (2553). เทคโนโลยีของสื่อใหม่และการนำเสนอตัวตนต่อสังคมกับพฤติกรรมการสื่อสารบนเครือข่ายสังคมออนไลน์. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มีเดีย มอร์นิเตอร์. (2553). นักวิชาการเสนอจัดเรตติ้งรายการบันเทิง. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2559, จาก http://m.dmc.tv/dhamma/index.php?action=

page&id=6903

ยุทธพงษ์ วิวัฒน์บุตรสิริ. (2552). การโฆษณาผ่านสื่อวิทยุของสินค้าเครื่องดื่มอะมิโนโอเคที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร : ศึกษาเฉพาะการลงโฆษณาทางวิทยุกับคลื่นเวอร์จิ้น ซอฟท์103. การศึกษาเฉพาะบุคคล บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ยุบล เบ็ญจรงค์กิจ. (2542). การวิเคราะห์ผู้รับสาร. กรุงเทพฯ : บริษัท ที.พี.พริ้นท์ จำกัด.

วัฒณี ภูวทิศ. (2551). การสื่อข่าวและการเขียนข่าว. ปทุมธานี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

วันทนา คณานุรักษ์. (2554). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวบันเทิงออนไลน์ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักข่าวอิศรา. (2559). ผลวิจัยม.หอการค้าฯ ชี้คนอ่านข่าวแชร์มากกว่าอ่านจากสำนักข่าวหลัก. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2559, จาก http://www.isranews.org/

thaireform-doc-mass-comm/item/49359-beau190859.html

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). สำรวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือน พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2559, จาก http://service.nso.go.th/nso/web/survey/surtec5-

-3.html

แสงเดือน ผ่องพุฒ. (2556). สื่อสังคมออนไลน์ : แนวทางการนำมาประยุกต์ใช้ (Social Media : How to application). สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. 3 (20), 1-18.

เอมิกา เหมมินทร และปรีชา วิจิตรธรรมรส. (2557). พฤติกรรมการใช้และความคิดเห็นเกี่ยวกับผลที่ได้จากการใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Media) ของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 9-10 (16-17), 120-139.

Fayossy. (2559). อัพเดทตัวเลขผู้ใช้ Internet และ Social Media ในไทย (ม.ค.59). สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2559, จาก https://www.marketingoops.com/reports/research/thai-digital-in-2016/

Burgoon, M. (1974). Approaching Speech/Communication. New York: Holt, Rinehart, and Winston.

Schramm, W.L. (1964). Mass media and national development: The role of information in the Developing countries (No. 25). Stanford University Press.