ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครตำรวจบ้านในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พลตำรวจตรี รมย์สิทธิ์ วีริยาสรร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

อาสาสมัครตำรวจบ้าน, ประสิทธิผลในการปฏิบัติงาน, ปัจจัยเชิงสาเหตุ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครตำรวจบ้าน ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการสำรวจความคิดเห็นด้วยวิธีการแจกแบบสอบถามแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจที่ทำหน้าที่เป็นตำรวจชุมชน และคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจภาคประชาชน รวมทั้งสิ้น 362 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติพรรณนา การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของอาสาสมัครตำรวจบ้าน ประกอบด้วย ปัจจัยด้านลักษณะส่วนบุคคลของอาสาสมัครตำรวจบ้าน ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน และปัจจัยด้านการบริหารจัดการ โดยที่ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติของอาสาสมัครตำรวจบ้านมากที่สุด ถัดมาคือปัจจัยด้านการบริหารจัดการ และปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลของอาสาสมัครตำรวจบ้าน ตามลำดับ

References

กนกพจน์ สิงห์เมธากุล. (2550). ประสิทธิผลในการทำงานของอาสาสมัครหน่วยกู้ภัยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งหลังจากได้รับการอบรมหลักสูตรเสริมสร้างทักษะเบื้องต้น การปฐมพยาบาล ณ จุดเกิดเหตุ ก่อนถึงโรงพยาบาล. วิทยานิพนธ์สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
กรแก้ว เพชรจำรัส. (2545). ปัจจัยการเปิดรับข่าวสารการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ที่ส่งเสริมต่อภาพลักษณ์. กรุงเทพฯ: ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย.
เฉลิมเกียรติ ศรีวรขาน. (2553). หลักการและแนวคิดการป้องกันอาชญากรรมแบบมีส่วนร่วม. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ดวงเพ็ญ สำเนียง. (2548). การนำเสนอภาพโฆษณาในท่าอากาศยานกรุงเทพ: การเปิดรับ การรับรู้ และการจำได้ของผู้ใช้บริการ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ตะวัน ตระการฤกษ์. (2552). การมีส่วนร่วมของราษฎรอาสาในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรมในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธรเมืองสมุทรสาคร. สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปาริชาติ วลัยเสถียร และคณะ. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
พงศ์พัฒน์ ฉายาพันธุ์. (2551). ผลการปฏิบัติงานโครงการ “ตำรวจกองปราบผู้รับใช้ชุมชน (community policing). กรุงเทพฯ: กองบังคับการปราบปราม กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง.
ยติยา กระต่ายโพธิ์. (2549).
วรเดช จันทรศร. (2555). ปรัชญาของการบริหารภาครัฐแนวใหม่: ทฤษฎี องค์ความรู้ และการปฏิรูป. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
วิชิต อู่อ้น. (2550). การวิจัยและการสืบค้นข้อมูลทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: บริษัทพรินท์แอทมี (ประเทศไทย) จำกัด.
ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์เน้นสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมลักษณา ไชยเสริฐ. (2549). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในคณะกรรมการตรวจสอบและติดตามการบริหารงานตำรวจสถานีตำรวจนครบาล. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สุชาติ ประสิทธิรัฐสินธุ์ และคณะ. (2548). วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพ: การวิจัยปัญหาปัจจุบันและการวิจัยอนาคตกาล. กรุงเทพฯ: สามลดา.
อรุชา จันทร์คง. (2550). การมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนที่เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในโครงการสายตรวจอาสา ของสถานีตำรวจภูธรพาน จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Barzelay, M. (2000). The new public management: Improving research and policy dialogue. Berkeley, CA: University of California Press.
Erwin, W. (1976). Participation Managements; Concept theory and the implementation. Atlanta: Geogin state University.
Merton, R. K. (1957). Bureaucratic structure and personality. New York: Harcourt College.
Pandey, S. K., & Moynihan, D. P. (2005). Bureaucratic red tape and organizational performance: Testing the moderating role of culture and political support. Retrieved February 2, 2008, from http://ssrn.com/abstract=867124
Peters, B. G. (1996). Future of governing (2nd ed.). Lawrence, KS: University Press of Kansas.
Pollitt, C., & Bouckaert, G. (2004). Public management reform: A comparative analysis (2nd ed.). Oxford: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-04-12