การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตคนทำงานในเขตบิ๊กล็อทแฟคตอรีแลนด์

ผู้แต่ง

  • เปรมฤดี หงวนกระโทก หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างคุณภาพชีวิต, คุณภาพชีวิตการทำงาน, ด้านความสำเร็จในการทำงาน

บทคัดย่อ

          การศึกษาเรื่อง การสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในเขตบิ๊กล็อทแฟคตอรีแลนด์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานในเขตบิ๊กล็อท แฟคตอรี่แลนด์ (2) เปรียบเทียบการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานในเขตบิ๊กล็อท แฟคตอรี่แลนด์ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (3) ศึกษาแนวทางเสริมสร้างคุณภาพชีวิตคนทำงานในเขตบิ๊กล็อท แฟคตอรี่แลนด์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ คนทำงานในเขตบิ๊กล็อท แฟคตอรี่แลนด์ จำนวน 385 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การทดสอบด้วยสถิติทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง โดยการทดสอบค่าเอฟ (F-test) ผลการวิจัยพบว่า (ก) คนทำงาน เห็นด้วยกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานในเขตบิ๊กล็อท แฟคตอรี่แลนด์ ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า คนทำงาน เห็นด้วยกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานในเขตบิ๊กล็อท แฟคตอรี่แลนด์ อยู่ในระดับมากทั้ง 5 ด้าน ดังนี้ (1) ด้านความสำเร็จในการทำงาน (2) ด้านการยอมรับนับถือจากผู้อื่น (3) ด้านลักษณะงาน (4) ด้านโอกาสก้าวหน้าและการเจริญเติบโตด้านการปฏิบัติงาน และ (5) ด้านความรับผิดชอบ ตามลำดับ (ข) คนทำงานที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเสริมสร้างคุณภาพชีวิตการทำงานในเขตบิ๊กล็อท แฟคตอรี่แลนด์ ในภาพรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กนกพรรณ จันทร์วงษ์2. (2550). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริการในสถานีบริการน้ำมันในเขตอำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
กิรณา จิรเศรษฐากุล. (2556). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงาน บริษัทขอนแก่นแหอวน จำกัด. การศึกษาอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กัลยาณี อ้ายแก้ว. (2550). การพัฒนาแนวทางการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานสตรีลาวข้ามชาติ จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จันทัปพา วิเศษโวหาร. (2552). คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานสตรีในนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา), มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
ณัฐเดช จันทรางศุ. (2546). คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการกองดุริยางค์ทหารบก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). องค์การ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ธนิตย์ มีวาสนา. (2553). การเสริมสร้างคุณภาพชีวิตในการทำงานของบุคลากรกองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี. รายงานการศึกษาอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ปราณี ทองคำ. (2550). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานสตรีในอุตสาหกรรมอาหารทะเล จังหวัดปัตตานี. งานวิจัยทุนสนับสนุนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วัชรินทร์ ปิติสิทธิ์. (2554). แนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานส่วนตำบลในองค์การบริหารส่วนตำบล เขตอำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร. การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น), มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. (2542). องค์การและการจัดการ ฉบับสมบูรณ์ (ปรับปรุงใหม่). กรุงเทพฯ: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
ศุภวัฒน์ ศรีชัยชนะ. (2551). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจ ชั้นประทวนในสังกัดสถานีตำรวจภูธรแม่สอด. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
Walton, R. E. (1973). Quality of Work Life: What is it ?. Stone Management Review, 15(10).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-04-12