ความสำเร็จการนำนโยบายการจัดการการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2557 โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ไปปฏิบัติ กรณีศึกษา: คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • ดาบตำรวจ วุฒิพงษ์ คงมณี นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

ความสำเร็จ, การนำนโยบายไปปฏิบัติ, การจัดการการเลือกตั้ง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแห่งความสำเร็จ กับความสำเร็จของการนำนโยบายการจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2557 ไปปฏิบัติของคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ประชากรที่อาศัยอยู่ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test และใช้สถิติสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ประชาชนเห็นว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จมีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2557 ไปปฏิบัติ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และปัจจัยแห่งความสำเร็จมีผลอิทธิพลต่อความสำเร็จต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติเรียงตามลำดับมากไปน้อยดังนี้ ด้านการสื่อสารระหว่างองค์กร ด้านงบประมาณและแรงจูงใจ ด้านสภาวะแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ด้านลักษณะของหน่วยงาน กกต. ที่นำนโยบายการจัดการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกไปปฏิบัติ และด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย (2) ประชาชนเห็นว่าคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ประสบความสำเร็จในการนำนโยบายการจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2557 ไปปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ โดยรวม มีความสำเร็จของการนำนโยบายการจัดการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2557 ไปปฏิบัติของคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนด้านมาตรฐานและวัตถุประสงค์ของนโยบาย ด้านงบประมาณและแรงจูงใจ ด้านการสื่อสารระหว่างองค์กร และด้านลักษณะของหน่วยงาน กกต. ที่นำนโยบายการจัดการเลือกตั้งวุฒิสมาชิกไปปฏิบัติ มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ส่วนด้านสภาวะแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม มีความสัมพันธ์ในระดับสูง และเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

References

กระมล ทองธรรมชาติ, สมบูรณ์ สุขสำราญ และปรีชา หงส์ไกรเลิศ. (2531). การเลือกตั้ง พรรคการเมือง และเสถียรภาพของรัฐบาล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กานต์ เสกขุนทด. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาไปปฏิบัติของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (รัฐประศาสนศาสตร์) มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2549). ความรู้เบื้องต้นกับการบริหารราชการแนวใหม่. กรุงเทพฯ: วิชั่น พรินท์ แอนด์ มีเดีย.
เทพศักดิ์ บุณยรัตนพันธุ์. (2536). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างประสิทธิผลของการนำนโยบายการให้บริการแก่ประชาชนไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนา สถาบันพัฒนบริหารศษสตร์.
นพรุจ ศักดิ์ศิริ. (2550). การวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จของการนำนโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาไปปฏิบัติในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิตย์ สัมมาพันธ์. (2542). ยุทธศาสตร์การบริหารในโลกธุรกิจสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ท.
พิมลจรรย์ นามวัฒน์. (2534). การเลือกตั้ง ในเอกสารการสอนชุดวิชาสถาบันและกระบวนการทางการเมือง, หน้า 46. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัฐกร กลิ่นอุบล. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลในภาคกลาง. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (สาขานโยบายสาธารณะ) มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
รุ่งเรือง สุขาภิรมย์. (2543). การวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการนำนโยบายการศึกษาไปปฏิบัติ: กรณีศึกษานโยบายการขยายการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาอุดมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2551). การนำนโยบายไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
วัชรา ไชยสาร. (2544). สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.
ศรชัย ท้าวมิตร. (2549). ระบบรัฐสภาไทย. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2544). นโยบายสาธารณะ: แนวคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
Baldrige National Quality Program. 2004. Criteria for Performance Excellence 2004.
Frese, M. (2000). Success and Failure of Mechlien Owners in Africa. California: Greenwood Publishing.
Holzer, C. and Kloby, V. (2008). Understanding Attitudes and Predicting Social Behavior. New Jersy: Prentice Hall.
Julnes, Patricia. (2003). December-November. “Promoting the Utilization of Performance Measures in Public Organizations : An Empirical Study of Factors Affecting Adoption and Implementation.” Public Administration Review, 61(6): 693-708.
Kaplan, R. S. and Norton, D. P. (1992). The Balanced Scorecard-Measure that drive performance. Harvard Business Review, 69(1): 10-14.
Mazmanian, Daniel A. & Sabatier, Paul A. (1980). Implementation and public policy: With a new postscript. New York : University Press of America (Lanham, MD).
Yang, T. and Hsieh, C. (2007). Six-Sigma project selection using national quality award criteria and Delphi fuzzy multiple criteria decision-making method. Expert Systems with Applications, 36(4). 862.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-11-26