บทบาทภาครัฐในการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ประมงพม่าในจังหวัดสมุทรสาคร

ผู้แต่ง

  • ฉัตรธีรพล แทนสง่า มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

บทบาทภาครัฐ, การค้ามนุษย์, แรงงานประมง

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทของภาครัฐ ปัญหา อุปสรรค ประสิทธิผลของการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ด้านแรงงานประมงชาวพม่าของรัฐบาลในจังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ผู้ปฏิบัติ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ผู้บังคับการกองบังคับการปราบปรามการค้ามนุษย์ อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ผู้แทนกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกรมควบคุมคดีพิเศษ ผู้อำนวยการสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ตัวแทนหอการค้าจังหวัดสมุทรสาคร ตัวแทนผู้ประกอบการประมงในจังหวัดสมุทรสาคร ตัวแทนกลุ่มแรงงานประมงชาวพม่า รวมทั้งสิ้น 30 คน วิเคราะห์และประมวลผลข้อมูล โดยดำเนินการร่วมกับวิเคราะห์จำแนกประเภทและเชิงการตีความ

         ผลการวิจัยพบว่า 1) หน่วยงานภาครัฐที่มีบทบาทตามกฎหมาย บทบาทภายใต้ภาวะผู้นำ และบทบาทตามภาวการณ์เปลี่ยนแปลง การดำเนินการตามนโยบายการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ด้านแรงงานประมงชาวพม่ามีลักษณะเป็นการดำเนินการที่ต้องอาศัยภาพรวม 2) ปัญหาของแผนยุทธศาสตร์ พบปัญหาความต้องการแรงงานเป็นผลมาจากการกำหนดนโยบายและแผนยุทธศาสตร์การป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ที่รัฐบาลต้องกำหนดเพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นปัญหาการค้ามนุษย์เพื่อนำมาเป็นแรงงานประมงจังหวัดสมุทรสาคร 3) จากภาพรวมประสิทธิผลของการป้องกันปราบปรามการค้ามนุษย์ด้านแรงงานประมงชาวพม่าในจังหวัดสมุทรสาคร ได้แก่ การวางแผนและกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกับนโยบาย การบูรณาการความร่วมมือในการควบคุมแรงงานให้ถูกกฎหมาย ปรับปรุงระบบลงทะเบียนแบบ OSS โดยการลดขั้นตอน เพิ่มความสะดวก ความคล่องตัวมากยิ่งขึ้น การลดค่าธรรมเนียม ลดการทุจริตของพนักงานของรัฐ ความสามารถในการพัฒนากิจการประมงและกิจการต่อเนื่อง

References

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2553). นโยบาย ยุทธศาสตร์ และมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ (พ.ศ.2554-2559). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์แห่งชาติ.
เทพศักดิ์ บุญยรัตพันธ์. (2548). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างประสิทธิผลของการนำนโยบายการให้ บริการแก่ประชาชนไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาสำนักงานเขตของกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์พัฒนบริหารศาสตร์ คณะรัฐประศาสน์ศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2539). การวางแผนเชิงกลยุทธ์. คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
ธีรวัฒน์ ไม้สุวรรณกุล. (2547). การคุ้มครองแรงงานในกิจการประมงทะเล: ศึกษาเปรียบเทียบมาตรฐานแรงงานระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ. วิทยานิพนธ์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ปราณิศา วงธรรมรัตน์. (2551). การคุ้มครองสิทธิเบื้องต้นตามกฎหมายของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดหน่วยงานพิทักษ์เด็ก เยาวชน สตรีและการค้ามนุษย์ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มณฑล เงินวัฒนะ. (2555). อาชญากรรมข้ามชาติ: ศึกษากรณีการประเมินผลการบังคับใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551. บทความวิชาการ สถาบันการต่างประเทศเทวะวงศ์วโรปการ กระทรวงการต่างประเทศ.
มาลี สิทธิเกรียง. (2561). ชีวิตระหว่างการเคลื่อนย้ายของลูกเรือประมงไทย. บทความวิชาการ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27