บทบาทคณะสงฆ์ไทยในกระบวนการพัฒนาทางการเมือง: ศึกษาวิเคราะห์ เนื้อหาแถลงการณ์คณะสงฆ์ พ.ศ. 2456-ปัจจุบัน
คำสำคัญ:
บทบาทคณะสงฆ์ไทย, การพัฒนาทางการเมือง, แถลงการณ์คณะสงฆ์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พัฒนาการที่เป็นจุดเชื่อมโยงของรัฐกับพุทธศาสนาต่อกระบวนการพัฒนาการเมืองไทยที่ปรากฏในเนื้อหาแถลงการณ์คณะสงฆ์ 2) บทบาทคณะสงฆ์ที่ปรากฏในเนื้อหาแถลงการณ์ และ 3) ความสอดคล้องบทบาทคณะสงฆ์ทางการเมืองกับพระธรรมวินัย เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาเอกสารชั้นต้น คือ “แถลงการณ์คณะสงฆ์ ปี พ.ศ. 2456 – ปัจจุบัน โดยผู้วิจัยใช้แนวคิดของชัยอนันต์ สมุทรวาณิช ที่อธิบาย “กระบวนการในการใช้อำนาจของชนชั้นปกครองในอดีตที่ผ่านมาของรัฐไทย เป็นการสื่อสารการใช้อำนาจที่ต้องการถ่ายทอดลงสู่ผู้ถูกปกครองที่ผ่านความเชื่อถือศรัทธาที่ประชาชนส่วนใหญ่มอบความไว้วางใจ คือ “คณะสงฆ์” ที่รัฐใช้เป็นฐานอำนาจของผู้ทรงไว้ซึ่งศีลธรรม และผู้มีปัญญา ซึ่งทั้งสองชนชั้นมีความสัมพันธ์ที่เป็นมิตรต่อกัน หรือ การเอื้อเฟื้อในประโยชน์ซึ่งกันและกันที่บทบาทของคณะสงฆ์ไทยกับอำนาจที่ผู้วิจัยตีความว่า “เป็นบทบาทในการให้คำปรึกษา” กับรัฐในเหตุการณ์บ้านเมือง ที่รัฐต้องการคำแนะนำ การให้คำปรึกษา และรัฐเป็นผู้ใช้อำนาจทางการเมือง
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า 1) พัฒนาการความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐกับศาสนาที่ปรากฏในเนื้อหาแถลงการณ์คณะสงฆ์แบ่งได้เป็น 4 ยุค (1) ยุคการก่อกำเนิดรัฐ จนถึง กรุงธนบุรี (2) สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นในรัชกาลที่ 1-4 (3) รัชกาลที่ 5-7 เริ่มปรับเปลี่ยนมาเป็นยุคสมัยใหม่ที่ได้รับอิทธิพลจากชาติ ตะวันตก (4) ยุคต้นหลังจาการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบอบการปกครองประชาธิปไตย รัชกาลที่ 8. 2) บทบาทของคณะสงฆ์ที่ปรากฏในเนื้อหาแถลงการณ์ (1) บทบาทบริหารกิจการพระพุทธศาสนาเป็นการทำหน้าที่ตามบทบาทที่ปรากฏในพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ และ (2 ) บทบาททางการเมือง (อำนาจแฝง) ประกอบด้วย บทบาทในการจรรโลงสถาบันพระมหากษัตริย์ และบทบาทในกระบวนการพัฒนาทางการเมืองที่ไม่สามารถที่จะแยกกิจกรรมในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมที่ควบคู่ในทางการเมืองและ 3) ความสอดคล้องกับพระธรรมวินัยที่สังคมไทยยังต้องการหลาย ๆ สถาบันมาร่วมกันพัฒนาสู่รัฐแห่งประชาธิปไตยที่มีความเป็นธรรมอย่างยั่งยืน
References
ชาตรี อุตสาหรัมย์ (2560). พัฒนาการความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างรัฐกับคณะสงฆ์ไทย. พุทธศาสตรดุษฎีบัญฑิต(พระพุทธศาสนา), มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ชัยอนันต์ สมุหวณิช. (2539). ไตรลักษณ์รัฐกับการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันนโยบายศึกษา.
ติน ปรัชญพฤทธิ์. (2538). ทฤษฎีองค์การ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิช.
ปฐมรัตน์ สุขขียามานนท์. (2561). กองทัพพระสงฆ์เกาหลีกับปัญหาพุทธจริยศาสตร์. วารสาร มจร พุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 2(2), 75-91.
พิพัฒน์ พสุธารชาติ. (2545). รัฐกับศาสนา: บทความว่าด้วยอาณาจักร ศาสนจักร และเสรีภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.
พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตโต). (2557). ธรรมราชา. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส (2557). แนวโน้มบทบาทพระสงฆ์กับการเมืองไทยในสองทศวรรษหน้า. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 1(21), 29-54.
พระมหาวินัย ผลเจริญ. (2543). บทบาททางการเมืองของพระสงฆ์, พุทธศาสตร์ศึกษา,7(3),19.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555). รายงานสำรวจสภาวะทางสังคม วัฒนธรรม และสุขภาพจิต (ความสุข) คนไทย พ.ศ. 2554. ค้นเมื่อ 2 ตุลาคม 2561 จาก http://www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาศาสนา/ภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม/2554/7.%20สรุปผลที่สำคัญ.pdf
สุจิต บุญบงการ. (2542). การพัฒนาทางการเมืองของไทย: ปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหาร สถาบันทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
สมบูรณ์ สุขสำราญ. (2527). พุทธศาสนาพระสงฆ์กับวิถีชีวิตสังคมไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทพิมพ์สวย จำกัด.
หนังสือแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่มที่ 2 (2457). โดยรัฐอาศัยคณะสงฆ์ช่วยกล่อมเกลาจิตใจประชาชนและชี้นำให้เกิดการยอมรับและจงรักภักดีต่อผู้นำรัฐ พระนคร: โรงพิมพ์ศรหงส์.
หนังสือแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่มที่ 20 (2475). คณะปฏิสังขรณ์การพระศาสนา. พระนคร: โรงพิมพ์ศรหงส์.
หนังสือแถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่มที่ 21 (2476). การแบ่งอำนาจออกเป็นสังฆสภาสังฆมนตรี. พระนคร: โรงพิมพ์ศรหงส์.
หนังสือแถลงการณ์คณะสงฆ์ พ.ศ. 2477 พระนคร: โรงพิมพ์ศรหงส์.
เอกวิทย์ มณีธร. (2552). ระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนของไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เอ็ม.ที.เพรส.
Huntington, S. P. & Nelson, J. M. (1976). No Easy Choice: Political Participation in Developing Countries. Cambridge, MA: Harvard University Press.
Mueller. J. E. (1973). The politics of communication: A study in the political sociology of language, socialization and legitimation. London: Oxford University Press.
Schecter, J. (1967). The New Face of Buddha: Buddhism and Political Power in Southeast Asia. New York: Coward-McCann, Inc.
Verba, S. & Nie, N. H. (1972). Participation in America. New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว