แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลสำรองประเภทนักศึกษาวิชาทหาร เพื่อความมั่นคงตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปีพ.ศ. 2561-2580

ผู้แต่ง

  • โยธิน ไพรพนานนท์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุรพล ราชภัณฑารักษ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ปรัชญา ปิยะมโนธรรม มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • วิโรจน์ วิจิตรโท หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์, กำลังพลสำรอง, นักศึกษาวิชาทหาร

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่มีผลต่อระบบการผลิตกำลังพลสำรองประเภทนักศึกษาวิชาทหารในปัจจุบัน และ 2) แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลสำรองประเภทนักศึกษาวิชาทหารเพื่อความมั่นคงตามยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยครั้งนี้ จำนวน 21 คน ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากกองทัพบก ผู้ทรงคุณวุฒิจากกระทรวงกลาโหม และผู้ทรงคุณวุฒิด้านจัดการฝึก โดยใช้เทคนิคเดลฟายเพื่อใช้ในการยืนยันความถูกต้องของแบบสอบถาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ ประกอบด้วย (1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับระบบการผลิตกำลังพลสำรองประเภทนักศึกษาวิชาทหาร (2) แบบสอบถามเกี่ยวกับระบบการผลิตกำลังพลสำรองประเภทนักศึกษาวิชาทหาร และ (3) แบบสอบถามประเมินความเหมาะสมเพื่อหาแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลสำรองประเภทนักศึกษาวิชาทหาร 

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อระบบการผลิตกำลังพลสำรองประเภทนักศึกษาวิชาทหาร ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ นโยบายการฝึกวิชาทหาร การดำเนินการ วิธีดำเนินการฝึก ปัจจัยสนับสนุน และกิจกรรมเสริม 2) แนวทางการพัฒนาขีดความสามารถของกำลังพลสำรองประเภทนักศึกษาวิชาทหาร สรุปได้ ดังนี้ (1) ปรับนโยบายการฝึกวิชาทหาร ให้สอดคล้องกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ และยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี เน้นให้มีความรักชาติ เทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ มีลักษณะผู้นำทางการทหาร มีภาพลักษณ์ที่ดี และเป็นกำลังสำรองที่เข้มแข็งของกองทัพ (2) กำหนดแนวปฏิบัติในการรับสมัครและรายงานตัวให้ชัดเจน ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ในเรื่องของสิทธิของกำลังพลสำรอง (3) ปรับปรุงหลักสูตรการฝึกของทุกชั้นปีให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง (4) จัดสรรงบประมาณในการฝึก เพิ่มอัตราส่วนครูฝึก จัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัยและเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา (5) กิจกรรมเสริมมุ่งเน้นสร้างให้เป็นเยาวชนต้นแบบ เป็นพลเมืองที่ดี พร้อมเป็นกำลังพลสำรองที่มีคุณภาพของกองทัพ

References

กองทัพบก, หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน. (2560). สรุปแผนแม่บทการพัฒนาระบบกำลังสำรองของ ทบ. ปี 2555-2559. กรุงเทพมหานคร.
กฤตภาส โตจำเริญ. (2558). แนวทางการฝึกนักศึกษาวิชาทหารเพื่อพัฒนาคุณภาพกำลังพลสำรองของกองทัพ. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล, วิทยาลัยการทัพบก. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
คเชนทร์ อาจคุ้มวงษ์. (2555). การพัฒนาระบบการฝึกวิชาทหารของนักศึกษาวิชาทหาร. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล, วิทยาลัยการทัพบก.
ณฐพนธ์ ศรีสวัสดิ์ และคณะ. (2560). คู่มือยุทธศาสตร์กองทัพบก. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์, กรมยุทธศึกษาทหารบก.
ณัฐพงศ์ บัวทอง. (2558). การพัฒนาระบบควบคุมการฝึกของศูนย์ฝึกทางยุทธวิธีกองทัพบก. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล, วิทยาลัยเสนาธิการทหาร.
ดรัณ ยุทธวงษ์สุข. (2555). การปฏิรูประบบกำลังสำรองของกองทัพบกไทย (รด.). ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
ดลฤดี วาสนานนท์. (2560). ข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการฝึกนักศึกษาวิชาทหารของกองทัพบกไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิมิตร ผ่องจิตร์. (2555). ยุทธศาสตร์. ใน เอกสารประกอบการศึกษาโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. นครนายก.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา. (2551). กองทัพไทยกับภัยคุกคามรูปแบบใหม่ Non-Traditional Threats. กรุงเทพฯ: สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ไพบูลย์ โพธิ์สุวรรณ. (2555). การจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. สถาบันพระปกเกล้า. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพรส.
ภูเบศวร์ ธรรมบุตร. (2552). การประเมินโครงการฝึกนักศึกษาวิชาทหารของหน่วยฝึกนักศึกษาวิชาทหาร จังหวัดทหารบกสกลนคร ค่ายกฤษณ์สีวะรา อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
มนวดี ตั้งตรงหฤทัย และคณะ. (2560). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงของกองทัพไทยกับประเทศมหาอำนาจในทศวรรษหน้า. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ศึกษายุทธศาสตร, สถาบันวิชาการ ป้องกันประเทศ.
ยุทธนาสินธุ์ ศรีนุรัตน์เดชา. (2557). ยุทธศาสตร์ทหาร & ยุทธศาสตร์ปฏิบัติการ military strategy & operational strategy. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, 6(1), 10-31.
วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร. (2561). วิวัฒนาการทางยุทธศาสตร์กับหัวใจสำคัญของยุทธศาสตร์ในศตวรรษที่ 21. วารสาร NDC Security Review, 1, 1-30.
ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. (2561). ราชกิจจานุเบกษา, 135(82 ก), หน้า 1-74.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 (ฉบับย่อ). ค้นเมื่อ 5 มกราคม 2562. จาก https://www.nesdb.go.th/download/document/SAC/NS_SumPlanOct2018.pdf.
สิทธิชัย คัตตะพันธ์. (2558). แนวทางการพัฒนางานการปลูกฝังอุดมการณ์ความรักชาติของนักศึกษาวิชาทหาร ชั้นปีที่ 3 มณฑลทหารบกที่ 13. เอกสารวิจัยส่วนบุคคล, วิทยาลัยเสนาธิการทหาร.
สุภาพร อาศา. (2558). แนวทางการพัฒนาการฝึกนักศึกษาวิชาทหารของศูนย์ฝึกนักศึกษาวิชาทหารมณฑลทหารบกที่ 13. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ความมั่นคงศึกษา), โรงเรียนเสนาธิการทหารบก.
สุรชาติ บำรุงสุข. (2537). ค.ศ. 2000: ยุทธศาสตร์โลกหลังสงครามเย็น. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
Hart, B. H. L. (1967). Strategy. London: Faber.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30