ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกที่พักแบบโฮมสเตย์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย กรณีศึกษาเขตพื้นที่ ตลาดน้ำอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
ปัจจัยทางการตลาด, โฮมสเตย์, นักท่องเที่ยวชาวไทย, ตลาดน้ำอัมพวาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยทางด้านพฤติกรรมในการเลือกที่พักแบบโฮมสเตย์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ณ ตลาดน้ำอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 2) ปัจจัยด้านทางด้านการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกที่พักแบบ
โฮมสเตย์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ณ ตลาดน้ำอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ใช้ระเบียบวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เลือกใช้บริการที่พักแบบโฮมสเตย์ ในเขตพื้นที่ตลาดน้ำอัมพวา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวนทั้งสิ้น 385 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม โดยใช้วิธีการเก็บแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น และใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สถิติเชิง
พรรณนา โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมาน สถิติ T-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยทางด้านพฤติกรรมในการเลือกที่พักแบบโฮมสเตย์ นักท่องเที่ยวชาวไทยส่วนใหญ่ใช้บริการโฮมสเตย์เลือกเดินทางกับกลุ่มเพื่อน โดยมีวัตถุประสงค์ในการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวและพักผ่อน พาหนะที่ใช้ในการ
เดินทางเป็นรถยนต์ส่วนตัว ช่วงระยะเวลาที่เข้าพักโฮมสเตย์ คือ 1คืน2วัน เหตุผลที่เลือกใช้ในการตัดสินใจเลือกที่พักแบบโฮมสเตย์ คือด้านทัศนียภาพโดยรอบบริเวณที่พัก ได้แก่ ความสวยงามของห้องพัก ความเงียบสงบ ความมีชื่อเสียงของโฮมส
เตย์และราคาที่พักบริการต่าง ๆ มีความเหมาะสม 2) ปัจจัยทางด้านการตลาดที่ส่งผลต่อการเลือกที่พักแบบโฮมสเตย์ของนักท่องเที่ยวชาวไทย รวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อแยกเป็นรายด้านมากที่สุดคือ ด้านการสร้างลักษณะทางกายภาพ
รองลงมาคือด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคาและด้านช่องทางการจัดจำหน่ายในระดับที่เท่ากัน ด้านบุคลากร ด้านส่งเสริมการขาย และสุดท้ายด้านกระบวนการ
References
กรวรรณ สังขกร. (2555). ความรู้พื้นฐานและมาตรฐานการจัดการ Homestay. เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรอบรม “การจัดการที่พักแบบโฮมสเตย์ (Homestay)” รุ่นที่ 2 สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 25 มิถุนายน 2555 ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รวีวงค์ ภูริชสุวรรณ. (2553). ปัจจัยทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกพักแรมแบบโฮมสเตย์ จังหวันครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน. มหาบัณฑิต, บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
สาวิณี สงสุข. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเกาพีพีดอน พีพีเล จังหวัดกระบี่. กรุงเทพฯ: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, การจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
Cochran, W. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว