อุปสรรค แนวทางการพัฒนา และการเปรียบเทียบค่านิยมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่ส่งเสริมการบริหารจัดการยุคดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร
คำสำคัญ:
แนวทางการพัฒนา, ค่านิยมเจ้าหน้าที่รัฐ, การบริหารจัดการยุคดิจิทัลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ค่านิยมของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการยุคดิจิทัล (2) แนวทางการพัฒนาค่านิยมของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ส่งเสริมการบริหารจัดการยุคดิจิทัล และ (3) เปรียบเทียบภาพรวมแนวทางการพัฒนาค่านิยมของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ส่งเสริมการบริหารจัดการยุคดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้ เป็นวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถาม ประชากร คือ ประชาชนทั้งหมดที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่ของ 3 เขตของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เขตบางแค เขตบางเขน และเขตสายไหม รวม 569,681 คน กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 1,109 คน ซึ่งได้มาจากการคำนวณโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ การวิธีวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์ในรูปตาราง รวมทั้งใช้รูปแบบการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า (1) ค่านิยมของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารจัดการยุคดิจิทัลที่สำคัญคือ ค่านิยมของการใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบ (2) แนวทางการพัฒนาค่านิยมของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่สำคัญคือ กรุงเทพมหานครควรพัฒนาบุคลากรให้มีค่านิยมที่ซื่อสัตย์สุจริต ตรวจสอบได้ และเป็นผู้ที่น่าเชื่อถือ ขณะเดียวกัน ผู้บริหารระดับสูงควรทำตัวเป็นแบบอย่างที่ดีในเรื่องดังกล่าวด้วย และ (3) กรุงเทพมหานครควรกำหนดแนวทางการพัฒนาค่านิยมของเจ้าหน้าที่ของรัฐเพียงแนวทางเดียวโดยไม่ต้องแยกชายและหญิง เนื่องจากมีความเห็นไม่แตกต่างกัน
References
กรมการปกครอง, กระทรวงมหาดไทย. (2556). รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน รายจังหวัด รายตำบล
และรายอำเภอ ณ เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2555. ค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562, จาก
http://stat.dopa.go.th/xstat/p5510_07.html
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2561). การบริหารจัดการเพื่อนำเทคโนโลยีและเครือข่ายสังคมที่ทันสมัยมาใช้ในการให้บริการประชาชนของกรุงเทพมหานครตามแนวคิดการบริหารจัดการยุคดิจิทัล. วารสาร อัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 13(2): 204-216.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2561). การบริหารจัดการยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2562). ค่านิยมของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ส่งเสริมการให้บริการประชาชนสำหรับการบริหารจัดการยุคดิจิทัลของกรุงเทพมหานคร. วารสาร อัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 14(2):219-237.
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2563). ค่านิยมของเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ส่งเสริมการบริหารจัดการยุคดิจิทัล. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โฟร์เพซ.
สีฟ้า แจ่มวุฒิปรีชา). (2559). การบริหารจัดการเพื่อให้บริการด้านการจัดเก็บขยะของกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดการบริหารจัดการที่ยั่งยืน. วารสารศรีนครินทรวิโรฒวิจัยและพัฒนา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(16): 54-65.
สถาบันพระปกเกล้า. (ม.ป.ป.). กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2562, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=กรุงเทพมหานคร
Creswell, J. W. (2002). Educational Research, Planning, Conducting, and Evaluating Quantitative and Qualitative Research. New Jersey: Merrill Prentice Hall.
Cronbach, L. J. (1990). Essential of Psychological Testing. Fifth Edition. New York: Harper and Row Publishers Inc.
Everitt, B. S. (1992). The Analysis of Contingency Tables. Second Edition. Boca Raton, Florida: Chapman and Hall/CRC.
Stone, H., Sidel, J. L. and Bloomquis, J. (1997). "Quantitative Descriptive Analysis” in Gacula, M. C. Jr. (ed.). (1997). Descriptive Sensory Analysis in Practice. Trumbull, Connecticut: Food & Nutrition Press, Inc.,
Yamane, T. (1967). Elementary Sampling Theory. New Jersey: Prentice-Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว