การประเมินผลการนำนโยบายปฏิรูปการศึกษาไปปฏิบัติ: การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในสถานการณ์โควิด-19

ผู้แต่ง

  • ปรียวาจ บัวพุด สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยรังสิต
  • เฉลิมพร เย็นเยือก สถาบันรัฐประศาสนศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

การปฏิรูปการศึกษา, การจัดการเรียนรู้เชิงรุก, สถานการณ์โควิด-19

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลบริบทการดำเนินงานตามโยบายปฏิรูปการศึกษา:
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก ในสถานการณ์โควิด-19 ของสถานศึกษาในเขตภาคกลาง เพื่อใช้เป็นสารสนเทศสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และผู้สนใจ นำไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดแนวทางพัฒนาการดำเนินงานของสถานศึกษาต่อไป ผู้วิจัยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จากผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารสถานศึกษาในเขตภาคกลาง จำนวน 9 คน

ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริหารสถานศึกษา มีปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้
เชิงรุกในสถานการณ์โควิด-19 ที่สอดคล้องในทิศทางเดียวกัน คือ รูปแบบการจัดกิจกรรมที่ไม่สามารถทำให้ผู้เรียน ผู้สอนได้เกิดปฏิสัมพันธ์อย่างแท้จริง เป็นการทำกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ จึงส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และระหว่างผู้สอน รวมถึงความสามารถในการเข้าถึงอุปกรณ์ที่อาจยังมีข้อจำกัดสำหรับผู้เรียน ส่วนด้านรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นไปตามแนวทางที่ได้กำหนดไว้แต่ทุกกิจกรรมเป็นการดำเนินการทางออนไลน์ ดังนั้น ผู้เรียนและผู้สอนจึงต้องพยายามเรียนรู้การใช้และเข้าถึงเทคโนโลยีเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการศึกษานี้ บุคลากรทางการศึกษาอาจใช้ประกอบเป็นแนวทางในการดำเนินนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในรูปแบบอื่น เพื่อสร้างสรรค์ผู้เรียนให้เติบโตเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติที่มีคุณค่าต่อไป

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2560 – 2579. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

ณัฐฐา วินิจนัยภาค. (2554). นโยบายสาธารณะ แนวทางในการศึกษาแบบสหวิทยาการ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พริษฐ์ วัชรสินธุ. (2564). เทคโนโลยีไม่ได้แทนที่โรงเรียน-ครู แต่มาเป็นกองหนุนในระบบการศึกษา. ค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2565, จาก https://www.eef.or.th/future-of-thai-education-after-covid19/

ภาวิช ทองโรจน์. (2562). ผ่า..นโยบาย 4 รัฐมนตรี. ค้นเมื่อ 13 มีนาคม 2565, จาก https://www.matichon.co.th/education/news_1640612

วิทยากร เชียงกูล. (2559). รายงานสภาวะการศึกษาไทย ปี 2557/2558 จะปฏิรูปการศึกษาไทยให้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 ได้อย่างไร. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดีการพิมพ์.

วีระยุทธ กาญจน์ชูฉัตร. (2564). มองความท้าทายด้านเศรษฐกิจและการศึกษาจาก COVID-19. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2565, จาก https://www.eef.or.th/future-of-thai-education-after-covid19/

ศุภชัย ยาวะประภาษ และปิยากร หวังมหาพร. (2555). นโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2555). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิด การวิเคราะห์ และ กระบวนการ. (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เสมาธรรม.

สฤณี อาชวานันทกุล (2564). สำรวจเทรนด์การศึกษาโลกที่เปลี่ยนไปเพราะ COVID-19. ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2565, จาก https://www.eef.or.th/future-of-thai-education-after-covid19/

สุวิมล มธุรส. (2564). การจัดการศึกษาในระบบออนไลน์ในยุค NEW NORMAL COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 33-42.

เสาวรัจ รัตนคำฟู. (2565). วิกฤติโควิด-19 รัฐต้องเร่งลดช่องว่างดิจิทัล เพื่อความเท่าเทียมในห้องเรียนออนไลน์. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ).

Aieminthra, G. (2020). Effects of COVID-19 Per semester. Retrieved March 19, 2021, from

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/872053

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30