ปัจจัยที่ส่งผลต่อความปรารถนาที่จะจ่ายเพิ่มสำหรับอาหารสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • รพีพร เพ็ญเจริญกิจ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ธาตรี จันทรโคลิกา คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กอบกูล จันทรโคลิกา วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ศุภวัฒน์ สุขะปรเมษฐ วิทยาลัยนวัตกรรมการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ชลลดา สัจจานิตย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • พาสน์ ทีฆทรัพยุ์ คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสแตมฟอร์ด

คำสำคัญ:

ความปรารถนาที่จะจ่ายเพิ่ม, อาหารสุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความปรารถนาที่จะจ่ายเพิ่มสำหรับอาหารสุขภาพ โดยมีกรอบแนวคิดของงานวิจัยประยุกต์จากทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน โดยวิธีการสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือประชาชนที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเป็นแบ่งชั้นภูมิ จำนวน 605 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม ทำการเก็บข้อมูลแบบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์โมเดล
สมการโครงสร้าง

ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อความปรารถนาที่จะจ่ายเพิ่มสำหรับอาหารสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ความพึงพอใจ รองลงมา คือ เจตคติ กลุ่มอ้างอิง และความสามารถในการควบคุม เมื่อพิจารณาการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความความปรารถนาที่จะจ่ายเพิ่มสำหรับอาหารเพื่อสุขภาพ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพแตกต่างกัน มีความรู้ ความใส่ใจสุขภาพ เจตคติ กลุ่มอ้างอิง การรับรู้ในการควบคุม ความพึงพอใจ และความปรารถนาที่จะจ่ายเพิ่ม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

References

ณัฐพพัส ภรพภัสสรณ์. (2561). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพของพนักงานการประปานครหลวงสำนักงานใหญ่ โดยทบทวนปัจจัยที่สนับสนุนการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพ. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564, จาก https://mmm.ru.ac.th/MMM/IS/ml10/6114962011.pdf

ลัดดาวัลย์ โชคถาวร และ ขวัญกมล ดอนขวา. (2560). อิทธิพลของปัจจัยส่วนประสมการตลาดและปัจจัยทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารคลีนของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 5(1), 79-91.

ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช. (2559). เจนเอ็กซ์ เจนวาย เจนแซด คืออะไร. ค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2564, จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/330/เจนวาย-เจนแซด/

Fan, X., Gómez, M. I., & Coles. P. S. (2019). Willingness to Pay, Quality Perception, and Local Foods: The Case of Broccoli. Agricultural and Resource Economics Review, 48 (3), 414–32.

Frash Jr, R. E. (2015). Pay More for McLocal? Examining Motivators for Willingness to Pay for Local Food in a Chain Restaurant Setting. Journal of Hospitality & Management, 24(4), 411-434.

Jin, N., Lee, S. M., Slocum, S. L., & Merkebu, J. (2018). Examining the healthy food consumption in full-service restaurants: quality or non-quality cues?. Journal of Foodservice Business Research, 21(4), 394-419.

Kang, K. H., Stein, L., Heo, C. Y., & Lee, S. (2012). Consumers’ willingness to pay for green initiatives of the hotel industry. International Journal of Hospitality Management, 31, 564-572.

Lee, S-M., & Chin, N. (2013). Relationship among knowledge and healthy food, health concern, and behavioral intention: evidence from the United States and South Korea. Journal of Quality Assurance in Hospitality, 14, 344-363.

Lee, S-M., Jin, N., & Kim, H-S. (2018). The effect of healthy food knowledge on perceived healthy foods’ value, degree of satisfaction, and behavioral intention: the moderating effect of gender. Journal of quality assurance in hospitality & tourism, 19(2), 151-171.

Shin, Y. H., Im, J., Jung, S. E., & Levert, K. (2018). Locally sourced restaurant: consumers willingness to pay. Journal of foodservice business research, 2(1), 68-82.

Sthapit, E. (2017). Exploring tourists’ memorable food experiences: a study of visitors to Santa’s official hometown. An International Journal of Tourism and Hospitality Research, 28(3), 1-20.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30