การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาและ ครู โรงเรียนเอกชน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เพื่อรองรับการจัดการศึกษายุค 4.0

ผู้แต่ง

  • วาสินี จีนดี มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ศจีวรรณ ทรรพวสุ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

บริหารเชิงกลยุทธ์, โรงเรียนเอกชน, การจัดการศึกษายุค 4.0

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครเพื่อรองรับการจัดการศึกษายุค 4.0 และ 2) เสนอแนวทางในการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนเอกชน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานครเพื่อรองรับการจัดการศึกษายุค 4.0 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ในการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน
289 คน ได้แก่ ผู้บริหารและครูที่ปฏิบัติการสอนทุกกลุ่มสาระ ในโรงเรียนเอกชน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น การวิจัยเชิงคุณภาพเครื่องมือคือแบบสัมภาษณ์ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านแนวทางการบริหารเชิงกลยุทธ์ จำนวน 8 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและความต้องการของการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่าโดยภาพรวมทุกด้านมีสภาพปัจจุบันอยู่ในระดับน้อยมีความต้องการอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาค่าดัชนีความต้องการจำเป็นพบว่า ความต้องการจำเป็นลำดับที่ 1 คือ ด้านการประเมินและควบคุมกลยุทธ์ คือ ลำดับที่ 2 ด้านการวางแผนเชิงกลยุทธ์ และ ด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์ ตามลำดับและ
2) แนวทางการพัฒนาทางการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่าในแต่ละด้านมีข้อเสนอที่ควรพัฒนาตามลำดับ ดังนี้ การประเมินควรพัฒนาเครื่องมือในการวัดการดำเนินแผนงาน/กิจกรรม/โครงการอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ได้เครื่องมือที่เหมาะสมและมีมาตรฐาน และมีการประชาสัมพันธ์รายงานผล
การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการให้สาธารณชนทราบเนื่องจากควรมีการแจ้งเพื่อทราบการได้รับการติดตามการนำผลการประเมินมาสรุปวิเคราะห์ปรับปรุงเพื่อบรรลุผลประโยชน์ต่อสถานศึกษา

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

กานต์ เสกขุนทด. (2545). การศึกษาสภาพและปัญหาการจัดทำแผนกลยุทธ์ของผู้บริหารโรงเรียนนำร่องการจัดทำงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการประถมศึกษาแห่งชาติ (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.

จินตนา บุญบงการ และณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2548). การจัดการเชิงกลยุทธ์ Strategic Management. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

เฉลิม มุ่งปั่นกลาง. (2542). ปัญหาการวางแผนการบริหารงานในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาอำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี (การค้นคว้าอิสระการศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธิตินัดดา สิงห์แก้ว.(2562). การพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้วงจร PDCA: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดป่าตึงห้วยยาบ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

นงนุช รักษา. (2555). การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ของโรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ) สังกัดเมืองพัทยาจังหวัดชลบุรี. ชลบุรี: โรงเรียนเมืองพัทยา 5 (บ้านเนินพัทธยาเหนือ).

บุญเลี้ยง ค้ำชู. (2544). การดำเนินงานสร้างแผนกลยุทธ์โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดสุรินทร์ (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, 1 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก, หน้า 49-53.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ. ศ. 2545. (2545, 19 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 119 ตอนที่ 123 ก, หน้า 11-14.

.

วิชัย โถสุวรรณจินดา. (2556). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: โฟร์เพซ.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หยดฟ้า ราชมณี. (2554). การดำเนินการวางแผนกลยุทธ์ของโรงเรียนระดับประถมศึกษาในภาคใต้ (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Wheelen, T. L., Hunger, J. D., Hoffman, A. N. and Bamford, C. E. (2015). Strategic Management and Business Policy. (14th ed.). New York: Pearson Education Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30