ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเครือข่ายกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาด้านเครือข่ายผู้ปกครอง โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1
คำสำคัญ:
การบริหารเครือข่าย, ประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา, ด้านเครือข่ายผู้ปกครองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารเครือข่ายผู้ปกครอง โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 2) ระดับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาด้านเครือข่ายผู้ปกครอง โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเครือข่ายกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา ด้านเครือข่ายผู้ปกครอง โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 416 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารเครือข่ายผู้ปกครอง โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุก ๆด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านสมรรถนะทางการบริหารของเครือข่ายผู้ปกครอง รองลงมาด้านการปฏิบัติตามวัฒนธรรมองค์กรของเครือข่ายผู้ปกครอง ด้านภาวะผู้นำของเครือข่ายผู้ปกครอง และด้านนโยบาย กลยุทธ์ ยุทธวิธีของเครือข่ายผู้ปกครอง ตามลำดับ ส่วนลำดับสุดท้ายคือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของเครือข่ายผู้ปกครอง 2) ระดับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาด้านเครือข่ายผู้ปกครอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกๆด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้ปกครองกับสถานศึกษา รองลงมา ด้านกระบวนการปฏิบัติงานที่ชัดเจนของเครือข่ายผู้ปกครอง การมีส่วนร่วมของเครือข่ายผู้ปกครอง บทบาทของเครือข่ายผู้ปกครองในการจัดการศึกษาในสถานศึกษา และด้านการร่วมมือของเครือข่ายผู้ปกครอง ตามลำดับ ส่วนลำดับสุดท้าย คือ ความรู้ด้านการเข้าไปมีบทบาทในสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเครือข่ายกับประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาด้านเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 มีความสัมพันธ์กันในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กมลลักษณ์ ยินดียม. (2556). ประสิทธิผลการบริหารองค์การตามหลักการบริหารจัดการที่ดี: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลในพื้นที่บริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 4(1), 106-118.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องให้ใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
จีรวิทย์ มั่นคงวัฒนะ. (2558). การบริหารสถานศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: ครีเอทีฟคอมมอนส์.
ปรีชา ศรีสง่า. (2560). การพัฒนาการจัดการเครือข่ายผู้ปกครองโรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ เขตมีนบุรีกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 64-80.
พลเดช ปิ่นประทีป. (2559). การสร้างและบริหารเครือข่ายในยุคปัจจุบัน. ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564, จากhttps://www.csdi.or.th/2016/08/การสร้างและบริหารเครือ/
ภัทร์อิงคกานต์ บุญยพรหม. (2560). การมีส่วนร่วมของคณะกรรมการเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียนในการจัดการศึกษาของโรงเรียนวัดเทพลีลา (สิงหประสิทธิวิทยา) สำนักงานเขตบางกะปิ สังกัดกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ยุทธศักดิ์ ไชยสีหา และวัลลภา อารีรัตน์. (2556). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียน สังกัดเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 7(1), 140-150.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2547). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา.
สุพร วรรณกลาง. (2556). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเรียนการสอนของเครือข่ายผู้ปกครอง โรงเรียนอนุบาลด่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ. ค้นเมื่อ 14 กันยายน 2564 จาก http://www.thongsook.ac.th/main/admin/uploads/FacultyOfGrad/630-file-researchstd11.pdf
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Norwich and Evans. (2007). Cluster: Inter-school collaboration in meeting special educational Needs in ordinary schools. Retrieved April 30, 2020, from http://www.ebscohot.com/ehost/detail?vid=13&hid=3b84db3b-45f9
Starkey, P.(1997).Networking for Development. London: International Forum for Rural Transport and Development.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว