ความคาดหวัง และความพึงพอใจ ต่อมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ ของผู้รับบริการธนาคารออมสิน สำนักพหลโยธิน
คำสำคัญ:
ความคาดหวัง, ความพึงพอใจ, ธนาคารออมสินบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ พฤติกรรมการใช้บริการ ความคาดหวังก่อนเข้าร่วมมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ ความพึงพอใจหลังเข้าร่วมมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ และแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการของลูกหนี้ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังต่อมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กับพฤติกรรมการเปิดรับสื่อ 3) ความแตกต่างระหว่างความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจต่อมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้กับแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการของผู้รับบริการ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ
ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 300 คน ได้แก่ ผู้รับบริการมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ของธนาคารออมสิน สำนักพหลโยธิน ใช้สูตรของ Taro Yamane เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามแบบปลายปิด สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และ t -test
ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการเปิดรับสื่อ อยู่ในระดับเปิดรับสื่อมาก พฤติกรรมการใช้บริการ ส่วนใหญ่ใช้บริการสินเชื่อเคหะ ใช้บริการเป็นระยะเวลา 2-5 ปี และเข้าร่วมมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้เพื่อกู้เงินเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน ความคาดหวังต่อมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อยู่ในระดับมาก แนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการอยู่ในระดับมาก
2) ความคาดหวังต่อมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเปิดรับสื่ออย่างมีนัยสำคัญ 3) ความคาดหวังต่อมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้ มีความแตกต่างกับความพึงพอใจต่อมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้อย่างมีนัยสำคัญ 4) ความพึงพอใจต่อมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้
มีความสัมพันธ์กับแนวโน้มพฤติกรรมการใช้บริการของผู้รับบริการอย่างมีนัยสำคัญ
References
ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2556). หลักการจัดการองค์การและการจัดการสมัยใหม่. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ช่อผกา เหลืองช่างทอง. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังคุณภาพการบริการกับการขอรับการบริการรูปแบบใหม่ในผลิตภัณฑ์ของการประปาส่วนภูมิภาค. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(2), 1610-1626.
ธนาคารออมสิน. (2564). รายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประจำปี 2563. ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2564, จาก https://www.gsb.or.th/media/2021/07/GSB-page-final.pdf
ณัฐพล ใยไพโรจน์. (2559). Digital marketing concept & case study. นนทบุรี: ไอดีซี.
นฐมน ก้องธนานนท์ และคมจักร กำธารพสินี. (2560). ทำการตลาดออนไลน์ แบบแบรนด์ใหญ่ที่ไม่เคยมีใครบอกคุณ. กรุงเทพฯ: ไอแอมเดอะเบสท์.
วิรุฬ พรรณเทวี. (2542). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของหน่วยงานกระทรวงมหาดไทยในอำเภอเมืองจังหวัดแม่ฮ่องสอน (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศูนย์วิจัยธนาคารออมสิน.(2563). ภาวะหนี้สินของครัวเรือนฐานรากในประเทศไทย. ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2564, จาก https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2020/10/ GR_report_ debt0963_internet_detail.pdf
สันติ ชัยศรีสวัสดิ์สุข. (2564). หาจุดสมดุลเพื่อการแก้ไขหนี้ครัวเรือน. ค้นเมื่อ 22 ธันวาคม 2564, จากhttps://www.posttoday.com/finance-stock/columnist/665868
สลีลา นวลฤทัย. (2563). พฤติกรรมของผู้บริโภคในการเลือกช่องทางการรับรู้ข้อมูลผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการเลือกช่องทางการซื้อผลิตภัณฑ์ทางการเงิน ในเขตกรุงเทพมหานคร (การค้นคว้าแบบอิสระนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
สายทิพย์ วชิรพงศ์. (2556). การเปิดรับ การรับรู้ และทัศนคติที่มีต่อภาพยนตร์จากข้อมูลข่าวสารที่ปรากฏในทวิตเตอร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อเนก สุวรรณบัณฑิต และภาสกร อดุลพัฒนกิจ. (2554). จิตวิทยาการบริการ = Service Psychology.กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.
Assael, H. (2004). Consumer behavior: A strategic approach. (8th ed.). New York: Houghton Mifflin.
Galloway, T. J. and Meek, F. L. (1981). Audience Uses and Gratifications: An Expectancy Model. Communication Research, 8(4), 435-449.
Kotler, P. (1999). Marketing Management: Analysis, Planning, Implementation and Control.
(9th Ed.). Prentice Hall College Inc.
Kotler. (2003). Marketing Management. (11th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall.
Kotler, P., & Keller, K. (2009). Marketing management. Upper Saddle River, NJ: Pearson Prentice Hall.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว