แนวทางการเพิ่มศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว โอทอปนวัตวิถี บ้านทุ่งยั้ง จังหวัดอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • ดารณี ดวงพรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี
  • ชลิดา ศรีสุนทร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี
  • อรรณพ ต.ศรีวงษ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี
  • วสุธา อุยพิตัง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ศูนย์การศึกษาจังหวัดอุดรธานี

คำสำคัญ:

ศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว, แนวทางในการเพิ่มศักยภาพชุมชนบ้านทุ่งยั้ง, ชุมชนท่องเที่ยว, โอทอป นวัตวิถี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ศักยภาพและเสนอแนวทางในการเพิ่มศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว โอทอป นวัตวิถี บ้านทุ่งยั้ง จังหวัดอุดรธานี 2) การพัฒนาของชุมชนท่องเที่ยวบ้านทุ่งยั้ง จังหวัดอุดรธานี
โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ มีการเก็บรวบรวมข้อมูล การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 16 คน โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ ตัวแทนคนกลุ่มอาชีพ ตัวแทนจากภาครัฐ ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยว และประชาชนผู้อยู่ในแหล่งท่องเที่ยว เครื่องมือ ได้แก่
แบบประเมินศักยภาพการท่องเที่ยว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
การสังเคราะห์ข้อมูลเนื้อหาหรือสาระที่มีความเกี่ยวข้องกัน และจัดหมวดหมู่อยู่ในกลุ่มเดียวกันแล้วนำเสนอในรูปความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว โอทอปนวัตวิถี บ้านทุ่งยั้ง จังหวัดอุดรธานี อยู่ในระดับมาก โดยกลุ่มอาชีพที่มีศักยภาพมากที่สุด คือ กลุ่มเรียนรู้อาหารแปรรูป รองลงมา คือ กลุ่มฟ้อนรำ และกลุ่มจักสาน ตามลำดับ โดยแนวทางการเพิ่มศักยภาพชุมชนท่องเที่ยว โอทอป นวัตวิถี บ้านทุ่งยั้ง จังหวัดอุดรธานี พบว่า มีศักยภาพด้านทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทธรรมชาติ ทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทศิลปวัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญาพื้นบ้าน วิถีชีวิตและการประกอบอาชีพ จุดดึงดูดการท่องเที่ยวในชุมชนมีความโดดเด่นมีจุดขายที่ชัดเจน สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าในชุมชนได้  2) แนวทางของชุมชนท่องเที่ยว โอทอป นวัตวิถี บ้านทุ่งยั้ง มีความพร้อมในการเป็นสถานที่แหล่งท่องเที่ยวเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจากการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการในการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่สามารถสร้างความโดดเด่นดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้ามาในชุมชนได้ ซึ่งมีแนวทางของชุมชนท่องเที่ยว โอทอปนวัตวิถี บ้านทุ่งยั้ง โดยการสร้างจุดขายที่ชัดเจนจากการสืบค้นข้อมูลของชุมชนท่องเที่ยว มีข้อมูลจุดดึงดูดการท่องเที่ยวในชุมชน ปรากฏในหลายเว็บไซด์หรือหลายแหล่งข้อมูลซึ่งจะต้องมีการกล่าวถึงเป็นจำนวนมาก และการแสดงข้อมูลถึงการเป็นเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว ที่มีเส้นทางการประชาสัมพันธ์ ปฏิทินการท่องเที่ยว ของภาคีเครือข่ายด้านการท่องเที่ยว รวมถึงจะต้องมีแนวทางการจัดแพ็คเก็จทัวร์ที่ปรากฏกิจกรรมการท่องเที่ยวในชุมชนของบริษัททัวร์ต่าง ๆ ที่ดึงดูดการท่องเที่ยวที่ชัดเจน

References

กฤษฎา โชติช่วง. (2555). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). เกณฑ์การประกวดชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. กรุงเทพฯ: สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน.

ชาติชาย มณีกาญจน์. (2538). ศักยภาพขององค์กรชุมชน ในการจัดการกองทุนหมุนเวียน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชูสิทธิ์ ชูชาติ และคณะ. (2544). โครงการรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในเขตลุ่มแม่น้ำวาง (รายงานฉบับสมบูรณ์). สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ณัฏฐพัชร มณีโรจน์. (2560). การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 13(2), 25-46.

นําชัย ทนุผล. (2542). แนวคิดและวิธีการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พจนา สวนศรี. (2546). คู่มือการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism Handbook). กรุงเทพฯ: โครงการท่องเที่ยวเพื่อชีวิตและธรรมชาติ.

มินตรา ติรณปริญญ์. (2551). การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ในบริเวณเทศบาลตำบลอัมพวาและพื้นที่ใกล้เคียง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณวิมล ภู่นาค. (2558). ศักยภาพชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน: กรณีศึกษาตลาดน้ำอัมพวา.วารสารวิทยบริการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร, 26(1), 63-74.

วีระพล ทองมา. (2561). การท่องเที่ยวโดยชุมชน (Community Based Tourism : CBT) สำหรับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนในเขตที่ดินป่าไม้. ค้นเมื่อ 28 ธันวาคม 2564, จาก www.dnp.go.th/fca16/ file/i49xy4ghqzsh3j1.doc

สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว. (2550). คู่มือเครือข่ายการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว.

อัจฉรา ศรีลาชัย. (2559). แนวทางการจัดการรูปแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1), 218-229.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30