มุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานที่รับผิดชอบในการบริหารท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี

ผู้แต่ง

  • พรรษชล อุทานวรพจน์ หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการบิน สถาบันการบินพลเรือน
  • วราภรณ์ เต็มแก้ว หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการบิน สถาบันการบินพลเรือน
  • ปรัชญา จันทร์ลำภู หลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการบิน สถาบันการบินพลเรือน

คำสำคัญ:

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย, การบริหารท่าอากาศยาน, เจ้าของท่าอากาศยาน

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานที่รับผิดชอบในการบริหารท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี รูปแบบการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบความเป็นเจ้าของและการบริหารงานท่าอากาศยาน เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ พื้นที่จังหวัดอุดรธานีและท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีซึ่งคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงหน่วยงาน ที่รับผิดชอบในการบริหารท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี จำนวน 12 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ได้แก่ กลุ่มผู้ใช้ท่าอากาศยาน ประกอบด้วย ตัวแทนฝ่ายบริหารของสายการบิน ที่ให้บริการภายในท่าอากาศยาน ผู้โดยสารที่ใช้บริการท่าอากาศยานและผู้ประกอบการ/ผู้เช่าภายใน ท่าอากาศยาน 2) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรอง ได้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย เลขานุการนายกเทศมนตรีนครอุดรธานี และกลุ่มองค์กรเอกชนภายในจังหวัด ประกอบด้วย ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี โดยใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจงตามแนวคิดผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ในเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนการลดทอนข้อมูล การแสดงข้อมูล และการสร้างข้อสรุปและยืนยันผลสรุป ผลการวิจัยพบว่า ท่าอากาศยานถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสาธารณะด้านการคมนาคมของประเทศ จึงมีความเหมาะสมทางกายภาพที่เป็นเจ้าของ
โดยหน่วยงานภาครัฐ ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีเป็นเจ้าของและบริหารงานโดยกรมท่าอากาศยาน สังกัดกระทรวงคมนาคม ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐรูปแบบราชการ พบเจอปัญหาเรื่องการบริหารจัดการและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในท่าอากาศยานมีความล่าช้า ไม่ทันต่อเหตุการณ์ ขาดความต่อเนื่อง ขาดแคลนบุคลากร ที่มีความรู้ความสามารถ อีกทั้งงบประมาณในการลงทุนและการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ภายใน
ท่าอากาศยานยังมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ใช้บริการ สำหรับแนวคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงหน่วยงานบริหารท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานีของกระทรวงคมนาคมนั้น เป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการบริหารท่าอากาศยานจากเดิมที่บริหารงานโดยหน่วยงานภาครัฐรูปแบบราชการเป็นหน่วยงานภาครัฐรูปแบบรัฐวิสาหกิจ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้หน่วยงานอื่นที่มีความคล่องตัว มีความสามารถและความพร้อมเข้ามาพัฒนา แก้ปัญหาภายในท่าอากาศยาน ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีคาดหวัง คือ ความสามารถในการบริหารจัดการท่าอากาศยานให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลการศึกษาที่ได้จากงานวิจัย หน่วยงานที่บริหารท่าอากาศยานอื่น ๆ สามารถนำข้อมูลที่ได้ไปประยุกต์เป็นต้นแบบในการวิเคราะห์เพื่อเป็นกรณีศึกษาถึงความสำคัญและ
ความเหมาะสมเกี่ยวกับรูปแบบความเป็นเจ้าของและการบริหารงานท่าอากาศยานอื่น ๆ ในประเทศไทย

References

กนกกานต์ เทวาพิทักษ์. (2561). การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. วารสารบริหารศาสตร์, 7(13), 88-108.

กรมท่าอากาศยาน (2562). รายงานผลการทบทวนบทบาทภารกิจของกรมท่าอากาศยาน. ค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2565, จาก https://www.airports.go.th/post/view/1014

กรมท่าอากาศยาน. (2562). สรุปข่าวประจำวันโครงการกรมท่าอากาศยาน. ค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2565, จาก https://www.airports.go.th/backend/uploads/files/27c60e7f7db36002b3f85fa1a80ca85f.pdf

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค. (ม.ป.ป.). แผนแม่บทด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ประจำปี 2564-2568. ค้นเมื่อ 5 กันยายน 2565, จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/ CABINFOCENTER3/DRAWER097/GENERAL/DATA0002/00002140.PDF

นิศา ชูโต. (2548) การวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: พริ้นต์โพร.

บุณวัทน์ ศรีขวัญ. (2562). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการท่าอากาศยานเมืองรองในภูมิภาคอย่างยั่งยืน สำหรับพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พนมรัตน์ จันทรานนท์. (2559). การประเมินศักยภาพท่าอากาศยานนานาชาติอุดรรธานีสู่ศูนย์กลางด้านการขนส่งผู้โดยสาร เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ.

ศูนย์พัฒนาธุรกิจเพื่อความยั่งยืน. (ม.ป.ป.). การมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียและการวิเคราะห์ประเด็นสำคัญ. ค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2565, จาก https://www.setsustainability.com/page/stakeholder-engagement

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (ม.ป.ป.). การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย. ค้นเมื่อ 3 กันยายน 2565, จาก https://www.opdc.go.th/file/reader/dnx8NTQzMXx8ZmlsZV91cGxvYWQ

Airport Council International. (2018). Airport ownership through the lens of ACI World. Retrieved July 23, 2022, from https://hermes.aero/wp- content/uploads /2018/10/R18-PP_05-Airport-Council-International-ACI.pdf

Aligica, P.D. (2006). Institutional and stakeholder mapping: Frameworks for policy analysis and institutional change. Public Organization Review, 6(1), 79-90.

Augustyniak, W. (2009). Impact of Privatization on Airport Performance: Analysis of Polish and British airports. Journal of International Studies. 2009. 59-65.

Reece, D., & Robinson., T. (2018). IATA Guidance Booklet: Airport Ownership and Regulation. Retrieved July 26, 2022, from https://www.iata.org/contentassets/4eae6e82b0eb6413bd8d88 /airport-ownership-regulation-booklet.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-03