การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมืองบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • ภาวัช รุจาฉันท์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วม, การจัดทำแผนพัฒนา, เทศบาลเมืองบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมือง
บางกรวย 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมืองบางกรวย และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการมีส่วนร่วมกับระดับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมืองบางกรวย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ประชาชนของเทศบาลเมืองบางกรวยจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 ราย ในพื้นที่เทศบาลเมืองบางกรวย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยมีดังนี้:

1) ระดับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมืองบางกรวย มีค่าเฉลี่ยระดับมาก
เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมากไปน้อย ดังนี้ (1) ด้านความรู้ความเข้าใจ (2) ด้านผู้นำชุมชน
(3) ด้านทัศนคติ (4) ด้านการจูงใจ

2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมืองบางกรวย จำแนกตามปัจจัย
ส่วนบุคคล ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกันจะมีระดับการมี
ส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมืองบางกรวย แตกต่างกัน

3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยในการมีส่วนร่วมกับระดับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมืองบางกรวย ปัจจัยในการมีส่วนร่วมประกอบด้วย ด้านผู้นำชุมชน ด้านความรู้ความเข้าใจ ด้านการจูงใจ ด้านทัศนคติ มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาลเมืองบางกรวย เท่ากับ .545**, .524**, .572**, .565** ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.01 มีความสัมพันธ์ระดับปานกลาง ตามลำดับ

References

กรมการปกครอง. (2547). คู่มือประชาชนสำหรับตรวจสอบการทางานขององค์การบริหารส่วนตําบล (อบต.). กรุงเทพฯ: กรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย.

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2548). คู่มือการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (แผนยุทธศาสตร์ การพัฒนาแผนพัฒนาสามปีและแผนดำเนินงาน). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.

กิ่งแก้ว สุวรรณคีรี นพพร จันทรนำชู และนรินทร์ สังข์รักษา. (2559). รูปแบบการสร้างเสริมพลังอำนาจชุมชนเพื่อการจัดทำแผนชุมชน. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 9(2), 1787-1801.

เทศบาลเมืองบางกรวย. (2564). รายงานผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการเพื่อประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผลการปฏิบัติราชการมิติด้านคุณภาพการให้บริการเทศบาลเมืองบางกรวย จังหวัดนนทบรี. นนทบุรี: เทศบาลเมืองบางกรวย.

ปิยะมาศ สินธุพาชี. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลท่าไร อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารมงกุฎทักษิณ, 1(1). 20-38.

อนุพนธ์ ฐิติวร.(2552). ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องและปัญหาในกระบวนการจัดทำแผนชุมชนของเทศบาลเมืองจันทบุรี (รายงานการศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Christmann, A., & Van Aelst, S. (2006). Robust estimation of Cronbach’s alpha. Journal of Multivariate Analysis, 97(7), 1660–1674

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation's place in rural development: Seeking clarity through specificity. World development, 8(3), 213-235.

García, I. (2021). Leadership training as an alternative to neoliberalism: A model for community development. Community Development, 52(4), 440-458.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of Criterion referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Yamane, T. (1973). Statistics an Introduction Analysis. New York: Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-07-03