การนำนโยบายด้านการกระจายอำนาจการบริหารจัดการสาธารณะของ เทศบาลไปปฏิบัติ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
การนำนโยบาย, การกระจายอำนาจ, การจัดบริการสาธารณะบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับผลสำเร็จในการนำนโยบายด้านการกระจายอำนาจการบริหารจัดการสาธารณะของเทศบาลไปปฏิบัติ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา และ 2) ปัจจัยการนำนโยบาย ด้านการกระจายอำนาจการบริหารจัดการสาธารณะของเทศบาลไปปฏิบัติ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของเทศบาล เมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 206 ตัวอย่าง ใช้สูตร
การคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสำเร็จของการนำนโยบาย ด้านการกระจายอำนาจการบริหารจัดการสาธารณะของเทศบาลไปปฏิบัติ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา มีผลสำเร็จของการนำนโยบายด้านการกระจายอำนาจการบริหารจัดการสาธารณะของเทศบาลไปปฏิบัติ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา
ด้านการวางแผน การส่งเสริมการลงทุนพาณิชยกรรม และการท่องเที่ยว ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น 2) ระดับปัจจัยการนำนโยบายด้านการกระจายอำนาจการบริหารจัดการสาธารณะของเทศบาลไปปฏิบัติ เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า เทศบาลเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา มีปัจจัยขององค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับมาก
เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ด้านโครงสร้าง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านสถานที่ ตามลำดับ
References
ชวลิต สละ. (2556). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารงานงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ:จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จตุพร พิริยวิรุตม์. (2555). การนำนโยบายการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีไปปฏิบัติของเทศบาลตำบลในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จุมพล หนิมพานิช. (2549). การวิเคราะห์นโยบาย: ขอบข่าย แนวคิด ทฤษฎี และกรณีตัวอย่าง. พิมพ์ครั้งที่ 3. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทรงกลด สุขะตุงคะ. (2551). การนำนโยบายการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปปฏิบัติของเทศบาลตำบลบางละมุง (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และกอบกุล รายะนาคร. (2552). การขับเคลื่อนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการจัดการบริการสาธารณะที่ดี. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
ปวีณ์พร ทวีนุช. (2553). การนำนโยบายการกระจายอำนาจการคลังสู่ท้องถิ่นไปปฏิบัติ: ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม (ภาคนิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
ปรมินทร์ กองพล. (2547). การกระจายอำนาจทางการคลังสู่ท้องถิ่น: ศึกษากรณีองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง และองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุขสำราญ อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรเดช จันทรศร. (2548). การนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สหายบล็อก.
ศิริพร เขียวไสว. (2550). การนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลวังยาง จังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ยงยุทธ ทิพยวัฒน์. (2551). สภาพปัจจุบัน ปัญหาและความสำเร็จในการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่นของฝ่ายบริหาร: กรณีศึกษาเทศบาลตำบล อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
โยษิตา นิมิตโภคำนันท์. (2555). การนำนโยบายการกระจายอำนาจทาง การจัดบริการสาธารณะไปปฏิบัติในเขตเทศบาลตำบล อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รณชัย หมื่นวงศ์. (2550). การประเมินนโยบายการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรณีศึกษาเทศบาลนครพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร.
สมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์ และเผ่าพันธุ์ ชอบน้ำตาล. (2552). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพฯ: เจริญรัฐ.
สุทธิรักษ์ ประจงกูล. (2552). การดำเนินงานตามแผนการกระจายอำนาจการปกครอง ส่วนท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลจังหวัดกาฬสินธุ์ (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row.
Wit, D. (1967). A Comparative Survey of Local govt and Administration. Bangkok: Kurusapha Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว