ประสิทธิผลการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019

ผู้แต่ง

  • อมร นันทาภิรมย์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • ชาญเดช เจริญวิริยะกุล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สโรชินี ศิริวัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลการเรียนออนไลน์, นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา, สถานการณ์การแพร่ระบาดของ ไวรัสโคโรนา 2019

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษากับประสิทธิผลการเรียนออนไลน์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ          สวนสุนันทา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 273 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนออนไลน์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ การเช็คชื่อเข้าเรียนด้วยวิธี Login สะดวกดี ความเครียดในการเรียนออนไลน์ การจัดการเรียนรู้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียนได้ และหลักสูตรการเรียนการสอนสอดคล้องกับระยะเวลาที่เรียน ตามลำดับ และ 2) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่มีเพศ อายุ และคณะ/วิทยาลัยแตกต่างกัน  มีประสิทธิผลการเรียนออนไลน์ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ไม่แตกต่างกัน ส่วนระดับการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และสถาบันการศึกษาอื่น ๆ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการกำหนดแผนการจัดการเรียนสอนให้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียน และสร้างแรงจูงใจให้แก่ผู้เรียนเพิ่มขึ้น

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). มาตรการและเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19). สืบค้นเมื่อ กันยายน, 20, 2564 จากhttps://www.ops.go.th/main/index.php/news-service/announcement/3571-covid-24

ณัฐปคัลภ์ แซ่เอี้ย. (2563). พฤติกรรมการตั้งใจเรียนออนไลน์ในสถานการณ์โควิด-19 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ (รายงานการวิจัย). มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

ณิชกานต์ แก้วจันทร์ และธนินท์รัฐ รัตนพงศ์ภิญโญ. (2564). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนและความคาดหวังประสิทธิผลการศึกษาในระบบการเรียนการสอนออนไลน์ ในทรรศนะของนักศึกษาคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณิชกานต์ ทรงไทย, วราภรณ์ ยศทวี และปฐพร แสงเขียว. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาพยาบาล: ภาคเหนือตอนล่าง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 13(1), 198-209.

นิตยา มณีวงศ์. (2564). ศึกษาพฤติกรรมและปัจจัยความสำเร็จการเรียนออนไลน์แอปพลิเคชันไลน์ในช่วงวิกฤต COVID 19. ครุศาสตร์สาร, 15(1), 161-173.

มาลีวัล เลิศสาครศิริ, จุรีย์ นฤมิตเลิศ และกิติยา สมุทรประดิษฐ์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการเรียนผ่านระบบออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยเซนต์หลุยส์ จากสถานการณ์โควิด-19. วารสารสุขภาพกับการจัดการสุขภาพ,7(1), 13-27.

Abdelhai, R., Yassin, S., Ahmad, M. F., and Fors, U. G. (2012). An e-learning reproductive health module to support improved student learning and interaction: a prospective interventional study at a medical school in Egypt. BMC Medical Education, 12(11), 1 - 9.

Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (1991). Education Administration: Theory Research Practice (4th ed.). New York: McGraw - Hill.

Office of the Higher Education Policy, National Science, Research and Innovation Council. (2020). Recovery Forum: School Reopening and Teacher Empowerment to Cope with the Next Normal in Education. Retrieved October 19, 2021, from https://www.nxpo.or.th/en/4856/

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third editio. New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30