บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ยุคโควิด 19
คำสำคัญ:
การบริหารงาน, กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง,, ยุคโควิด 19บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารลานของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง การปฏิบัติงานของพนักงานตรวจแรงงาน นโยบายของภาครัฐ แหล่งเงินของกองทุน และระบบงาน
2. เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานของพนักงานตรวจแรงงาน นโยบายของภาครัฐ แหล่งเงินของกองทุน และระบบงานที่มีอิทธิพลเชิงสาเหตุ ต่อประสิทธิผลการบริหารงานของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง 3. เพื่อได้รูปแบบจำลองประสิทธิผลการบริหารงานของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในการวิจัยเชิงปริมาณใช้การสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิจากลูกจ้างแรงงานภาคเอกชนในเขตกรงเทพมหานครและปริมณฑล ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง กำหนดโดยใช้เกณฑ์ 20 เท่าของตัวแปรสังเกตได้ 20 ตัวแปร ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 15 คนด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลการบริหารงานของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง การปฏิบัติงานของพนักงานตรวจแรงงาน นโยบายของภาครัฐ แหล่งเงินของกองทุน และระบบงานอยู่ในระดับความสำคัญมากที่สุดทั้งหมด 2) ระบบงานมีอิทธิพลรวมต่อประสิทธิผลการบริหารงานของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างมากที่สุด รองลงมาได้แก่ แหล่งเงินของกองทุน นโยบายของภาครัฐ และการปฏิบัติงานของพนักงานตรวจแรงงานตามลำดับ และ 3) ได้รูปแบบจำลองของประสิทธิผลการบริหารงานของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง มีลักษณะเป็นภาพแผนภูมิประกอบด้วย ระบบงานที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด เป็นฐานผลักดันอยู่ล่างสุด มีแหล่งเงินของกองทุน นโยบายของภาครัฐสนับสนุนอยู่ตรงกลาง และมีการปฏิบัติงานของพนักงานตรวจแรงงานช่วยส่งเสริมอยู่ในระดับบนด้วย นอกจากนั้นประสิทธิผลการบริหารงานของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างต้องมีความรวดเร็วในการให้บริการ ความถูกต้องของข้อมูล
ความโปร่งใสตรวจสอบได้ และการควบคุมกำกับดูแล ผลการวิจัยมีประโยชน์ต่อลูกจ้างแรงงานในสถานประกอบการภาคธุรกิจเอกชน จะได้รับการคุ้มครองดูแลด้านสวัสดิการจากภาครัฐ และไม่ถูกเอาเปรียบจากนายจ้าง และส่วนราชการได้นำไปใช้ในการปรับปรุงการบริหารงานของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เป็นการสร้างขวัญกำลังใจที่ดีของลูกจ้างแรงงานในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อสร้างความเจริญยั่งยืน ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจของประเทศสืบไป
References
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2553). กฤษฎีกาการแบ่งส่วนราชการ พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: กองคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน.
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2562). แผนยุทธศาสตร์กองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ประจาปีบัญชี 2563 -2565 และแผนปฏิบัติการ ประจำปีบัญชี 2563. กรุงเทพฯ: กองคุ้มครองแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน.
กระทรวงแรงงาน.(2564). แผนปฏิบัติราชการระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2563 – 2565) ของกรมสวัสดิการ และคุ้มครองแรงงาน (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงแรงงาน.
กลุ่มงานกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง. (2554). รายงานประจำเดือนกรกฎาคม 2564. กรุงเทพฯ: กองคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2560). การวิเคราะห์สถิติชั้นสูงด้วย SPSS for windows. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิติคุณ แสงนิล. (2560). ความน่าเชื่อถือ ความถูกต้อง ความแม่นยา และความเที่ยงตรง สอดคล้องในวิธีการความคลาดเคลื่อนจาการวัด ของการวิจัยทาด้านเสรีวิทยาการออกกาลังกาย. Veridian E-Journal, Science and Technology Silpakorn University, 5(6), 1 -19.
จรัส สุวรรณมาลา. (2559). ผลประโยชน์สาธารณะ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เจตน์สฤษฏิ์ อังศุกาญจนกุล. (2561). การเมืองและการกาหนดนโยบายเศรษฐกิจในการพัฒนาประเทศ. นครปฐม: มหาวิทยาลัยราชภัณฏกาญจนบุรี.
ชนพงษ์ อาภรณ์พิศาล. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลต่อการบริหารจัดการวิสาหกิจ ชุมชนในภาคกลางของประเทศไทย. สืบค้น 15 มีนาคม 2564, จาก https://research-system.siam.edu. Published date Hits: 4037
ชัยเสฏฐ์ พรหมศรี. (2551). คู่มือสู่องค์การแห่งความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560).การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ. นนทบุรี: เอสอาร์ พรินติ้ง.
บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ. (2554). แนวทางการพัฒนาความโปร่งใสของหน่วยงานภาครัฐ. วารสารวิทยาการจัดการ, 28(1), 33- 48.
รังสิต ใยยุง. (2562). ประสิทธิผลการบริหารความโปร่งใสขององค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 8(3), 125 – 138.
วีระโชติ ชุณหรุ่งโรจน์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารจัดการสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในประเทศไทย. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), 1225-1238.
สาคร สุขศรีวงค์. (2551). การจัดการ: จากมุมมองนักบริหาร. กรุงเทพฯ: จี พี ไซเบอร์พรินท์.
สานักคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2555). ธรรมภิบาลในระบบราชการ. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.
สุชาต ประสิทธิ์รัฐสินธุ์, กรรณิการ์ สุขเกษม, โศภิต ผ่อนเสรี และถนอมรัตน์ ประสิทธิ์เมตต์. (2551). แบบจำลองสมการโครงสร้าง. กรุงเทพฯ: สามลดา.
สุภางค์ จันทวานิช. (2561). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อนิวัช แก้วจานง. (2552). หลักการจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Ali, B.O. (2018). Factors influencing the effectiveness of internal audit on organizational performance. International Journal of Advanced Engineering, Management and Science, 4(4), 239-283.
Grace j.b.(2008).Structural Equation Model. For observational studies. Journal of Wild life Management, 72 (1),14-22.
Likert, R. (1932). A technique for measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-55.
Peterson, E. & Plowman, G.E. (1953). Business Organization and Management. Illinois: Irwin.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว