การจัดการกลุ่มอาชีพอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน: ชุมชนบ้าน ป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอแม่ปาน จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
การพัฒนาอย่างยั่งยืน, รูปแบบการพัฒนากลุ่มอาชีพ, ชุมชนบ้านป่าเหมี้ยงบทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นแบบผสมประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพเพื่อศึกษาการจัดการกลุ่มอาชีพอย่างมีส่วนร่วมและการพัฒนารูปแบบการจัดการเพื่อส่งเสริมการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกภายในชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภอแม่ปาน จังหวัดลำปาง จำนวน 103 คน ผลวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นในการบริหารจัดการกลุ่มอาชีพ (POSDCoRB) โดยรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งแต่ละรายด้านพบว่า การจัดสรรบุคคลทำงาน (Staffing) อยู่ในระดับมากที่สุด การจัดสรรงบประมาณ (Budgeting)
การวางแผน (Planning) การบริหารจัดการองค์กร (Organizing) การอำนวยการ (Directing) การประสานงาน (Coordinating) และการรายงานติดตามผล (Reporting) อยู่ในระดับมาก ส่วนการจัดการกลุ่มอาชีพอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน พบว่ามีรูปแบบลักษณะของชุมชมเพื่อชุมชนที่มีการเสริมสร้างรูปแบบการพัฒนากลุ่มอาชีพที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมอย่างเป็นรูปธรรมและใช้กระบวนการเรียนรู้เป็นหลักสำคัญในการถ่ายทอดองค์ความรู้และกระบวนการจัดการที่ก่อให้เกิดความเข้มแข็งภายในชุมชน
References
Office of the National Economic and Social Development Board. (2022). 13th National Economic and Social Development Plan (2023-2027). Bangkok: Office of the Prime Minister.
Office of the National Economic and Social Development Board. (2017). 12th National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Bangkok: Office of the Prime Minister.
Srisa-ard, B. (2002). Introduction to Research (7th Ed). Bangkok: Suweeriyasarn.
Kantum, L. & Upason, A. (2019). The Management of An Occupational Community Group in Tambol Tha Kat Neua Municipality, Amphoe Mae Tha, Lamphun Province. Nakon Lampang Buddhist College’s Journal. Mahachulalongkornrajavidyalaya University, 8(2), 60-74.
Jensomboon, N. (2006). The Farmer’s Need on the Establishment of Community Enterprise in Maena Sub-District, Chiangdaw District, Chiangmai. Master of Business Administration in Business Administration (Master's Special Problem). Mae Joe University, Chiang Mai.
Cronbach, Lee J. (1990). Essentials of psychological testing (5th Ed). New York: Harper Collins.
Gulick, L. & Urwick, L. (1937). Paper on the Science of Administration. Clifton: Augustus M. Kelley.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว