ปรัชญาการศึกษาและพัฒนาการของการบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • นันทิชา เหมือนเงิน มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

ปรัชญาการศึกษา, การบริหารจัดการ, การศึกษาปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) พัฒนาการของการบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย 2) ผลการวิเคราะห์ปรัชญาการบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัยตามที่ปรากฏในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 3) ผลการยืนยันของผู้ทรงคุณวุฒิต่อปรัชญาการบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัยตามที่ปรากฏในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงพรรณนา ประเภทการศึกษาเอกสาร ประกอบการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ รวม 12 คน เป็นการคัดเลือกแบบเจาะจง สัมภาษณ์เรื่องพัฒนาการของการบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัยในประเทศไทย จำนวน 9 คน และการสุ่มตัวอย่างแบบลูกโซ่ สำหรับผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อยืนยันผลการวิจัย จำนวน 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาการตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นการจัดการศึกษาในรูปแบบของการอบรมเลี้ยงดูที่เป็นพื้นฐานของชีวิต ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 6 ปี ซึ่งเป็นวัยที่สำคัญที่สุดในการปูพื้นฐานในการพัฒนาไปเป็นผู้ใหญ่ที่สมบูรณ์ในอนาคตทั้งในด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ตลอดจนการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม ไปในทิศทางที่ถูกต้องเหมาะสม สอดคล้องกับพัฒนาการตามวัย เพื่อการพัฒนาสมองเพื่อให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างมีคุณภาพ

2) เป็นหลักสูตรแกนกลาง ที่มีความยืดหยุ่นที่สถานศึกษาหรือสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยทุกสังกัด มีการจัดองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่มีความสอดคล้องกับอภิปรัชญา ญาณวิทยา และคุณวิทยา และยังมีความสัมพันธ์กับปรัชญาการศึกษาซึ่งประกอบด้วย ปรัชญาสารัตถนิยม ปรัชญานิรันตรนิยม ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม ปรัชญาปฏิรูปนิยม และปรัชญาอัตถิภาวนิยม ตามจุดหมายของหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560

3) ผลการยืนยันของผู้เชี่ยวชาญต่อปรัชญาการบริหารจัดการการศึกษาปฐมวัยตามที่ปรากฏในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 พบว่า มีความสอดคล้องกับหลักปรัชญาการศึกษา

References

กษมา ศรีสุวรรณ. (2560). ปัญหาและแนวโน้มการศึกษาไทยในอนาคต. ค้นเมื่อ 11 ธันวาคม 2564, จาก http://toyphd2013.blogspot. com/2013/06/ blog-post.html

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการกระทรวงศึกษาธิการ.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.

ฉัตรวิไล สุรินทร์ชมพู. (2564). รูปแบบการบริหารหลักสูตรระดับปฐมวัยที่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ในสถานศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนอย่างเป็นองค์รวม. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ทีมวิชาการสมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย. (2560). การจัดการศึกษาปฐมวัย 4.0 ในบริบทของท้องถิ่น. ค้นเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2564, จาก https://www. facebook.com/OECSocial/ posts/325714141179077/

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์. (2562). ปรัชญาการศึกษาทิศทางการจัดการศึกษา. ค้นเมื่อ 16 ธันวาคม 2564, จากhttps://adacstou.wixsite.com/adacstou/single-post/2019/06/07/ปรัชญาการศึกษาทิ-ศทางการจัดการศึกษา

ภาณุวัชร เลิศประเสริฐพันธ์สมบูรณ์, (2561). การบริหารจัดการศึกษาของคณะสงฆ์จีนนิกาย (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ภรณี คุรุรัตนะ และวรนาท รักสกุลไทย. (2550). กระบวนทัศน์ใหม่ของการศึกษาปฐมวัย. ม.ป.ท.: ม.ป.พ.

ภวิศา พงษ์เล็ก. (2560). เอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการและปรัชญาการศึกษา. อุดรธานี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

นวพร รักขันแสง. (2558). ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนศูนย์เด็กปฐมวัยต้นแบบจังหวัดชัยภูมิ (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎี). มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ.

พิทยา บวรวัฒนา. (2556). ระบบราชการ. กรุงเทพฯ: คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพ์พรรณ เทพสุเมธานนท์ และคณะ. (2542). ปรัชญาการศึกษาเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

เยาวพา เตชะคุปต์. (2542). การจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย. กรุงเทพฯ: แม็ค.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วินัยธรจักรี ศรีจารุเมธีญาณ และคณะ. (2559). ปรัชญาการศึกษาของไทยกับสังคมโลกไร้พรมแดน. วิชาการแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(1), 16.

สุนิสา สก๊อต. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารการจัดการศึกษาปฐมวัยแบบองค์รวม สำหรับศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรบริหารส่วนตำบลในเขตพัฒนาอุตสาหกรรมชายฝั่งทะเลตะวันออก (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อรุณี สาธรพิทักษ์. (2560). รูปแบบการบริหารงานการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนเอกชน (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

Chantala, M. A. (2018). Philosophy of Education of Lao People’s Democratic Republic. Journal of Buddhist Studies, 9(1), 30 - 41.

Dejon, W. L. (1978). Principles of Management: Text & Cases. Menlo Park, California: the Benjamin/Cummings Publishing Company, Inc.

Kerlinger, F. N. (1973). Foundation of Behavioral Science Research. (2nd ed.). New York: Holt, Rinehart and Winston.

Lucas, C. J. (1970). What is Philosophy of Education. New York: the McMillan Company.

Massoglia, D. R. (1977). Early Childhood Education in the Home. New York: Delmar.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30