อิทธิพลของภาววะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการความรู้ และพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน ของพนักงานการไฟฟ้าแห่งประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พนธ์ พุทธานุกรณ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • ฑิฆัมพร พันลึกเดช คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

คำสำคัญ:

อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การจัดการความรู้, พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษา 1) อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการความรู้ และพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2)ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ 3) อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการความรู้ และพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และ 4) ยืนยันอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการความรู้ และพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสม การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำนวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติวิเคราะห์คือ ความถี่ ค่าเฉลี่ย
ค่าสัมประสิทธิ์แห่งความแปรผัน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ รองผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จำนวน 8 คน ใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง โดยวิธีสนทนากลุ่ม

ผลการวิจัยพบว่า 1) อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการความรู้ และพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อยู่ในระดับมาก 3) อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการความรู้ และพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีนัยสำคัญทางสถิติ และ 4) อิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การจัดการความรู้ และพฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรม ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีนัยสำคัญทางสถิติ

References

กนกนาฏ เอียดมาก และคณะ. (2561). พฤติกรรมการสร้างสรรค์นวัตกรรมของบุคลากรในมหาวิทยาลัย จังหวัดสงขลา. การประชุมวิชาการระดับชาติวลัยลักษณ์วิจัย ครั้งที่ 10 วันที่ 27-28 มีนาคม 2561.

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2564). รายงานประจำปี 2564. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565, จาก https://www.egat.co.th/home/wp-content/uploads/2022/04/EGAT-Annual-2021_2022-04-25.pdf

เจษฎาพงษ์ รุ่งวาณิชกุล. (2553). ความผูกพันของพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยต่อองค์การที่ใช้ แนวคิดความรับผิดชอบต่อสังคม. ค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2565, จาก https://kukr.lib.ku.ac.th/ kukr_es/index.php?/BKN_BUS/search_detail/result/12364

ชดช้อย วัฒนะ. (2561). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่องการจัดการความรู้ด้วยการถอดบทเรียน. ในการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “พื้นที่ความคิด สร้างสรรค์” ภาคีเครือข่ายการจัดการสุขภาพเพื่อ พัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ เขตสุขภาพที่ 6 ปี 2561. วันที่ 3-4 เมษายน 2561 ณ แซนด์ ดูนส์ เจ้าหลาวบีช รีสอร์ท จันทบุรี.

พิชาภพ พันธุ์แพ. (2554). ผู้นำกับการจัดการการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรนภา ภาคธรรม และ ภิญญาดา รื่นสุข. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ดี เอช แอล ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด จังหวัดพระนครศรี อยุธยา. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 16(2), 229-312.

พรพรรณ บุญคบ. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

มาลินี นกสิริ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ธรรมรักษ์ออโตพาร์จำกัด (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

สุชาดา หวังดี. (2560). การจัดการความรู้ของครูในโรงเรียนกลุ่มศูนย์ภัทรบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.

Anantanathorn, A. (2016). Change Management. Faculty of Political Science and Law, Burapha University.

Avolio, B. J., Bass, B. M., & Jung, D. I. (1999). Re-examining the Components of Transformational and Transactional Leadership using the Multifactor Leadership Questionnaire. Journal of Occupational and Organizational Psychology, 72, 441-462.

Awad, E. M. & Ghaziri, H. M. (2004). Knowledge Management. New Jersey: Pearson Education.

Baets, W. R. J. (2005). Knowledge Management and Management Learning: Extending the 199 Horizons of Knowledge-Based Management. United States of America: Springer Science Business Media.

Burns, J. M. (1978). Leadership. New York: Harper & Row.

Dovey, K. (2009). The role of trust in innovation. The Learning Organization,16(4), 311-325.

Eaton, D., Akbiyikli, R. & Dickinson, M. (2006). An Evaluation of the Stimulants and Impediments to Innovation within PEI/PPP Projects. Construction Innovation, 6(2),63-77.

Hellriegel, D., & Slocum, J. (2004). Organizational Behavior (10th ed.). Englewood Cliff, NJ: Prentice-Hall.

Jung, D. I., Chow, C., & Wu, A. (2003). The Role of Transformational Leadership in enhancing Organizational Innovation: Hypotheses and some Preliminary findings. The Leadership Quarterly, 14, 525-544.

Kleysen, R. F., & Street, C. T. (2001). Towards a Multi-dimensional measure of Individual Innovative Behavior. Journal of Intellectual Capital, 2(3), 284-296.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Kucza, T. (2001). Knowledge Management Process Model. Espoo. Technical Research Centre of Finlan, Valtion teknillinen tutkimuskeskus (VTT). Retrieved January 20, 2022 from http://www.vtt.fi/inf/pdf/publications/2001/P455.pdf

Marquardt, M. J. (1997). Building the Learning Organization: System Approach to Quantum Improvement and Global Success. New York: McGraw-Hill.

Organization for Economic Co-operation and Development: OECD. (2005). Oslo manual: Guidelines for collecting and interpreting innovation data. (3rd ed.).: OECD Publishing.

Peterson, E., & Plowman, E. G. (1989). Business Organization and Management. Homewood, Illinois: Richard D. Irwin.

Pieterse, A. N., Knippenberg, D. V., Schippers, M., & Stam, D. (2010). Transformational and Transactional Leadership and Innovative Behavior: The moderating role of Psychological Empowerment. Journal of Organizational Behavior, 31, 609-623.

Stamm, B. V. (2009). Viewpoint Leadership for Innovation: What You can do to Create a Culture Conducive to Innovation. Strategic Direction, 25(6), 13-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30