โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ และประสิทธิผลองค์การ ของคลินิกทันตกรรมเขตพื้นที่ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, วัฒนธรรมองค์การ, ประสิทธิผลองค์การ, คลินิกทันตกรรมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ และประสิทธิผลองค์การของคลินิกทันตกรรม ตามการรับรู้ของบุคลากรในคลินิกทันตกรรมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล และ 2) ศึกษาเส้นทางอิทธิพลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง วัฒนธรรมองค์การ และประสิทธิผลองค์การของคลินิกทันตกรรมเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล
ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรในคลินิกทันตกรรมเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 384 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามโดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.978 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์เส้นทาง
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคิดเห็นด้านภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และด้านวัฒนธรรมองค์การ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านประสิทธิผลองค์การมึค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และ 2) เส้นทางอิทธิพลของผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางตรงต่อวัฒนธรรมองค์การ และมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลองค์การของคลินิกทันตกรรมเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล วัฒนธรรมองค์การมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลองค์การของคลินิกทันตกรรมเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลทางอ้อมต่อประสิทธิผลองค์การของคลินิกทันตกรรมเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยผ่านวัฒนธรรมองค์การ ดังนั้น ผู้บริหารคลินิกทันตกรรมในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ควรเป็นผู้มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และมีความสามารถในการสร้างวัฒนธรรมองค์การในการบริหารองค์กรเพื่อทำให้ประสิทธิผลองค์การของคลินิกทันตกรรมสูงขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2562). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2566, จาก https://www.dop.go.th/th/know_detail?id=984
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (2564). ข่าวสารกลุ่มสถานพยาบาล. ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2566, จาก https://mrd.hss.moph.go.th/mrd1_hss/
ดาวรัชฎา วงจันดา. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจการใช้บริการคลินิกทันตกรรมเพื่อสุขภาพช่องปากและฟัน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (สารนิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทันตแพทยสภา.(2560). สถิติทันตแพทยสภา. ค้นเมื่อ 15 เมษายน 2566, จาก https://dentalcouncil.or.th/ Pages/Stat
ธนพัชร แก้วปฎิมา และพรรัชต์ ลังคะสูตร. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารของสถานศึกษาสังกัดการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี, 13(1),442-459.
นรมน ปัญจปิยะกุล. (2564). การปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพคลินิกทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์จากการเปลี่ยนแนว ปฏิบัติทางทันตกรรม เพื่อรองรับสถานการณ์ระบาดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019: กรณีศึกษาคลินิกทันตกรรมของคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยของรัฐ 3 แห่ง (วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์.
อารีย์วรรณ อ่วมตานี. (2559). การพัฒนาเครื่องมือในการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Aebthaisong, N. (2015). Perceived transformational leadership, job satisfaction and organizational citizenship behavior: A case study of one hotel in Bangkok (Master’s thesis). Thammasat University.
Asgari, A., Mezginejad, S., & Taherpour, F. (2020). The role of leadership styles in organizational citizenship behavior through the mediation of perceived organizational support and job satisfaction. Innovar Journal, 30(75), 87-98.
Avolio, B. J., Bass, B. M. & Jung, D. I. (1999). Re-examining the components of transformational and transactional leadership using The Multifactor Leadership. Questionnaire. Journal of Occupational and Organizational Psychology, 72(4), 441-62.
Bass, B. M. & Avolio, B. J. (1994). Transformational leadership and organizational culture. International. Journal of Public Administration, 17(3) 112-121.
Bass, B. M. & Riggio, R. E. (2006). Transformational leadership (2nd ed.). US: Lawrence Erlbaum Associates Publishers.
Bass, B. M., et al. (2003). Predicting unit performance by assessing transformational and transactional leadership. Journal of Applied Psychology, 88(2), 207-218.
Bower, M. (1966). The Will to Manage. New York: McGraw-Hill.
Collins, J. C. (2001). Good to Great: Why some Companies Make the Leap and Others. New York: Random House Publisher Business Book.
Esmi, K., Piran, M. & Hayat, A. A. (2017). The mediating effect of organizational culture on the relationship between transformational leadership and organizational citizenship behavior. Journal of Health Management and Informatics, 4(4), 114-119.
Joyce, W., Noria, N. & Roberson, B. (2003). What really works: The 4 + 2 formula for Sustained Business Success. New York: Harper Collins.
Livingston, J. S. (1971). Myth of the well-educated manager. Harvard Business Review, 49(1), 79-96.
Northouse, P. G. (2001). Leadership: Theory and Practice. (2nd Ed). Thousand Oaks, CA: SAGE Publication.
Ocharos, R.(2016).Transformational leadership and organizational culture influencing on organizational citizenship behavior of the personnel of community hospital affiliated with inspection unit region 3. Journal of Nursing, Public Health, and Education, 17(3), 58-68.
Pradhan, R. K., Panda, M. & Jena, L. K. (2017). Transformational leadership and psychological empowerment the mediating effect of organizational culture in Indian retail industry. Journal of Enterprise Information Management, 30(1), 82-95.
Saif, N., Khattak, B. K. & Khan, I. U. (2016). Relationship between transformational leadership and organization citizenship behaviour (OCB) in SME’s section of Pakistan. Gomal University Journal of Research, 32(2), 65-77.
United Nations. (2019). World population prospects 2019: Highlights. Retrieved April 15, 2023, from https://population.un.org/wpp/Publications/Files/WPP2019_ Highlights.pdf
Yukl, G. & Fleet D. (1992). Theory and research on leadership in organizations, in handbook of industrial and organization psychology. California: Consulting Psychologists.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว