ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในยุควิถีชีวิตใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
คำสำคัญ:
ข้อเสนอเชิงนโยบาย, การบริหารจัดการ, คุณภาพการศึกษา, ยุควิถีชีวิตใหม่, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบทคัดย่อ
ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในยุควิถีชีวิตใหม่มีความสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษา เป็นแนวทางพัฒนาระบบการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสังคมในยุคปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า
1. การบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในยุควิถีชีวิตใหม่ ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1) ด้านภาวะผู้นำเชิงอนาคต 2) ด้านการเพิ่มโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการเรียนรู้ 3) ด้านการจัดการศึกษาตามบริบทของพื้นที่ 4) ด้านการรู้ดิจิทัล 5) ด้านการนิเทศการศึกษา และ 6) ด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์
2. สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในยุควิถีชีวิตใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅= 3.22, S.D. = 0.17) สภาพพึงประสงค์ของการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในยุควิถีชีวิตใหม่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅= 4.31, S.D. = 0.22) และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นเรียงลำดับ ดังนี้ ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำเชิงอนาคต (PNI(Modified) = 0.387) ด้านการจัดการศึกษาตามบริบทของพื้นที่ (PNI(Modified) = 0.353) ด้านการเพิ่มโอกาสและลดความเหลื่อมล้ำทางการเรียนรู้ (PNI(Modified) = 0.338) ด้านการรู้ดิจิทัล (PNI(Modified) = 0.323) ด้านการนิเทศการศึกษา (PNI(Modified) = 0.317) และด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ (PNI(Modified) = 0.313)
3. ข้อเสนอเชิงนโยบายการบริหารจัดการคุณภาพการศึกษาในยุควิถีชีวิตใหม่ มีผลการประเมินด้านความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.70, S.D.=0.23) ด้านความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.61, S.D.=0.18) และความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅= 4.63, S.D.=0.16)
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2563). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2563 - 2565. กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
กุลธิดา ทวีวัฒนะกิจบวร. (2564). การจัดการศึกษาในยุควิถีชีวิตใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). การบริหารจัดการศึกษายุคดิจิทัล. พิษณุโลก: รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.
มลฤดี เพ็งสง่า และมัทนาวัง ถนอมศักดิ์. (2566). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล.วารสารวิชาการศึกษาศาสตร์ศรีนครินทรวิโรฒ, 24(2), 162-175.
ศักรินทร์ สมพิศนภา. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สมชาย ใจดี. (2565). ผลกระทบของโควิด-19 ต่อการจัดการศึกษาในประเทศไทย. วารสารการศึกษาไทย, 10(2), 45-60.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2564). รายงานสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาประสิทธิภาพของโรงเรียน. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2563). รายงานการวิเคราะห์นโยบายการศึกษาในยุค New Normal. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
สุกัญญา แช่มช้อย (2564). การออกแบบนโยบายการพลิกโฉมระบบการเรียนรู้ ที่ตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคตในปี 2040. กรุงเทพฯ: อีเลฟเว่น สตาร์ อินเตอร์เทรด.
Fullan, M. (2020). The New Meaning of Educational Change (5th ed.). Teachers College Press.
Hargreaves, A., & Fullan, M. (2012). Professional capital: Transforming teaching in every school. Teachers College Press.
Sattari, S. (2020). Designing a quality process model for implementing educational excellence projects. International Journal of Educational Management, 34(5), 915–929.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา และคณาจารย์ท่านอื่นๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว