ปัญหาทางกฎหมายในการใช้ประโยชน์ในที่ดินราชพัสดุเพื่อการพาณิชย์ของภาคเอกชน
คำสำคัญ:
ที่ราชพัสดุ, การเช่าที่ราชพัสดุ, การใช้สิทธิประโยชน์ในที่ราชพัสดุ, การใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐบทคัดย่อ
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ในที่ดินราชพัสดุเพื่อการพาณิชย์ของภาคเอกชน และผู้ใช้ประโยชน์อยู่บนที่ราชพัสดุ โดยใช้สิทธิการเช่าตามสัญญาได้ใช้ประโยชน์บนที่ดินนั้นตามความเหมาะสม โดยพิจารณาจากแง่มุมของปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการธุรกิจภาคเอกชน และปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องเป็นหลัก ประกอบกับแนวความคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปวิเคราะห์ให้เห็นถึงความสำคัญและสภาพปัญหา พร้อมทั้งศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ และนำไปสู่ข้อเสนอแนะและแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม เพื่อแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมบทบัญญัติ และมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ประกอบการภาคธุรกิจ หรือแนวทางแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อให้ประชาชนที่อาศัย หรือผู้ประกอบกิจการบนพื้นที่นั้น ๆ ได้ใช้ประโยชน์จากที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติอย่างถูกต้อง เพื่อให้ประเทศไทยมีการจัดการพื้นที่อย่างยั่งยืนมีการอนุรักษ์ดินน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ควบคู่ไปกับการใช้ประโยชน์บนที่ดินอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและสังคมสิ่งแวดล้อม
จากกรณีศึกษาพบว่าการเช่าที่ราชพัสดุระหว่างรัฐ(ผู้ให้เช่า)กับเอกชน(ผู้เช่า)นั้นประสบปัญหาหลายประการ เช่นระยะเวลาในการเช่าที่ราชพัสดุมีระยะเวลาการเช่าที่สั้นไปไม่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจของภาคเอกชน และเมื่อครบสัญญาเช่าที่ดิน หรืออาคารสิ่งปลูกสร้าง หรือในกรณีที่รัฐเรียกคืนพื้นที่เพื่อนำไปจัดทำบริการสาธารณะให้แก่ประชาชน ทำให้ผู้เช่าต้องส่งคืนพื้นที่ หรืออาคารที่เช่าคืนให้แก่กรมธนารักษ์ หรืออาคารสิ่งปลูกสร้างที่ผู้เช่าลงทุนสร้างขึ้นต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์แก่กรมธนารักษ์ ในบางกรณีผู้ประกอบการอาจจะคำนวณความคุ้มทุนคาดเคลื่อนไปทำให้ประสบปัญหาขาดทุน เมื่อผู้ประกอบการประสบปัญหาขาดทุนหลายราย ทำให้ผู้ประกอบการรายอื่น ๆ เกิดความรังเรใจและลดแรงจูงใจในการลงทุน เพราะผลประโยชน์ตอบแทนที่ได้รับไม่คุ้มค่ากับการลงทุน อีกทั้งเมื่อประสบปัญหาเกิดกรณีพิพาทขึ้นระหว่างคู่สัญญาซึ่งอีกฝ่ายเป็นรัฐกับอีกฝ่ายเป็นเอกชน สถานะของคู่สัญญาที่ไม่เท่าเทียมกันทำให้เกิดความไม่เข้าใจ สับสน ในเรื่องเขตอำนาจศาล และการแก้ไขข้อพิพาทดังกล่าว ว่าเป็นสัญญาในทางกฎหมายแพ่ง หรือสัญญาในทางกฎหมายปกครอง และเขตอำนาจศาลนั้นตกอยู่ในเขตอำนาจของศาลใดมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดี ซึ่งในกรณีที่สถานะของคู่สัญญาไม่เท่าเทียมกันนั้นย่อมบั่นทอนความเชื่อมั่นของคู่สัญญาฝ่ายผู้เช่าว่าตนจะได้รับความเป็นธรรมในรูปแบบเช่นเดียวกันกับการทำสัญญาเช่าทั่วไปที่เอกชนทำกับเอกชนหรือไม่ เช่นนี้ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจภาคเอกชนเกิดความไม่มั่นใจ และลดแรงจูงใจที่จะเข้ามาลงทุนเช่าที่ดินของรัฐมาเพื่อประกอบธุรกิจ ผู้วิจัยจึงมีความคิดเห็นว่าเพื่อเป็นการลดปัญหาดังกล่าว จึงควรมีผู้ไกล่เกลี่ยโดยคนกลางเข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้น อีกทั้งผู้ไกล่เกลี่ยนั้นจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องกฎหมายธุรกิจของภาคเอกชน และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายปกครอง และสัญญาต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาดังกล่าวจึงจะเป็นประโยชน์แก่คู่สัญญาทั้งสองฝ่าย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้เสนอแนวทางแก้ไข เพื่อเป็นการปรับปรุง หรือแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติ พระราชบัญญัติที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2562 เกี่ยวกับการกำหนดเงื่อนไขการเช่าที่ราชพัสดุ และกฎกระทรวงการใช้ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2563 กฎกระทรวงการจัดหาประโยชน์ที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2564 เกี่ยวกับการใช้และการจัดหาประโยชน์ในที่ราชพัสดุ เพื่อให้มีการใช้และจัดการที่ราชพัสดุอย่างถูกต้องเหมาะสม ประสงค์และเป็นประโยชน์ต่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย
คำสำคัญ: ที่ราชพัสดุ , การเช่าที่ราชพัสดุ , การใช้สิทธิประโยชน์ในที่ราชพัสดุ , การใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐ
References
ภาษาไทย
กัญญาณี วงศ์เวชวิวัฒน์. “สาเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการเช่าที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์.”
สารนิพนธ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557.
กัลยา ตัณศิริ และพิมพ์ใจ สระทองอุ่น. เอกสารประกอบคำบรรยายกระบวนวิชาหลักกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หลักสูตรนิติศาสตร์มหาบัณฑิต ภาคพิเศษ คณะนิติศาสตร์.มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย-รามคำแหง, ม.ป.ป.
จำปี โสตถิพันธุ์. คําอธิบายนิติกรรม - สัญญาพร้อมคำอธิบายในส่วนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
พ.ศ. 2540 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. พิมพ์ครั้งที่ 9. ม.ป.พ: วิญญูชน, 2547.
นัยนา เกิดวิชัย. รายงานการวิจัยการใช้ประโยชน์จากที่ดินรัฐที่เวนคืนจากประชาชน.
กรุงเทพมหานคร: สำนักเลขาธิการวุฒิสภา, 2549.
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนทุนวิจัย,
วาณี ทองเสวต. ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการห้องสมุดวิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์.
ม.ป.พ: ม.ป.ท, 2548.
หยุด แสงอุทัย. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2520.
ภาษาต่างประเทศ
Code général de la propriété des personnes publiques,
https://codes.droit.org/PDF/Code%20g%c3%a9n%c3%a9ral%20de%20la%20pro
pri%c3%a9t%c3%a9%20des%20personnes%20publiques.pdf, 3 June 2022.
Long-Term Lease of Land in State Ownership and Project Development-Practical Experiences.”
From https://www.lincolninst.edu/publications/articles/myths-realities-public-land-leasing,
June 2022.
Sec. 101 This Act may be cited as the “Federal Land Policy and Management Act of 1976.”
From https://www.blm.gov/about/how-we-manage, 3 June 2022.
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 PRIDI BANOMYONG LAW JOURNAL DHURAKIJ PUNDIT UNIVERSITY
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.