การเข้าถึงคอมพิวเตอร์โดยมิชอบด้วยกฎหมาย : ศึกษาความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

ผู้แต่ง

  • ฉัตรชัย ชูพงศ์ -
  • ไพศิษฐ์ พิพัฒนกุล

คำสำคัญ:

การเข้าถึงโดยมิชอบ, อาชญากรรมคอมพิวเตอร์, ข้อมูลคอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

ปัจจุบันระบบคอมพิวเตอร์ได้เป็นส่วนสำคัญของการประกอบกิจการและการดำรงชีวิตของมนุษย์และ หากผู้ใดกระทำด้วยประการใด ๆ เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ไม่สามารถทำงานตามคำสั่งที่กำหนดไว้หรือทำให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ผิดพลาด โดยล่วงรู้ข้อมูล แก้ไข หรือทำลายข้อมูลของบุคคลอื่นในระบบหรือใช้ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันเป็นเท็จหรือลักษณะอันลามก อนาจาร ย่อมก่อให้เกิดความเสียหาย กระทบกระเทือนต่อเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของรัฐ รวมทั้งความสงบสุขและศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงจำเป็นต้องมีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ขึ้นมา

จากการศึกษาพบว่า การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีได้หลายรูปแบบเป็นต้นว่า

การกระทำความผิดในความผิดฐานทำลาย เข้าถึง หรือเผยแพร่ กล่าวคือการกระทำความผิดที่เป็นความผิดต่อคอมพิวเตอร์โดยแท้นั้นเอง เช่น การเข้าถึงทางกายภาพควรที่จะเข้าถึงโดยเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์มากน้อยเพียงใด ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในกิจกรรมต่าง ๆ เกือบทุกอย่าง ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง เช่น การศึกษา การสันทนาการ การแพทย์ การคมนาคม การเงิน การธนาคาร และการพาณิชย์ โดยการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ดังกล่าวนี้เป็นไปในลักษณะที่สังคมต้องพึ่งพาอาศัยการทำงานของสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้อย่างขาดเสียมิได้ คำว่า “อาชญากรรมคอมพิวเตอร์” คือการกระทำอย่างนั้น กล่าวได้ว่า ในขณะนี้ยังไม่มีคำนิยามที่เป็นสากลว่าคำนี้หมายความถึงการกระทำอย่างใดบ้าง เนื่องจากการให้คำนิยามของคำนี้เป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ หรือความมุ่งหมายของการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันอาชญากรรมคอมพิวเตอร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทุกวันและก่อให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ อย่างมาก ทั้งความเสียหายที่ประเมินค่าเป็นเงินได้และความเสียหายที่ไม่สามารถประเมินค่าเป็นเงินได้ ในส่วนของกฎหมายวิธีสบัญญัติเนื่องจากคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีคุณสมบัติและความสามารถในการกระทำต่าง ๆ ได้อย่างมากมายและมีประสิทธิภาพ ปัญหาเรื่องอาชญากรรมคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของการกระทำความผิดต่อคอมพิวเตอร์ในรูปแบบต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าเป็นปัญหาที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากประเทศต่าง ๆ   ทั่วโลก ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวได้ว่าความสงบเรียบร้อยและความปลอดภัยของสังคมมนุษย์ย่อมขึ้นอยู่กับการทำงานของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ด้วย กล่าวคือสังคมจะดำเนินไปด้วยความสงบเรียบร้อย   หากสิ่งต่าง ๆ ดังกล่าวทำงานด้วยความปกติในทางตรงกันข้าม หากสิ่งเหล่านี้ทำงานผิดพลาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งความผิดพลาดนั้นเกิดขึ้นจากการกระทำด้วยความตั้งใจของมนุษย์ สังคมก็ย่อมจะได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ผู้เขียนเห็นว่าการลงโทษตามที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550  จะเป็นการกระทำความผิดต่อคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ มีผลกระทบต่อความลับ ความครบถ้วนซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งของการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์        พ.ศ. 2550 ของประเทศไทยจะเห็นได้ว่าบทลงโทษนั้นยังน้อยอยู่เมื่อเปรียบเทียบกับบทลงโทษของประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสและการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์โดยตรงควรที่จะให้เกิดความชัดเจนและเป็นหลักประกันในการบังคับใช้กฎหมายเมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศที่บัญญัติฐานความผิดดังกล่าวไว้ในประมวลกฎหมายอาญา เพราะแท้จริงแล้วการควบคุม การระงับและปราบปรามเป็นเรื่องของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

คำสำคัญ : การเข้าถึงโดยมิชอบ , อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ , ข้อมูลคอมพิวเตอร์

References

ภาษาไทย

กิตติศักดิ์ ปรกติ. ความเป็นมาและหลักการใช้นิติวิธีในระบบซีวิวลอว์และคอมมอนลอว์.

กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2546.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 9.

กรุงเทพมหานคร: หจก.จิรรัชการพิมพ์, 2549.

คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 4 แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2560.

พิญดา เลิศกิตติกุล. “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 :

ศึกษากรณีความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลคอมพิวเตอร์.”

วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 5

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560

http://www.pwc.com/th/en/consulting/forensic/assets/enconomic-crime-thailand-2014-th-

pdf.

Robert Moore. Cyber Crime: Investigating High-Technology Computer Crime (2ndEdition).

Boston: Anderson Publishing, 2011.

Stefanie K. Chak. Managing Cyber Security as A Business Risk for Small and Medium

Enterprises. (Master’s Thesis). John Hopkins University, Facalty of Arts in G, 2015.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30