ระบบการกำหนดลำดับชั้นโทษ : ศึกษากรณีการระวางโทษที่ไม่ได้สัดส่วนจากการไม่มีลำดับชั้นโทษในประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • เจนจิรา เชี่ยวชาญวิศวกิจ -

คำสำคัญ:

หลักสัดส่วน, ชั้นของโทษ, การจัดระดับโทษ, ความร้ายแรงของความผิด

บทคัดย่อ

ระบบการกำหนดลำดับชั้นโทษ คือ ระบบที่นำหลักความได้สัดส่วนมาจัดเรียงความผิดตามระดับความหนักเบาของโทษ ซึ่งจะเปรียบเทียบความรุนแรงของความผิดและโทษให้ความผิดที่มีความรุนแรงของขนาดบทลงโทษเท่ากันจะอยู่ในชั้นของโทษเดียวกัน ส่วนความผิดที่มีความรุนแรงของบทลงโทษที่แตกต่างกันจะถูกจัดอยู่ต่างชั้นของโทษ ดังนั้น บทความชิ้นนี้มุ่งหวังจะศึกษาระบบการกำหนดลำดับชั้นโทษมาปรับใช้ในประมวลกฎหมายอาญาเพื่อให้การลงโทษเป็นไปตามหลักความได้สัดส่วน จุดมุ่งหมายของการศึกษาได้แก่ (1) แนวคิดพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับหลักความได้สัดส่วน แนวคิดของหลักความได้สัดส่วน และแนวคิดเกี่ยวกับการพิจารณาความร้ายแรงของความผิด (2) ศึกษาการกำหนดลำดับชั้นโทษในกฎหมายอาญาของประเทศฝรั่งเศสและประเทศอังกฤษ และสภาพของลำดับชั้นโทษในประมวลกฎหมายอาญาของไทย (3) ศึกษาปัญหาในการระวางโทษตามหลักความได้สัดส่วนและชั้นของโทษ รวมทั้งแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยใช้วิธีการค้นคว้ารวบรวมข้อมูลทางเอกสาร จากหนังสือ วารสาร บทความทางวิชาการ ตำรา และเว็บไซต์ทั้งหลายที่เกี่ยวข้องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

จากการศึกษาพบว่า ประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยมีปัญหาเกี่ยวกับการระวางโทษตามหลักความได้สัดส่วน โดยพบปัญหาการระวางโทษจำคุกที่ไม่ได้สัดส่วนกับความร้ายแรงของความผิด ซึ่งเกิดขึ้นจากการไม่มีบทบัญญัติชัดเจนที่กำหนดให้นำหลักความได้สัดส่วนมาใช้ในกฎหมายอาญาและการขาดระบบการกำหนดลำดับชั้นโทษ  สาเหตุหลักเกิดขึ้นมาจากการกำหนดระวางโทษเพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ของการลงโทษเพื่อข่มขู่ยับยั้ง และขาดการแบ่งประเภทความผิดตามความร้ายแรง โดยข้อเสนอในการแก้ปัญหา คือ การนำระบบกำหนดลำดับชั้นโทษมาใช้ในประมวลกฎหมายอาญา และการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาความร้ายแรงของความผิดในกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะได้กล่าวในบทความชิ้นนี้ต่อไป

คำสำคัญ: หลักความได้สัดส่วน, ชั้นของโทษ, การจัดระดับโทษ, ความร้ายแรงของความผิด

References

ภาษาไทย

กมลชัย รัตนสกาววงศ์. “ความยินยอมในกฎหมายอาญา.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2523.

คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญาภาคทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2560.

คณิต ณ นคร. “คุณธรรมทางกฎหมายกับการใช้กฎหมายอาญา.” วารสารอัยการ. เล่ม 25. ปีที่ 3.

(มกราคม 2523): 56-61.

ณรงค์ ใจหาญ. กฎหมายอาญา ว่าด้วยโทษและวิธีการเพื่อความปลอดภัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2543.

น้ำแท้ มีบุญสล้าง. “กระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศอังกฤษ.” จุลนิติ. เล่มที่ 6. ปีที่ 6. (2552):

-48.

ปกป้อง ศรีสนิท. กฎหมายอาญาชั้นสูง : อาชญากรรม ความรับผิด และโทษอาญา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2559.

ประสิทธ์ จงวิชิต. “ค่าเสียหายเชิงลงโทษ.” http://digi.library.tu.ac.th/journal/0072/70-4-DEC-2557.pdf, 29 พฤศจิกายน 2562.

ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม. หลักเกณฑ์ในการกำหนดโทษทางอาญา ภายใต้โครงการสนับสนุนสารสนเทศ

เพื่อการทำงานของสมาชิกรัฐสภา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า, 2564.

มนสิชา บุนนาค. “การกำหนดโทษทางเลือกกับการแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิด.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 2556.

ศรีรัตน์ งามนิสัย. “หลักความพอสมควรแก่เหตุ: พัฒนาการและการปรับใช้ในระบบกฎหมายไทย.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550.

สถาบันวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรม สำนักกิจการยุติธรรม. การกำหนดชั้นโทษและการนำไปปรับใช้ในประมวลกฎหมายอาญา. ม.ป.ท.: สถาบัน, 2551.

สรภัทร สีระสาพร. “ความสำคัญของคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง ค.ศ. 1789 ของฝรั่งเศสที่มีต่อบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.

สหธน รัตนไพจิตร. “ความประสงค์ของการลงโทษอาญา: ศึกษาเฉพาะประเทศไทยสมัยใช้กฎหมายลักษณะอาญาและประมวลกฎหมายอาญา.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2527.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล และปกป้อง ศรีสนิท. “การศึกษาเพื่อพัฒนาแนวทางการลงโทษ: หลักการลงโทษที่ได้สัดส่วน กรณีคดียาเสพติดให้โทษ.” วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. เล่มที่ 4. ปีที่ 46. (2560): 903, 905.

อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ. ทฤษฎีอาญา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2556.

“การจัดแบ่งกลุ่มความผิดและโทษทางอาญา : ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ.” ในการประชุมระดมความคิดเห็น. จัดโดยสำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ร่วมกับ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร, 2554.

ภาษาต่างประเทศ

Cesare Beccaria and Jeremy Parzen. On Crimes and Punishments and Other Writings. edited by Aaron Thomas, Luigi Ballerini, and Massimo Ciavolella. N.p.: University of Toronto Press, 2008.

Herbert L Packer. The Limits of the Criminal Sanction. California: Stanford University Press, 1968.

Jesper Ryberg. The Ethics of Proportionate Punishment: A Critical Investigation. Library of Ethics and Applied Philosophy 16. N.p.: Springer Dordrecht, 2004.

Joanne Cestaro. “Types of Criminal Offences in UK: Summary Only, Either Way & Indictable Only.” https://www.lawtonslaw.co.uk/resources/categories-of-offences/, 3 พฤษภาคม 2565.

Nick Titchener. “Types of Criminal Sentencing under UK Law.” https://www.lawtonslaw.co.uk /resources/sentencing/, 14 กันยายน 2565.

“Punishment - Theories of Punishment.” http://law.jrank.org/pages/9576/Punishment-THEORIES-PUNISHMENT.html, 7 เมษายน 2564.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30