ความสอดคล้องของกฎหมายไทยว่าด้วยการห้ามนำเข้าและการใช้สารคลอร์ไพริฟอส พาราควอต และไกลโฟเซตเพื่อใช้ในการเกษตรภายใต้พันธกรณีของความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) และความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT)

ผู้แต่ง

  • ลลิฉัตร์ ศุภธนันท์พัทธ์ -

คำสำคัญ:

คลอร์ไพริฟอส, พาราควอต, ไกลโฟเซต, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า

บทคัดย่อ

การบริโภคสินค้าเกษตรที่อาจปนเปื้อนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และวัชพืชนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นความเสี่ยงต่อชีวิตและสุขภาพของผู้บริโภค ซึ่งรัฐบาลไทยมีความต้องการที่จะปกป้องประชาชนจากการบริโภคสินค้าดังกล่าว จึงมีการออกกฎหมายห้ามนำเข้าและใช้สารเคมีคลอร์ไพริฟอส และพาราควอต รวมทั้งจำกัดการใช้สารเคมีไกลโฟเซต โดยสารเคมีดังกล่าวเป็นสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืช และวัชพืช ซึ่งส่งผลต่อชีวิต และสุขภาพของประชาชน ดังนั้นทางรัฐบาลไทยจึงได้ให้มีการออกกฎหมายเพื่อกำหนดมาตราการการควบคุมปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่อาจปนเปื้อนในสารเคมีทั้งสามชนิด แต่ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อการนำเข้าสินค้าเกษตรมาจำหน่ายยังประเทศไทย ในช่วงก่อน และระหว่างประกาศกฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ รัฐคู่ค้าของประเทศไทยเช่น สหรัฐอเมริกา และ สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิลได้มีการเรียกร้องให้ประเทศไทยทบทวนการออกมาตรการดังกล่าว โดยอ้างว่ามาตรการของประเทศไทยเป็นมาตรการที่มีผลกระทบและก่อให้เกิดความเสียหายต่อการค้าระหว่างประเทศ เพื่อป้องกันการยื่นข้อเรียกร้องต่อองค์การการค้าโลกอันเกี่ยวกับมาตรการของไทยซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อการค้าของประเทศไทยในอนาคต

งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการการห้ามใช้คลอร์ไพริฟอส และ พาราควอต รวมทั้งการจำกัดการใช้ไกลโฟเซตภายใต้กฎหมายไทย และวิเคราะห์ความสอดคล้องภายใต้พันธกรณีขององค์การการค้าโลก จากความตกลงทั่วไปว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures หรือความตกลง SPS) และ ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariffs and Trade หรือ ความตกลง GATT) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเป็นแนวทาง และป้องกันการยื่นข้อพิพาทจากประเทศคู่ค้าของประเทศไทย

การจัดบทความฉบับนี้มีวิธีการดำเนินการศึกษาเชิงวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยอาศัยการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลจากหนังสือ บทความวิชาการ วิทยานิพนธ์ สื่อ และสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวมถึงบทความอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั้งที่เป็นหน่วยงานภาครัฐ และข้อมูลของหน่วยงานเอกสารรวมถึงการศึกษาความตกลงระหว่างประเทศภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกเพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของมาตรการการห้ามใช้สารเคมีซึ่งประกอบไปด้วย ความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures) หรือ SPS ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement Tariff and Tariff) หรือ GATT พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522

ผลลัพธ์การวิจัย แม้ประเทศไทยจะมีมาตรการการห้ามใช้คลอร์ไพริฟอส พาราควอตและการจำกัดการใช้ไกลโฟเซต เพื่อการบริโภคสินค้าเกษตรอย่างปลอดภัย ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพต่อประชาชนแต่กฎหมายหรือข้อกำหนดดังกล่าวอาจขัดต่อพันธกรณีของการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ซึ่งไม่เข้าเงื่อนไขทั่วไปในการอ้างใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชภายใต้ความตกลงว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the Application of Sanitary and Phytosanitary Measures) และไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามมาตรา XX ภายใต้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า (GATT)

คำสำคัญ: คลอร์ไพริฟอส, พาราควอต, ไกลโฟเซต, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยการใช้บังคับมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช, ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า

References

ภาษาไทย

จารุประภา รักพงษ์. กฎหมายแห่งองค์การการค้าโลก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561.

ไทยรัฐออนไลน์. “กวก. สุ่มตรวจสารตกค้างในผัก - ผลไม้ ทั่วประเทศ พบปลอดภัยเกินครึ่ง.”

http s://www.thairath .co.th/news/local/bangkok/2087830, 9 มกราคม 2565.

บูรตา วงษ์อุไร. “ปัญหากฎหมายไทยเกี่ยวกับมาตรฐานสุขอนามัย และสุขอนามัยพืชศึกษากรณีนำเข้าผัก

ผลไม้.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558.

ศรีสดา ไปศาลสกุลชัย. “การใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ศึกษากรณีไข้หวัดนกในไก่ในประเทศ

ไทย.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2547.

สุเทพ สหายา. “คลอร์ไพริฟอสอันตรายจริงหรือ?.” https://www.kehakaset.com/newsactivities_

details.php?view_item=293, 4 ธันวาคม 2563.

ภาษาต่างประเทศ

John J. Barcello III. “Product Standards to Protect the Local Environment--The GATT and the

Uruguay Round Sanitary and Phytosanitary Agreement.” Cornell International Law

Journal. Vol. 3. No.3 (1994): 766.

REUTERS. “US. Brazil protest Thailand's pesticide ban on wheat. soy imports.”

https://www.bangkokpost.com /business/1939144/us-brazil-protest-thailands-pesticide-

ban-on-wheat-soy-imports, 4 April 2023.

U.S. Department of Agriculture. “Report Name: Economic Impact of the Ban on Paraquat and

Chlorpyrifos onThai Industrie.” https://apps.fas.usda.gov, 7 December 2021.

Won Jin Lee and others. “Cancer Incidence Among Pesticide Applicators Exposed to

Chlorpyrifos in the Agricultural Health Study’ (2004) 96 Journal of the National Cancer

Institute.” https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15572760/, 1 June 2022.

World Trade Organization. “Brazil – Measures Affecting Import of Retreaded Tyres.

WT/DS332/R). (WT/DS332/AB/R).”

https://www.wto.org/english/tratop_e/dispu_e/cases_e/1pagesum_e/ds33 2sum_e.pdf,

July 2023.

World Trade Organization. “Thailand notification on 20 May 2020. G/SPS/N/THA/313.”

http://www.spsvietnam.gov.vn/Data/File/Notice/4038/NTHA313.pdf, 1 July 2023.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30