ปัญหาความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลฐานให้สินบนตามมาตรา 176 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

ผู้แต่ง

  • วรรษมน จันทร์สำอางค์ -

คำสำคัญ:

ความรับผิดทางอาญา, นิติบุคคล, ให้สินบน

บทคัดย่อ

ประเทศไทยได้ลงนามและให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 ซึ่งได้วางกรอบให้รัฐภาคีกำหนดความรับผิดของนิติบุคคลที่มีส่วนร่วมในการให้สินบนให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายภายใน โดยไม่กระทบต่อความรับผิดทางอาญาของบุคคลธรรมดา ซึ่งได้กระทำความผิด และมีมาตรการการลงโทษที่มีประสิทธิผล ได้สัดส่วน และมีผลเป็นการยับยั้งการกระทำความผิด ต่อมาประเทศไทยได้มีการกำหนดความรับผิดฐานให้สินบนไว้ในมาตรา 176 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 โดยบทความนี้มุ่งศึกษาแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับนิติบุคคล แนวความคิดเกี่ยวกับการกำหนดความรับผิดและโทษทางอาญากับทางปกครองของนิติบุคคล และแนวทางการกำหนดความผิดของนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการให้สินบนของประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศส ภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003 เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมของการกำหนดความรับผิดทางอาญาฐานให้สินบนของนิติบุคคลตามมาตรา 176 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561

จากการศึกษาพบว่าประเทศไทยประสบปัญหาการกำหนดความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลฐานให้สินบนตามมาตรา 176 แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการให้สินบน พ.ศ. 2561 ทั้งปัญหาประสิทธิภาพของโทษ ข้อจำกัดการกำหนดความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลตามหลัก Identification Doctrine ทำให้บุคคลธรรมดาหลุดพ้นความรับผิดได้ ปัญหาการกำหนดความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลจากการให้สินบนของผู้แทนของนิติบุคคล ลูกจ้าง ตัวแทน บริษัทในเครือ หรือบุคคลใดซึ่งกระทำการเพื่อหรือในนามของนิติบุคคล ความเหมาะสมของความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลจากการไม่มีมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสม และขาดมาตรการป้องกันการให้สินบนของนิติบุคคล และได้เสนอแนะการแก้ไขปัญหาโดยกำหนดโทษของนิติบุคคลแยกต่างหากจากบุคคลธรรมดา พร้อมทั้งกำหนดความรับผิดและโทษของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลไว้ในมาตรา 176 วรรคสอง แปรรูปความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลเป็นความผิดทางปกครองให้เหมาะสมและได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด และให้นิติบุคคลต้องรับโทษทางปกครองจากการไม่มีมาตรการควบคุมภายในที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มกลไกสำหรับป้องกันการให้สินบนในลักษณะมาตรการเชิงรุก

คำสำคัญ: ความรับผิดทางอาญา, นิติบุคคล, ให้สินบน

References

ภาษาไทย

กษมา พรหมทัต. “ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลในความผิดฐานให้สินบน.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2552.

กิตติศักดิ์ ปรกติ. คำอธิบายวิชากฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไปว่าด้วยบุคคลธรรมดาและหลักทั่วไปว่าด้วยนิติบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2550.

เกวลี มโนภินิเวศ. “ปัญหาความสัมพันธ์ในการลงโทษทางปกครองและการลงโทษทางอาญา.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2551.

คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญาภาคทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2560.

จิตติ ติงศภัทิย์. กฎหมายอาญา ภาค 1. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, 2555.

ธาริดา เลี้ยงหทัยธรรม. “ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล : ศึกษากรณีการกำหนดมาตรการป้องกันมิให้เจ้าหน้าที่ของนิติบุคคลให้สินบนแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐ.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557.

นรเศรษฐ์ สว่างแจ้ง. “ความรับผิดทางอาญาของผู้บริหารนิติบุคคล : ศึกษาบทบัญญัติของกฎหมายไทย.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2556.

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. กฎหมายมหาชน เล่ม 1 วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของกฎหมายมหาชนยุคต่างๆ. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.

ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. คำอธิบายกฎหมายอาญา ภาคทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 18. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน, 2560.

วาทิน หนูเกื้อ, “มาตรการเสริมในทางอาญา.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2539.

ศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์. “เกณฑ์พิจารณาในการเลือกกำหนดโทษทางปกครองแทนโทษอาญา.” ในการบรรยายหลักสูตร

ผู้บริหารงานด้านกฎหมายภาครัฐระดับสูง รุ่นที่ 6. จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

ศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ‘รายงานวิจัยฉบับ สมบูรณ์ “การศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคลและผู้แทนนิติบุคคลของประเทศ ไทยกับประเทศต่าง ๆ ในประชาคมอาเซียน”’.

สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล. ความรับผิดทางอาญาของนิติบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, 2553.

องค์กรความโปร่งใสนานาชาติ. “ดัชนีชี้วัดภาพลักษณ์คอร์รัปชัน.” https://www.transparency.org/en/cpi,

มิถุนายน 2566.

องค์อาสน์ เจริญสุข. “เกณฑ์การแบ่งแยกความผิดทางอาญาและความผิดทางปกครอง.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2553.

อรรถสิทธิ์ กันมล. “ปัญหาการนำโทษทางปกครองมาใช้ควบคู่กับโทษทางอาญา.” วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2549.

ภาษาต่างประเทศ

Andrew Ashworth. “Positive Duties, Regulation and The Criminal Sanction.” 133 Law Quarterly Review 606. (October 2017): pp.606 - 607.

Andrew Ashworth. Positive Obligations in Criminal Law. Oxford: Hart Publish ing Ltd., 2013.

Cecily Rose, Michael Kubiciel, and Oliver Landwehr. The United Nations Convention against Corruption: A Com mentary. Oxford, U.K.: Oxford University Press, 2019.

Douglas Husak. Overcriminalization: The Limits of the Criminal Law. New York: Oxford University Press, 2008.

French Anti-Corruption Agency. “Annual Report 2017.” www.agence-francaise-anti corruption.gouv.fr/ files/files/AFA_rapportAnnuel2017GB.pdf, 24 June 2023.

Gabriel Hallevy. A Modern Treatise on the Principle of Legality in Criminal Law. (Springer-Verlag Berlin Heiderg, 2012.

Glanville Williams. Criminal Law: The General Part. 2d edn. Stevens & Sons, 1961.

Jerome Hall. General Principles of Criminal Law. 2d edn. Bobbs-Merrill, 1960.

Jonathan Herring. Criminal Law. Palgrave Macmillan Law Masters Press, 2004.

Mark Pieth. Lucinda Low and Nicola Bonucci (eds). The OECD Convention on Bribery: A Commentary. Cambridge, U.K.: Cambridge University Press, 2007.

Ministry of Justice. “Bribery Act 2010: Guidance to help commercial organisations prevent bribery.” assets.publishing.service.gov.uk/government/uploads/system/upload/attachment_data/file/ 832011/bribery-act-2010-guidance.pdf, 24 June 2023.

Morgane Ferrari. “Compliance Law in the French Context: New Horizons For Legislative Policy.” 1 International Comparative Jurisprudence 2019. 72. (2019): p.76.

OECD. “Business Integrity.” www.oecd.org/mena/competitiveness/business-integrity/, 16 June 2023.

Samer Korkor & Margaret Ryznar. “Anti-Bribery Legislation in the United States and United Kingdom: A Comparative Analysis of Scope and Sentencing.” 76 Missouri Law Review 415. (2011): p.434.

Shaul Brazil and John Binns. “England and Wales” in The Anti-Bribery and Anti-Corruption Review . Law Business Research Ltd., 2017.

T Markus Funk and Andrew Boutros. From Baksheesh to Bribery under standing the global fight against corruption and graft. Oxford University Press.

The World Bank Group. “Worldwide Governance Indicator.” databank.world bank.org/source/worldwide-govern ance-indicators, 16 June 2023.

United Nations Convention Against Corruption. “Signature and Ratification Status.” https://www.unodc. org/unodc/en/corrupttion/ratification-status.html, 16 June 2023.

United Nations Office on Drugs and Crime. “Legislative Guide for the Implementation of the United Nations Convention against Corruption.” www.unodc.org/unodc/en/treaties/CAC/legislative-guide.html , 22 June 2023.

United Nations Office on Drugs and Crime. “Technical Guide to the United Nation Convention

Against Corruption.”

https://www.unodc.org/documents/treaties/UNCAC/Publications/Technical Guide /09-

_Ebook.pdf, 22 June 2023.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30