การออกแบบกฎหมายและมาตรการในการกำกับดูแลการประกันภัยในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • สุทธิพล ทวีชัยการ -

คำสำคัญ:

Digital Insurance, ปัญหากฎหมายตามไม่ทันเทคโนโลยี, กฎหมายและมาตรการในการกำกับดูแลประกันภัยดิจิทัล

บทคัดย่อ

เทคโนโลยีในอุตสาหกรรมประกันภัยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินธุรกิจอย่างรวดเร็ว ทั้งในส่วนการให้บริการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัย ทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา และกระบวนการตรวจสอบมีความซับซ้อนและทำได้ยากขึ้น ขณะที่กระบวนการทางกฎหมายใช้เวลานาน เกิดปัญหากฎหมายตามไม่ทันเทคโนโลยีและขาดกฎหมายที่กำกับดูแลจัดการกับปัญหาที่เกิดจาก Digital Insurance จึงจำเป็นต้องเตรียมการเพื่อรับมือสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นโดยต้องออกแบบกฎหมายและมาตรการในการกำกับดูแลประกันภัยในยุคดิจิทัลให้เหมาะสม กำกับดูแลเท่าที่จำเป็น กติกาในการกำกับดูแลควรมีลักษณะยืดหยุ่น มุ่งแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สร้างมาตรฐานการประกอบธุรกิจประกันภัยให้มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ นำกลไกด้านเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายและกำหนดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้เหมาะสม โดยกฎหมายจะต้องเป็นเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาด้าน Digital Technology แต่ไม่ใช่ตัวสกัดกั้นการพัฒนาของเทคโนโลยี

คำสำคัญ : Digital Insurance , ปัญหากฎหมายตามไม่ทันเทคโนโลยี , กฎหมายและมาตรการในการกำกับดูแลประกันภัยดิจิทัล

References

ภาษาไทย

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ. (14 ตุลาคม 2563, 15 กรกฎาคม 2564, 20 เมษายน 2565, 22 กันยายน 2565).

“กระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกและบทบาทนักกฎหมาย (VUCA World & Lawyer 4.0), คำบรรยาย

บรรยายในหลักสูตรนักกฎหมายภาครัฐ 4.0 (Lawyers’ Enhanced Agility Program (LEAP) รุ่นที่ 1

– รุ่นที่ 4 มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาองค์กรภาครัฐ.”

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ. (7 มีนาคม 2566). “ประเด็นปัญหาในกฎหมายประกันภัย, บรรยายในหลักสูตร

นิติศาสตรมหาบัณฑิต ภาค 2 ปีการศึกษา 2565 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.”

“พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม, สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.”

https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=571251&ext=pdf.

“พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม, สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.”

https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=571063&ext=pdf.

“พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม, สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.”

https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=571063&ext=pdf.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (6 เมษายน 2560). “ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก,.”

https://www.krisdika.go.th/librarian/get?sysid=774606&ext=pdf.

สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (องค์กรมหาชน), (11 มกราคม 2561) “กฎหมายไทยยังไม่ทันโลก

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ. (25 พฤษภาคม 2566) “Insurance Regulatory Framework in Digital and

Sustainable Ecosystem. บรรยายในหลักสูตรวิทยาการประกันภัยระดับสูง (วปส.) รุ่นที่ 11.”

สำนักงาน คปภ. “ข่าวประชาสัมพันธ์, สำนักงาน คปภ. บังคับใช้กฎหมายจริงจัง เดินหน้าแจ้งความตำรวจ

เอาผิดผู้กระทำความผิดฐานการฉ้อฉลประกันภัย จำนวน 22 ราย พร้อมใช้เทคโนโลยี AI ตรวจจับ

พฤติกรรมการฉ้อฉลประกันภัย.” https://www.oic.or.th/en/consumer/news/releases/93064.

สำนักงาน คปภ. “ข่าวประชาสัมพันธ์, คปภ. ออกประกาศนายทะเบียนฯ ยกระดับคุณธรรมและความโปร่งใส

ในการประกอบกิจการธุรกิจประกันภัย • ป้องกันการทุจริตโดยยับยั้งพฤติกรรมที่อาจมีลักษณะเป็นการ

ฉ้อฉลประกันภัย.” https://www2.oic.or.th/th/press-release/17182.

PHATPHICHA LERKSIRINUKUL. (26 Aug 2021). “Deepfake คลิปปลอมสุดเนียนที่สร้างจาก A.I.

จะแยกแยะยังไงว่าเป็น “ข่าวปลอม.” https://www.springnews.co.th/spring-life/814778.

Money Life Business e-Magazine & Digital Media. (กรกฎาคม 2566) “4 มิติแห่งอนาคตธุรกิจประกันภัย

ไทยในมุมมอง ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ.” น. 6-10.

เผยแพร่แล้ว

2023-12-30