รูปแบบการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน เพื่อเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในวิชาชีพอุตสาหกรรม

ผู้แต่ง

  • จรัสพงษ์ เลาหประดิษฐ์สกุล มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ

คำสำคัญ:

การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน, ความเป็นเลิศ, วิชาชีพอุตสาหกรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวทางการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนเพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในวิชาชีพอุตสาหกรรม 2) พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนเพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในวิชาชีพอุตสาหกรรม 3) ประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนเพื่อส่งเสริมคุณภาพผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศในวิชาชีพอุตสาหกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูหัวหน้าสาขาวิชากลุ่มอุตสาหกรรม ในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนสู่ความเป็นเลิศ มี 7 ตัวแปร 74 ตัวชี้วัด องค์ประกอบปัจจัยส่งเสริมการบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศของสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน มี 4 ตัวแปร 27 ตัวชี้วัด ความเหมาะสม ความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด

 

References

กมล ภู่ประเสริฐ. (2547). การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3 เมธีทิปส์.

กมล ภู่ประเสริฐ. (2559). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2560. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2545. โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

จิระพันธ์ พิมพ์พันธุ์. (2546). เอกสารประกอบการสัมมนาเทคนิคการบริหารงานของผู้บริหารโรงเรียน เอกชนการกุศล. สํานักพิมพ์ผู้บริหารวัดไร่ขิง.

ธนภัทร มั่นคง. (2562). การบริหารอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณภาพมาตรฐานสากล. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา], มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา. ข้าวฟ่าง.

ยุพิน ทองส่งโสม. (2558). รูปแบบการบริหารจัดการด้านการบริการวิชาชีพสำหรับสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน. [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา], มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.

วชิน อ่อนอ้าย. (2557). รูปแบบการพัฒนาโรงเรียนเอกชนสู่ความเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม.[วิทยานิพนธ์ ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา], มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สยามรัฐ. (2566). ความสามารถในการแข่งขันด้านการศึกษาของไทยในเวทีโลก. https://siamrath.co.th/n/316048.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). ปฏิรูปการเรียนรู้ผู้เรียนสำคัญที่สุด. คุรุสภาลาดพร้าว.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). กรอบทิศทางการพัฒนาการศึกษา ในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) ที่สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ (พ.ศ. 2545-2559) ฉบับสรุป. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษาไทยในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561). พริกหวานกราฟฟิค.

Austin, G. E., & Reynolds, L. (1990). Managing for improved school effectiveness: An international survey. School Organization, 10(2-3), 167-178.

Edmonds, R. (1979). “Some schools work and more can”, Social Policy, 9, 28-32.

IMD World Competitiveness Center. (2021). The IMD world digital competitiveness ranking 2021. https://shorturl.asia/9jZGK.

Sergiovanni, J. (1991). The principal ship: A reflective practice perspective. Allyn and Bacon.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29