ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นครู สหวิทยาเขตนวมินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2

ผู้แต่ง

  • เทวธิดา ฉลาดเจน มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ระติกรณ์ นิยมะจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

       วิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นครู สหวิทยาเขตนวมินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และ 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นครู สหวิทยาเขตนวมินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่การสอน ในสหวิทยาเขตนวมินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 273 คน โดยใช้สูตรของ Yamame เป็นการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .899 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ ค่า F-test
       ผลการศึกษาพบว่า
       1. ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นครู สหวิทยาเขตนวมินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 พบว่า อยู่ในระดับมาก ทุกด้านเรียงลำดับดังนี้ ด้านการสื่อสารดิจิทัล มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ด้านวิสัยทัศน์ในยุคดิจิทัล ด้านทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล และด้านการสร้างวัฒนธรรมดิจิทัล มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
       2. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครูสหวิทยา เขตนวมินทร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำแนกตามอายุ และประสบการณ์การทำงาน โดยภาพรวมและรายด้านทุกด้าน พบว่า ไม่แตกต่างกัน

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. https://shorturl.asia/2Drvq.

เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณัฐวุฒิ พงศ์สิริ. (2560). ผู้นำในยุคดิจิทัล Economy. https://shorturl.asia/XsSap.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล Digital Leadership. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทศพล สุวรรณราช. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 7 (3), 160-177.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. สุวีริยาสาส์น.

ปกรณ์ ลี้สกุล. (2561). Leadership in digital era: ภาวะผู้นำในโลกดิจิทัล. https://shorturl.asia/15qLN.

ปัณณทัต กาญจนะวสิต. (2560). โลกยุค 4.0 World 4.0. สำนักงานเลขานุการกองทัพบก.

พิสณุ ฟองศรี. (2552). วิจัยทางการศึกษา. บริษัท ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). การเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษาในยุคดิจิทัล. https://shorturl.asia/cerR7.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2560). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2561). ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี: การนำเทคโนโลยีสู่ห้องเรียนและโรงเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16 (4), 216-224.

สุภวัช เชาวน์เกษม (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อรณิชชา ทศตา (2564) ได้ทำการวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 10(2), 188-199.

เอกรัตน์ เชื้อวังคำ, วัลลภา อารีรัตน์. (2564). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. การประชุมผลงานวิชาการระดับัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 22. วันที่ 24 มีนาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Broadribb, K. (2014). Digital leaders: the new technology gurus in school. https://shorturl.asia/IGzEf.

Chareonwongsak, K. (2012). Super leadership. Success Media.

International Society for Technology in Education (IST). (2009). National educational technology standard for administrators. https://shorturl.asia/aU5Zr.

Sullivan, L. (2017). 8 Skills Every Digital Leader Needs. https://shorturl.asia/mc3VA.

Toduk, Y. (2014). 2023 Lideri-Dijital Cagın Liderlik Sırları. Istanbul, Dogan Egmont Yayınları.

Yamane, Taro. (1973). Statistics: an introductory analysis. Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-29