การศึกษาเปรียบเทียบคุณสมบัติของผู้ไกล่เกลี่ยตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ. 2562 โดยเฉพาะการไกล่เกลี่ยโดยศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน
คำสำคัญ:
ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน, การไกล่เกลี่ย, ผู้ไกล่เกลี่ยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี ว่าด้วยเรื่องการไกล่เกลี่ยและผู้ไกล่เกลี่ย 2) ศึกษาหลักกฎหมายไทย และหลักกฎหมายต่างประเทศ ว่าด้วยเรื่องการไกล่เกลี่ย และผู้ไกล่เกลี่ย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไกล่เกลี่ยของภาคประชาชน 3) วิเคราะห์ เปรียบเทียบคุณสมบัติของผู้ไกล่เกลี่ยระหว่างกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ 4) เพื่อหาข้อสรุปและเสนอแนะแนวทางการกำหนดคุณสมบัติของคณะทำงานของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนที่เหมาะสม
ผลการวิจัย พบว่า คุณสมบัติเรื่องความเชี่ยวชาญทางกฎหมายนั้นถูกนำมาใช้กับผู้ไกล่เกลี่ยในบางรัฐบางประเทศเท่านั้น และผู้วิจัยก็เห็นว่าผู้ไกล่เกลี่ยที่ประสบความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยไม่จำต้องเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญทางกฎหมาย ประกอบกับหลักสำคัญของการไกล่เกลี่ยประการหนึ่งคือหลักไม่พิจารณาความถูกผิดในข้อกฎหมาย ดังนั้นในการไกล่เกลี่ยจะไม่มีการเปิดประเด็นที่ว่าใครเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหาย หรือใครเป็นฝ่ายผิดใครเป็นฝ่ายถูก อีกทั้งประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญหลากหลายด้านของผู้ไกล่เกลี่ยจะส่งผลดีต่อคู่พิพาทและกระบวนการไกล่เกลี่ยมากกว่า แต่เพราะจากพันธกิจและการบังคับตามบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนที่มีความเชื่อมโยงกันกับข้อกฎหมายนั้น จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่คณะทำงานคนใดคนหนึ่งของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนจะต้องมีความรู้ระดับดีหรือมีความเชี่ยวชาญทางกฎหมาย เพื่อคอยช่วยเหลือให้คำแนะนำและตรวจสอบกระบวนการไกล่เกลี่ย
และบันทึกข้อตกลงระงับข้อพิพาท
ดังนั้นผู้ไกล่เกลี่ยไม่จำต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมาย แต่ศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชนจำเป็นต้องมีบุคคลผู้มีความรู้ดีหรือเชี่ยวชาญทางกฎหมายร่วมอยู่ด้วย
References
กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ. (2567). คู่มืออบรมหลักสูตรการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทตามพระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562. สำนักระงับข้อพิพาททางเลือก สภาทนายความ.
ชลัท ประเทืองรัตนะ. (2559). การไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง: เส้นทางแห่งการสร้างความเข้าใจร่วมกัน. สถาบันพระปกเกล้า
ชลิตา ศรีสง่า. (2552). ข้อจำกัดของกฎหมายในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีแพ่งของศาลยุติธรรม. [วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชวน หลีกภัย. (2547). วิธีระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการไกล่เกลี่ย. กระทรวงยุติธรรม.
ชัยสิทธิ์ ตันเรืองศรี. (2553). ความต้องการของลูกหนี้รายย่อยของสถาบันการเงินในการให้ทนายความเข้ามาไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทก่อนนำคดีขึ้นสู่ศาล: กรณีศึกษาของบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด. [สารนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ณัฐภัสสร ธนาบวรพาณิชย์ และคณะ. (2563). ภาวะผู้นำและบทบาทของผู้บริหารในองค์กรรัฐในยุคการเปลี่ยนแปลง.วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, 2563, 9(1), 28-39.
ทิวากร พิมพ์ภูมี. (2550). การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาในอำนาจพนักงานสอบสวน. [การศึกษาอิสระปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นนธนวนันพ์ ตั้งตรงจิตต์. (2555). คู่มือการระงับข้อพิพาทสาหรับประชาชน. โรงพิมพ์คัมปาย อิมเมจจิ้ง.
พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2556). พระพุทธเจ้าในฐานะนักเจรจาไกล่เกลี่ย. ดุลพาห สำนักงานศาลยุติธรรม, 60(1), 22.
พระราชบัญญัติการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2562. (2562, 22 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 67 ก 22 หน้า 1-21.
ภานุ รังสีสหัส. (2555). การจัดการความขัดแย้งกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เรื่องการไกล่เกลี่ยข้อ พิพาท. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ธนาเพรส.
ระเบียบกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน พ.ศ. 2562. (2562, 3 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนพิเศษ 297ง หน้า 3-17.
วันชัย วัฒนศัพท์ และคณะ. (2550). คู่มือเพิ่มพลังความสามารถกระบวนการจัดการข้อพิพาท. (พิมพ์คร้ังที่ 2). ศิริภัณฑ์ออฟเซต.
สรวิศ ลิมปรังษี. (2555). การจัดการความขัดแย้งกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท. สำนักระงับข้อพิพาทสำนักงานศาลยุติธรรม.
Clark, Merlyn W. et al., (2023). Mediation ethics: governing laws, rules and standards; mediator liability /immunity; ethical dilemmas and practical problems. Idaho’s mediation ethics. https://shorturl.asia/bwgfd.
The Singapore International Mediation Institute. (2018). Guidelines for the determination of mediation case experience (full-scale and hours). https://shorturl.asia/FYZ5L.
The Singapore International Mediation Institute. (2024). About the SIMI credentialing. https://shorturl.asia/ya9p5.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.