การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและกระบวนการการแก้ปัญหาจากการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
คำสำคัญ:
การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือเทคนิค LT , ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, คำสำคัญ : การจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือเทคนิค LT ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กระบวนการการแก้ปัญหาบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือเทคนิค LT ก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ 75% 2) เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนกับคะแนนเกณฑ์ 75% ใช้รูปแบบวิจัย One group pretest-posttest design กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 23 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนโคราชพิทยาคม ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ที่ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) จากประชากร 35 คน ที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนดังกล่าว เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน มีความเหมาะสม (= 4.53, S.D. = 0.54) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องทรงกลมเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อมีค่า IOC ตั้งแต่ 0.80 ถึง 1 จากผู้เชี่ยวชาญ 5 คน มีค่าความยาก (P) ตั้งแต่ 0.23 ถึง 0.86 ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.33 ถึง 0.83 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยวิธีของ Lovett = 0.91 และ3) แบบประเมินกระบวนการการแก้ปัญหามีความเหมาะสมในระดับมาก (= 4.65, S.D. = 0.48) ค่าความเที่ยงทั้งฉบับโดยวิธีของ Cronbach’s Alpha เท่ากับ 0.78 และมีค่าเฉลียประเมินความเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน เป็น 4.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.48 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และ สถิติทดสอบ t (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือเทคนิค LT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ 75% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2) คะแนนกระบวนการการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบร่วมมือเทคนิค LT สูงกว่าคะแนนเกณฑ์ 75% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
References
กรแก้ว อินทรมงคล สุรีรัตน์ อารีรักษ์สกุล ก้องโลก และวินิจ เทือกทอง. (2566). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิคTAI ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และทักษะการทางานร่วมกัน เรื่อง เลขยกกาลัง ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสอาดเผดิมวิทยา จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(1), 72-81.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560 ก). มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสาระภูมิศาสตร์ ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560 ข). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560). โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจํากัด.
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลาย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิลุบล ศิลปธนู. (2564). การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค LT ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะกระบวนการกลุ่มของกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
นัฐพล พิมพ์ทอง. (2558). การพัฒนาการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Learning Together วิชาสุขศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
ปิยะทิพย์ ดอนลัดลี และ ญาณภัทร สีหะมงคล. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัย มหาสารคาม, 25(1), 59-77.
พรชัย ทองเทพ, วัชรากร ทองช่วย และวัยวุฒิ อินทวงศ์. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ โดยใช้วิธีการแก้โจทย์ปัญหาของโพลยา เรื่ องการประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่16. มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน วันที่ 3-4 ธันวาคม 2562.
พิมพ์สรณ์ ตุกเตียน. (2551). ผลการใช้วิธีการสอนแก้ปัญหาของโพลย่าร่วมกับเทคนิคการจัดกลุ่มแบบรายบุคคล (TAI)ต่อความสามารถในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 3. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน]. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วนันท์ดา ปราบภัย. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค LT ร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยีในการสอนคณิตศาสตร์เรื่องร้อยละและอัตราส่วน ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา]. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2563). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2563 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2564). รายงานผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2564 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สุพาณี เหมือนแสวง. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาสมการกําลังสองของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาตามแนวคิดของโพลยา. [วิทยานิพนธ์ปริญญาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา]. มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
สุภานันท์ ปั้นงาม พูนสิน ประคำมินทร์ และ พัทธนันท์ชมภูนุช. (2561). การพัฒนาคู่มือการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหา ของโพลยาที่ส่งผลต่อพฤติกรรมความร่วมมือ ความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ, 6 (24), 115-160.
ฤชามน ชนาเมธดิสกร. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และเจตคติ ต่อคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการ แก้ปัญหาตามแนวคิดของ Polya ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD กับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ. [วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
Academic Technologies. (2024). Open ended problems. University of Miami. 148 Ungar Building Coral Gables, FL 33124.
Gokkurt Burcin , Dundar Sefa , Soylu Yasin & Akgun Levent . (2012). The effects of learning together technique which is based on cooperative learning on students' achievement in mathematics class. Social and Behavioral Sciences, 46, 3431-3434.
Hobri, Hobri, Dafik D. & Hossain Anowar . (2018). The Implementation of Learning Together in Improving Students’ Mathematical Performance. International Journal of Instruction, 11(2), 483-496.
Johnson, D. W., & Johnson, R. T. (2001). Learning together and alone: overview and meta-analysis. Asia Pacific Journal of Education, 22(1), 95-105.
Krawec, Jennifer, Huang, Jia, Montague, Marjorie, Kressler, Benikia & Meliá de Alba, Amanda. (2013). The effects of cognitive strategy instruction on knowledge of math problem-solving processes of middle school students with learning disabilities. Learning Disability Quarterly. 36. 80-92.
Polya, George. (1985). How to solve it. Princeton University Press.
Ratniyom, Jadsada, Nampa, Sutita, Sudsin Monmanus & Lee, Araya. (2563). The effects of cooperative learning management using learning together (lt) technique with mind maps on grade 7 students’ learning achievement and analytical thinking abilities on process of weather change. Walailak University. Journal of Learning Innovations, 6(1), 37-64.
Sinaga Bornok, Sitorus Jonni & Situmeang Tiurmaida (2023). The influence of students’ problem-solving understanding and results of students’ mathematics learning, Psychological section. Muhammadyah Sumatera Utara University, Medan, Indonesia.
Suciarthasih, Ni, Nyoman, Fefi & Tanumihardja, Effendie. (2018). Learning together (LT) methods of cooperative learning approach in making accessories for intellectual disability. International Conference on Special and Inclusive Education (ICSIE 2018). https://shorturl.asia/G8u3y.
The Market Research Society. (2024). Problem solving. https://shorturl.asia/SJEZh.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.